ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 41:
" .........แต่ท้าวอุปละกับครอบครัวตัวเลกรายนี้ก็ปรนนิบัติรักษาอารามพระเจดีย์พระธาตุพนมมาช้านานหลาย'''เจ้าเมือง'''แล้ว ถ้าจะไม่ตั้งเป็นหมวดเป็นกองไว้ ท้าวเพี้ยตัวเลกข้าพระธาตุจะพากันโจทย์ไปอยู่ต่างบ้านต่างเมืองเลกข้าพระธาตุพนมก็จะร่วงโรยเบาบางลงจะเสียไพร่พลเมือง......... "<ref>สุรจิตต์ จันทรสาขา, ''เมืองมุกดาหาร'', 34.</ref>
 
ในบันทึกของหมอฝรั่งชื่อ ดร.เปแนซ์ นักสำรวจชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียง ได้เดือนทางเรือสำรวจแม่น้ำโขงขึ้นไปทางตอนเหนือ ราวเดือนมีนาคม พุทธศักราช 2425๒๔๒๕ การเดินทางครั้งนี้ได้เดือนทางผ่านเมืองธาตุพนม ในข้อความมีการกล่าวถึงเจ้าเมืองธาตุพนมและความเชื่อท้องถิ่นว่า
 
" .........ขณะเดินทางผ่านนครพนมนั้น เมืองต่าง ๆ ริมแม่น้ำโขงกำลังเป็นอหิวาตกโรค ...ชาวบ้านชาวเมืองไม่ยอมฝังศพคนตายที่ตายด้วยอหิวาต์ เขาจะทิ้งศพลงน้ำโขงทุกราย แม้หมอแนซ์จะได้พยายามชี้แจงให้'''เจ้าเมืองธาตุพนม'''เกี่ยวกับเรื่องอหิวาต์ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรและขอร้องให้นำศพไปฝังเสีย '''เจ้าเมือง'''ก็หายอมไม่ กลับตอบว่าเป็นธรรมเนียมของชาวบ้านชาวเมืองเช่นนี้ อหิวาต์มาจากทางเหนือเราก็ต้องส่งลงไปทางใต้ต่อไป......... "<ref>สุพร สิริพัฒน์, ''นครพนม : ศรีโคตตะบูรณ์นคร'', 165-166.</ref>
บรรทัด 48:
 
" .........ตระกูลผมเป็นเจ้ามืองธาตุพนมมาโดยตลอด นามสกุลนี่มาจากปู่ทวด มีบรรดาศักดิ์เป็นขุน คงจะเป็นหัวเมืองชั้นจัตวา เพราะว่าเจ้าเมืองแค่ขุนเท่านั้นเอง ชื่อว่า '''ขุนราม''' ก็เลยเอามาเป็นนามสกุลของตระกูล รามางกูรก็เลือดเนื้อเชื้อไขของราม คือขุนราม ลูกของขุนรามก็เป็นเจ้าเมืองต่อมา แต่ว่าเมืองคงจะใหญ่ขึ้น คิดว่าคงปลายกรุงศรีอยุธยาสืบทอดกันมาหลายชั่วคน ลูกของขุนรามก็เป็นเจ้าเมือง ต่อมามีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงแล้ว แสดงว่าเมืองใหญ่ขึ้น ชื่อว่า '''หลวงปราณีพุทธบริษัท''' ลูกของหลวงปราณีฯ ก็เป็นเจ้าเมืองต่อมา ชื่อว่า '''หลวงกลางน้อยศรีมงคล''' หลวงกลางน้อยฯ เป็นปู่ทวดของผม เป็นพ่อของปู่ของผมชื่อว่า '''เรือง ''' ภาษาอีสานคือ '''เฮือง''' .........ทีนี้หลวงกลางน้อยศรีมงคลเป็นเจ้าเมืองที่เป็นคนท้องถิ่นคนสุดท้ายของเมืองธาตุพนม หลังจากนั้นก็มีการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕ สมัยสมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ พระองค์เจ้าชายดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็เลิกเอาคนท้องถิ่นเป็นเจ้าเมือง ส่งข้าราชการจากกรุงเทพมหานครไป ก็เลยหมด ปู่ผมก็ไม่ได้เป็นเจ้าเมือง .........ความที่ปู่มีความฝังใจอยากให้ลูกหลานเป็นเจ้าเมือง ก็บอกว่าให้ผมเรียนรัฐศาสตร์ให้เรียนปกครองและให้เข้ากระทรวงมหาดไทย......... "<ref>วีรพงษ์ รามางกูร, '' ไฮคลาส ปีที่ 14 ฉบับ 162 ต.ค. 2540 : สืบวงศ์วานเจ้าเมืองธาตุพนม'', 127-128.</ref>
 
พุทธศักราช ๒๔๔๙ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินอีสานจากระบบเจ้าเมืองและคณะอาญาสี่ มาเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาลแล้ว สมเด็จกรมฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จมาตรวจราชการมณฑลอุดร พระองค์ได้เดินทางไปยังหัวเมืองสำคัญต่างๆ ริมฝั่งโขง ทรงบรรยายถึงเหตุการณ์ต่างๆ ริมฝั่งโขง และยังกล่าวว่า พระองค์ได้ขึ้นเรือของเจ้าเมืองธาตุพนมด้วย ความว่า
 
“.........ฉันออกจากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ไปด้วยรถไฟพิเศษจากจนถึงนครราชสีมา จึงลงเรือไฟมาจากเมืองหนองคายระยะทาง ๔ วันถึงเมืองนครพนม ขึ้นเดินบก ขี่ม้าจากเมืองนครพนมทาง ๓ วันถึงเมืองสกลนคร จากเมืองสกลนครเดินบกวกกลับลงไป ๓ วันถึงพระธาตุพนมที่ริมแม่น้ำโขง ลงเรือยาวพายล่องจากพระธาตุพนมทาง ๒ วันถึงเมืองมุกดาหาร......... จนมาลงเรือยาวพายล่องจากพระธาตุพนมลงมาเมืองมุกดาหาร ฉันลงเรือพายของ'''เจ้าเมือง'''มา จึงได้เห็นน้ำวนในแม่น้ำโขงถนัด ที่แก่งคันกะเบา.........”<ref>สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ พระองค์เจ้าชายดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, '' นิทานโบราณคดี : นิทานที่ ๑๖ เรื่อง ลานช้าง'', ไม่ปรากฏหน้า</ref>
 
==เมืองพนม หรือเมืองธาตุพนม==