ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาสงครามเหนือ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Antemister (คุย | ส่วนร่วม)
Shakko (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 110:
กลวิธีการศึกของ[[จักรวรรดิสวีเดน|สวีเดน]]ในครั้งนี้สามารถเอาชนะฝ่ายเจ้าบ้านอย่าง[[เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย|โปแลนด์-ลิทัวเนีย]][[รัฐผู้คัดเลือกแซกโซนี|และแซกโซนี]]ได้อย่างง่ายดายก็เพราะมีการติดตั้งปืนใหญ่บนเรือเล็กๆ ได้ ทำให้ฝ่าย[[จักรวรรดิสวีเดน|สวีเดน]]สามารถระดมยิงปืนใหญ่และปล่อยระเบิดควันลวงสายตาได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังมีการวางกลยุทธ์ล่วงหน้าอีกด้วย
 
[[ไฟล์:PortraitBoris ofSheremetyev Countby BorisI.Argunov Sheremetyev(1768, Kuskovo).jpg|right|thumb|300px|บอริส เปโตรวิช เชรเมเทฟ]]
=== ยุทธการเราเกจ์ ===
หลังจากที่[[จักรวรรดิสวีเดน|สวีเดน]]ข้ามแม่น้ำเดากาวาไปได้แล้วสองเดือน บอริส เชรเมเทฟ แม่ทัพแห่ง[[จักรวรรดิรัสเซีย|รัสเซีย]]ก็ได้ยาตราทัพสามเหล่าจากราพินนา เนียว-คาซาริทส์ และเราเกจ์ในวันที่ [[15 กันยายน]] [[ค.ศ. 1701]] เพื่อเข้าปะทะกันอีกครั้งที่เราเกจ์และลิโวเนียตะวันออกในดินแดน[[เอสโตเนีย]]ปัจจุบัน ถึง[[จักรวรรดิรัสเซีย|รัสเซีย]]จะกรีฑาทัพมาเป็นจำนวน 7,000 นายที่มากกว่า[[จักรวรรดิสวีเดน|สวีเดน]]ที่มีเพียง 2,000 แต่ผลของสงครามครั้งนี้ยังคงเป็นเช่นเดิม [[จักรวรรดิรัสเซีย|รัสเซีย]]ต้องปราชัยให้กับ[[จักรวรรดิสวีเดน|สวีเดน]]เหมือนอย่างทุกครั้ง สงครามครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นถึงระดับประสิทธิภาพของสองกองทัพ โดย[[จักรวรรดิรัสเซีย|รัสเซีย]]ต้องสูญเสียทหารไปมากถึง 2,000 กว่าคน ในขณะที่[[จักรวรรดิสวีเดน|สวีเดน]]สูญเสียทหารไปไม่ถึงร้อยคนเท่านั้น