ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เทพกร (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 42:
}}
 
'''เกียรติพงศ์ กาญจนภี''' ([[22 กันยายน]] [[พ.ศ. 2469]] - [[30 กันยายน]] [[พ.ศ. 2557]] ) เป็นชื่อจริงของ '''สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์''' ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากลที่มีชื่อเสียง ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น[[ศิลปินแห่งชาติ]] สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล - ผู้ประพันธ์) พ.ศ. 2549 จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และ[[รางวัลนราธิป]] ประจำปี พ.ศ. 2549 จากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
 
==ประวัติชีวิตและผลงาน==
บรรทัด 61:
 
===ประวัติการสร้างสรรค์ผลงาน===
'''สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์''' เป็นคนกรุงเทพมหานครโดยกำเนิด บ้านเกิดอยู่แถว ๆ บางลำพู การศึกษาเริ่มเรียนที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล จนกระทั่งจบชั้นมัธยม 6 การศึกษาชั้นสูงสุด จบเศรษฐศาสตรบัณฑิต จากประเทศสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2503 เมื่อจบการศึกษาชั้นมัธยม 6 จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ก็ได้เข้ามาช่วยงานเป็นคนบอกบทละครให้กับคณะละครศิวารมณ์ ซึ่งเป็นของ นาวาอากาศเอก สวัสดิ์ ฑิฆัมพร (ส. ฑิฆัมพร) และได้เริ่มแต่งเพลงกับสง่า อารัมภีร เป็นเพลงในละครเรื่องพันท้ายนรสิงห์ ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล โดยมีสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ เป็นพระเอก ต่อมาได้สร้างเป็นภาพยนตร์ ชูชัย พระขรรค์ชัย เป็นพระเอก สุพรรณ บูรณพิมพ์ เป็นนางเอง หลังจากนั้นได้แต่งเพลงให้กับละครอีกหลายเรื่องเป็นประจำ โดยร่วมแต่งคำร้อง และสง่า อารัมภีร เป็นผู้ให้ทำนอง ได้แต่งเพลงร่วมกับสง่า อารัมภีร ถึงประมาณ พ.ศ. 2496 จึงได้เลิกแต่ง เนื่องจากหมดยุคของละครเวที เพลงที่ประพันธ์ร่วมกันมีประมาณเกือบ 300 เพลง เพลงประกอบละครมีที่เด่น ๆ หลายเรื่อง เช่น '''เพลงอุทยานกุหลาบ''' จากละครเวทีเรื่องผาคำรณ '''เพลงวิมานรัก''' จากละครเวทีเรื่องนเรนทร์ริษยา (พ.ศ. 2498) ทั้งสองเพลงขับร้องโดยคู่พระนางชื่อดังในยุคนั้น คือ [[ฉลอง สิมะเสถียร]] และ [[สุพรรณ บูรณะพิมพ์]]<ref>ซีดีผลงานเพลง สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ศิลปินแห่งชาติ, พ.ศ. 2551</ref>
 
ตลอดระยะเวลาที่แต่งเพลงก็ยังทำงานประจำอยู่ จึงคิดว่าคงไม่เหมาะนักถ้าจะใช้ชื่อจริงในการแต่งเพลง ดังนั้นจึงได้ไปขอให้ นาวาอากาศเอก สวัสดิ์ ฑิฆัมพร ตั้งชื่อนามปากกาให้ และได้ชื่อว่า '''สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์''' ซึ่งมีจดหมายอธิบายประกอบการตั้งชื่อว่า '''สุนทรียะ''' มาจากคำว่า '''aesthetic''' หมายถึง ความรู้สึกอันรู้จักค่าของความงาม ทำให้ไพเราะ อ่อนโยน น่ารัก ตั้งให้ตามเค้าของนิสัย แต่'''สุนทรียะ''' ฟังดูห้วนเกินไป แข็งเกินไป จึงเติมให้เป็น '''สุนทรียา''' ส่วน ณ '''เวียงกาญจน์''' หมายถึง แดนทองหรือเมืองทอ ตั้งให้ตามเค้าของตระกูล
บรรทัด 105:
|URL=
|จังหวัด=กรุงเทพมหานคร
|พิมพ์ที่=อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่่งชชิ่ง
|ปี= พ.ศ. 2550
|ISBN=978-974-9985-70-0