ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เทพกร (คุย | ส่วนร่วม)
เทพกร (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 73:
 
เพลงที่ได้รับความนิยมเพลงหนึ่ง คือ '''เพลงรักคุณเข้าแล้ว''' เพลงนี้ประพันธ์คำร้องทำนองโดย สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ มีสมาน กาญจนะผลิน เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสาน สุเทพ วงศ์กำแหง เป็นผู้ขับร้อง เพลงนี้เป็นเพลงแรกในประวัติศาสตร์ของวงการเพลงไทยสากล คือ ใช้สรรพนาม "คุณ" แทนคำว่า "เธอ" และใช้ "ผม" แทนคำว่า "ฉัน" และ "เรียม" อันเป็นคำที่ประชาชนทุกคนในยุคนั้นใช้กันติดปากในชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้ฟ้งเพลงรู้สึกว่าเพลงนี้สะท้อนสภาพชีวิตจริง จากนั้นเพลงอื่น ๆ ก็ใช้คำว่า คุณ ผม ตามมา เช่น ผมรู้ดี ผมน้อยใจ เป็นต้น ครั้งเมื่อสุเทพ วงศ์กำแหง ได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่น ก็ได้ใส่คำร้องเป็นภาษาญี่ปุ่น และได้ออกเผยแพร่ที่ประเทศญี่ปุ่น จนเป็นที่นิยมชมชอบกันพอสมควร ดังนั้น จึงมีผู้ฟังบางคนเข้าใจผิดว่าเพลงนี้นำทำนองมาจากเพลงญี่ปุ่น
 
'''สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์''' ได้แต่งเพลงมาแล้วประมาณ 1,000 กว่าเพลง ส่วนใหญ่แต่งกับร่วมสง่า อารัมภีร ซึ่งเป็นเพลงในละครเวที และเพลงที่แต่งกับสมาน กาญจนะผลิน เพลงที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เช่น รักปักใจ แน่หรือคุณขา วิหคเหินลม รักคุณเข้าแล้ว เพียงคำเดียว ดอกโศก ความรักเจ้าขา จำพราก ที่รัก รักพี่นะ ชีวิตเมื่อคิดไป คำคน ใจพี่ เกิดมาอาภัพ สัญญารัก นกเขาคูรัก อุทยานรักไทรโยค ออเซาะรัก รัก วอนรัก ฯลฯ ส่วนที่แต่งร่วมกับท่านอื่น ๆ นั้น มีน้อย
 
และยังได้แต่งเพลง ทักษิณราชนิเวศน์ ให้จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเพลงนี้ได้บรรยายความงามของพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์อย่างหยดย้อย ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยไปที่พระตำหนักแห่งนี้เลย เพียงแต่ได้เห็นจากภาพถ่าย และเรื่องราวที่ลงในนิตยสารท่องเที่ยวเท่านั้น
 
นอกจากนี้ยังมีเพลงสถาบันและหน่วยงานอื่น ๆ เช่น แต่งให้แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย สมาคมภริยาแพทย์แห่งประเทศไทย (แต่งร่วมกับสมาน นภายน) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (แต่งร่วมกับ เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์) และเพลงธนาคารแห่งประเทศไทย เพลงที่อยู่ในชุด "แด่เธอผู้เป็นที่รัก" ซึ่งจัดทำโดยกองกำลังรักษาพระนคร เพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิท่านผู้หญิงประภาศรี กำลั งเอก เป็นผลงานที่แต่งร่วมกับสมาน กาญจนะผลิน จำนวน 3 เพลงด้วยกัน คือ แด่เธอผู้เป็นที่รัก แม่ และช่างกระไรใจคน
 
ผลงานยุคหลังได้แต่งเพลงนางสาวไทย ให้สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ สำหรับใช้บรรเลงในการประกวดนางสาวไทย เมื่อ พ.ศ. 2543 และแต่งเพลง 72 พรรษา พระเมตตาปกเกล้า ร่วมเฉลิมฉลอง 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทั้ง 2 เพลง แต่งร่วมกับ เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์
 
ผลงานเพลงประพันธ์คำร้อง ได้แก่ เพลงนพรัตน์ ขอใจให้พี่ ขอดูใจพี่ ขอใจให้น้อง อยู่เพื่อความดี ทูนหัวหลอกพี่ โธ่เอ๋ยทำได้ น่ารัก นัยน์ตาฟ้า ฝากรักฝากฝัน เพชรในตม อย่านะ รังแกใจ ไม่งามขวานบิ่น ขอให้รักกัน โกรธ-รัก เป็นไปแล้ว หวานรัก ลาแล้วแก้วตา เมื่อรักกลับคืน เชื่อรัก รักลอยลม รักเอ๋ยรักข้า คิดไปใจหาย ชื่นรักตักนาง ฯลฯ
 
เหตุที่สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ไม่อยากเปิดเผยตัวจริงให้ใครทราบ เนื่องจากยังคิดว่าผลงานของตัวเองยังไม่ดีพอ เวลากลับมาดูผลงานที่ได้ออกเผยแพร่ไปแล้วยังเห็นข้อบกพร่องยู่ และเนื่องจากความเคยชินที่จะใช้ชื่อ สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ต่อไป
 
นอกจากผลงานเพลงจะได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปแล้ว ยังได้รับรางวัลอื่น ๆ อีก ดังนี้
 
# ได้รับพระราชทานรางวัลแผ่นเสียงทองคำ รางวัลชนะเลิศคำร้องและเพลงยอดเยี่ยมประจำปี ประเภท ก. ในเพลงใจพี่ และได้รับรางวัลรองชนะเลิศคำร้องและเพลงยอมเยี่ยมประจำปี ประเภท ข. ในเพลงวิหคเหินลม ซึ่งเป็นผลงานที่ประพันธ์คำร้องโดยสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ และสมาน กาญจนะผลิน ประพันธ์คำร้อง
# ได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำ ในเพลง เพียงคำเดียว ของสถานีวิทยุเสียงสามยอด ซึ่งเป็นผลงานที่ประพันธ์คำร้องโดย สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ และสมาน กาญจนผลิน ประพันธ์ทำนอง
# ได้รับรางวัลนราธิป เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรตินักเขียนและบรรณาธิการอาวุโสที่ทำคุณประโยชน์ด้านวรรณกรรม ของสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2549