ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผักตบชวา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ Thaibiodiversity (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย PAHs
บรรทัด 41:
 
== บทบาทในการกำจัดน้ำเสีย ==
ผักตบชวาสามารถช่วยในการบำบัดน้ำเสีย โดยการทำหน้าที่กรองน้ำที่ไหลผ่านกอผักตบชวาอย่างช้าๆ ทำให้ของแข็งแขวนลอยต่างๆ ที่ปนอยู่ในน้ำถูกสกัดกั้นกรองกลั่นกรองออก นอกจากนั้น ระบบรากที่มีจำนวนมากจะช่วยกรอง[[สารอินทรีย์]]ที่ละเอียด และ[[จุลินทรีย์]]ที่อาศัยเกาะอยู่ที่ราก จะช่วยดูดสารอินทรีย์ไว้ด้วยอีกทางหนึ่ง รากผักตบชวาจะดูดสารอาหารที่อยู่ในน้ำ ทำให้ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในน้ำเสียจึงถูกกำจัดไป อย่างไรก็ตามไนโตรเจนในน้ำเสียนั้น ส่วนมากจะอยู่ในรูปสารประกอบทาง[[เคมี]] เช่น สารอินทรีย์ไนโตรเจน [[แอมโมเนีย]]ไนโตรเจน และ[[ไนเตรท]]ไนโตรเจน พบว่า ผักตบชวาสามารถดูด[[ไนโตรเจน]]ได้ทั้ง 3 ชนิด แต่ในปริมาณที่แตกต่างกันคือ ผักตบชวาสามารถดูดอินทรีย์ไนโตรเจนได้สูงกว่าไนโตรเจนในรูปอื่นๆ คือ ประมาณ 95 % ขณะที่ไนเตรทไนโตรเจน และแอมโมเนียไนโตรเจน จะเป็นประมาณ 80 % และ 77 % ตามลำดับ<ref>[http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/om/Water%20Hyacinth.htm ชีววิทยาของผักตบชวา] กรมชลประทาน</ref> สถานที่แรกในประเทศไทยที่ใช้การบำบัดด้วยวิธีนี้คือ "บึงมักกะสัน" ซึ่งเป็นโครงการบึงมักกะสันอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยใช้หลักการบำบัดน้ำเสียตามแนวทฤษฎีการพัฒนาโดยการกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวา (Filtration)<ref>[http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B2 การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา] www.panyathai.or.th</ref>
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==