ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สื่อที่มนุษย์สามารถอ่านได้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''สื่อหรือรูปแบบที่มนุษย์สามารถอ่านได้''' หมายถึงตัวแทนของ[[ข้อมูล]]หรือ[[สารสนเทศ]]ที่[[มนุษย์]]สามารถ[[อ่าน]]ได้โดยธรรมชาติ
 
ในทางคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ ''มนุษย์สามารถอ่านได้'' มักจะเข้ารหัสเป็นข้อความ[[แอสกี]]หรือ[[ยูนิโคด]] (เป็นตัวหนังสือ) มากกว่าที่จะแสดงแทนด้วย[[เลขฐานสอง]] ข้อมูลแทบจะทั้งหมดสามารถแจงส่วนได้ด้วยเครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์ ที่ติดตั้งหรือสร้างชุดคำสั่งที่เหมาะสม ซึ่งเหตุผลที่เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์เลือกรูปแบบเลขฐานสองเหนือรูปแบบข้อความ มุ่งไปที่ปัญหาต่าง ๆ ของพื้นที่ว่างของหน่วยเก็บ เนื่องจากการแทนเลขฐานสองตามปกติจะใช้พื้นที่เพียงไม่กี่[[ไบต์]] และประสิทธิภาพของการเข้าถึง (อินพุตและเอาต์พุต) โดยไม่ต้องผ่านการแปลงหรือแจงส่วนซ้ำ
 
ในบริบทส่วนใหญ่ ทางเลือกของตัวแทนที่มนุษย์สามารถอ่านได้ก็คือ สื่อหรือรูปแบบของข้อมูลที่ ''เครื่องสามารถอ่านได้'' ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เชิงกล หรือเชิงแสง หรือคอมพิวเตอร์ อ่านข้อมูลได้เป็นหลัก ตัวอย่างเช่น [[รหัสผลิตภัณฑ์สากล]] (Universal Product Code: UPC) เป็น[[รหัสแท่ง]]ที่มนุษย์อ่านเข้าใจได้ยาก แต่ถ้าอ่านด้วยอุปกรณ์ที่ถูกต้องจะมีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือมาก แต่ในขณะเดียวกันสายอักขระของ[[ตัวเลข]]ที่ประกอบอยู่บนฉลากมีเพื่อให้มนุษย์สามารถอ่านสารสนเทศของรหัสแท่งนั้น ในบางเขตอำนาจศาล ฉลากรหัสแท่งที่ใช้ในการค้าปลีกจะต้องแสดงราคาที่มนุษย์สามารถอ่านได้บนสินค้านั้น