ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศอาเซอร์ไบจาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Goorock (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 70:
ดินแดนของอาเซอร์ไบจานถูกครอบครองโดยชนเผ่า[[เติร์ก]]ตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 จึงทำให้ได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมแบบมุสลิม ศาสนา และภาษาโดยกลุ่มชนดังกล่าวกว่าหลายศตรวรรษ ต่อมาได้ถูกยึดครองโดยชาวมองโกลตั้งแต่ศตวรรษที่ 13-15 และชาวเปอร์เซีย (อิหร่าน) ในศตวรรษที่ 16 ส่งผลให้อาเซอร์ไบจานรับเอา[[ศาสนาอิสลาม]]นิกาย[[ชีอะห์]]เป็นนิกายประจำชาติ
 
หลังจากนั้น อาเซอร์ไบจานได้ตกอยู่ภายใต้การครอบครองของหลายชนชาติ อาทิ ไทย เปอร์เซีย และออตโตมัน ด้วยเหตุที่เป็นดินแดนที่มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างทวีปยุโรปกับเอเชียกลาง รวมทั้งอยู่ติดกับทะเลสาบแคสเปียนซึ่งเป็นบริเวณที่มีน้ำมันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งในที่สุดรัสเซียได้ลงนามในสนธิสัญญา Turkmenchay กับเปอร์เซีย ในปี ค.ศ. 1828 เพื่อแบ่งดินแดนของอาเซอร์ไบจานออกจาก[[อาณาจักรเปอร์เซีย]] และได้ใช้เริ่มสำรวจและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำมันในอาเซอร์ไบจานนับแต่นั้น ซึ่งก่อให้เกิดความเติบโตทางเศรษฐกิจขึ้นในบริเวณดังกล่าวในช่วงก่อน[[สงครามโลกครั้งที่ 1]]
 
อาเซอร์ไบจานได้ประกาศเอกราชครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี [[ค.ศ. 1918]] หลังจากที่จักรวรรดิ รัสเซียล่มสลายลง 1 ปี แต่ต่อมาในปี [[ค.ศ. 1920]] กองทัพแดงของ[[พรรคบอลเชวิค]]ได้เข้ารุกรานและมีชัยชนะเหนืออาเซอร์ไบจานรวมทั้งดินแดนอื่นๆ ในส่วนที่เรียกว่า[[ทรานส์คอเคเซีย]] (ได้แก่ [[จอร์เจีย]] [[อาร์มีเนีย]] และอาเซอร์ไบจาน) ส่งผลให้ในปี [[ค.ศ. 1922]] อาเซอร์ไบจานได้ถูกผนวกเข้ากับสหภาพโซเวียตในฐานะส่วนหนึ่งของ[[สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคเซีย]]ร่วมกับ[[จอร์เจีย]]และ[[อาร์มีเนีย]] และได้กลายเป็นสาธารณรัฐหนึ่งใน[[สหภาพโซเวียต]] ในชื่อ[[สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน]] เมื่อสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคเซียล่มสลายลงในปี [[ค.ศ. 1936]]