ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พลังงานมืด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
ในการศึกษา[[จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ]] [[ดาราศาสตร์]] และ[[กลศาสตร์ท้องฟ้า]] '''พลังงานมืด''' ({{lang-en|Dark energy}}) คือพลังงานในสมมุติฐานที่แผ่อยู่ทั่วไปในอวกาศและมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการขยายตัวของเอกภพ<ref name="peebles">{{cite journal|author=P. J. E. Peebles and Bharat Ratra|title=The cosmological constant and dark energy|year=2003|journal=Reviews of Modern Physics|url=http://www.arxiv.org/abs/astro-ph/0207347|volume=75|pages=559–606 | doi = 10.1103/RevModPhys.75.559|format=subscription required}}</ref> พลังงานมืดเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในการใช้อธิบายถึงผลสังเกตการณ์และการทดลองมากมายอันแสดงถึงลักษณะที่เอกภพปรากฏตัวอยู่ในลักษณะการขยายตัวออกอย่างมีอัตราเร่ง ในแบบจำลองมาตรฐานของจักรวาลวิทยา มีพลังงานมืดอยู่ในเอกภพปัจจุบันเป็นจำนวน 74% ของมวล-พลังงานรวมทั้งหมดในเอกภพ<ref name="Wmap 5 Year">{{cite web|url=http://lambda.gsfc.nasa.gov/product/map/current/params/lcdm_sz_lens_wmap5.cfm|title=WMAP Cosmological Parameters Model: lcdm+sz+lens Data: wmap5|last=Hinshaw|first=Gary F.|date=April 30th, 2008|publisher=NASA|accessdate=2009-05-24}}</ref>
 
รูปแบบของพลังงานมืดที่นำเสนอกันมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ [[ค่าคงที่จักรวาลวิทยา]] (cosmological constant) อันเป็นค่าความหนาแน่นพลังงาน "คงที่" ที่แผ่อยู่ในอวกาศอย่างสม่ำเสมอ<ref name="carroll">{{cite journal|author=[[Sean Carroll]]|year=2001|url=http://relativity.livingreviews.org/Articles/lrr-2001-1/index.html|title=The cosmological constant|journal=Living Reviews in Relativity|volume=4|accessdate=2006-09-28|pages=1|doi=10.1038/nphys815-<span|doi_brokendate=2008-06-26}}</ref> กับ[[ทฤษฎีสนามสเกลาร์]] (Scalar field theory) เช่นควินเตสเซนส์หรือโมดูลิ อันเป็นปริมาณที่มีการ "เปลี่ยนแปลง" โดยความหนาแน่นของพลังงานแปรเปลี่ยนไปตามกาลและอวกาศ ส่วนหนึ่งของสนามสเกลาร์ที่มีค่าคงที่ในอวกาศนั้นถูกรวมอยู่ในค่าคงที่จักรวาลวิทยาด้วย ในทางกายภาพแล้ว ค่าคงที่จักรวาลวิทยาจะมีค่าเทียบเท่ากับพลังงานสุญญากาศ (vacuum energy) การแยกแยะการเปลี่ยนแปลงของสนามสเกลาร์ในอวกาศออกจากค่าคงที่จักรวาลวิทยาทำได้ค่อนข้างยาก เพราะการเปลี่ยนแปลงนั้นอาจเป็นไปอย่างช้ามากๆ