ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเมืองเกษเกล้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nednai.Lukmaenim (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Poonyo (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{กล่องข้อมูล เชื้อพระวงศ์
| สีพิเศษ = #ffcc00
เส้น 27 ⟶ 26:
 
== พระราชประวัติ ==
=== การครองราชย์ครั้งแรก ===
'''พระเมืองเกษเกล้า''' หรือ '''พญาเกสเชษฐราช''' พระองค์เป็นพระราชโอรสใน[[พระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิ]] หรือ พญาแก้ว ครองราชย์ครั้งแรกในปี [[พ.ศ. 2068]]-[[พ.ศ. 2081|2081]] สถานภาพของพระองค์เมื่อครั้งแรกครองสิริราชสมบัตินั้น พระองค์ยังสามารถใช้ฐานอำนาจเดิมของพระราชบิดา ไม่มีความขัดแย้งของเหล่าขุนนาง เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ เช่นการสนับสนุนของเหล่าคณะสงฆ์และมหาเทวีตนย่าซึ่งเป็นฐานอำนาจเดิม เมื่อพระเมืองเกษเกล้าเสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทะนุบำรุง[[พระพุทธศาสนา]]ตามแนวทางเดิมของพระราชบิดา โดยส่งเสริมพระภิกษุสงฆ์สำนักสีหลหรือฝ่ายป่าแดง เนื่องจากพระองค์เคยบวชในสำนักสีหลที่[[วัดโพธารามมหาวิหาร]] (วัดเจ็ดยอด) จึงให้พระครูของพระองค์มาประจำที่วัดโพธารามมหาวิหารและแต่งตั้งพระภิกษุฝ่ายสีหลให้รับสมณศักดิ์เป็นสังฆราชและมหาสามี และโปรดให้พระภิกษุอุปสมบทในนิกายสีหล ดังนั้น''[[ตำนานชินกาลมาลีปกรณ์]]''ที่เขียนโดยพระรัตนปัญญาเถระแห่งวัดโพธารามมหาวิหาร ขณะที่พระเมืองเกษเกล้าครองราชย์ได้ 1-2 ปี ได้สรรเสริญพระเมืองเกษเกล้าว่า ''"...เป็นพระเจ้าธรรมิกราชโดยแท้..."''<ref>[[พระรัตนปัญญาเถระ]]. '''ชินกาลมาลีปกรณ์''', หน้า 163</ref>
 
=== การถอดออกจากราชสมบัติ ===
พระเมืองเกษเกล้า ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ครั้งแรกในช่วงปี [[พ.ศ. 2068]]-[[พ.ศ. 2081|2081]] ซึ่งช่วงแรกของการครองราชย์ยังมีกลุ่มอำนาจเดิมในสมัยพญาแก้ว ยังไม่พบความขัดแย้งของเหล่าขุนนาง และดูเหมือนว่าครองราชย์ตามปกติเฉกเช่นกษัตริย์องค์ก่อน ความมั่นคงช่วงแรกจึงเกิดจากแรงสนับสนุนของเหล่าพระสงฆ์และ[[มหาเทวีสิริยศวดี|มหาเทวีเจ้าตนย่า (นางโป่งน้อย)]] ซึ่งเป็นฐานอำนาจเดิม ภายหลังเมื่อมหาเทวีเจ้าตนย่าสวรรคตใน [[พ.ศ. 2077]] โดยพระองค์มีพระราโชบายที่จะรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง สร้างความไม่พอใจแก่ขุนนางลำปางที่นำโดย หมื่นสามล้าน ซึ่งเป็นผู่นำไม่พอใจและเกิดการก่อกบฏขึ้นในปี [[พ.ศ. 2078]] โดยขุนนางเมืองลำปางได้เป็นแกนนำการก่อกบฏ ดังข้อความตอนหนึ่งว่า ''"...เสนาทังหลาย เปนต้นว่า หมื่นสามล้านกินนคร ๑ ลูกหมื่นสามล้านชื่อว่าหมื่นหลวงชั้นนอก ๑ หมื่นยี่อ้าย ๑ จักกะทำคดแก่เจ้าพระญาเกสเชฏฐราชะ พระเปนเจ้ารู้ จิ่งหื้อเอาหมื่นส้อยสามล้านไพข้าเสียวันนั้นแล..."''<ref name="ตำนาน">'''ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่'''. หน้า 87</ref> แสดงว่าขุนนางตามภูมิภาค ต่างไม่พอใจพระมหากษัตริย์ และเกิดความขัดแย้งรุนแรงยิ่งขึ้น จนในที่สุด [[พ.ศ. 2081]] ขุนนางมีอำนาจเหนือกษัตริย์และได้ร่วมกันปลดพระเมืองเกษเกล้าออก แล้วส่งไปครองเมืองน้อย
 
=== การครองราชย์ครั้งที่สองและการสวรรคต ===
 
หลังจากเหตุการณ์นั้น เหล่าขุนนางจึงได้อัญเชิญท้าวซายคำขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แทนพระราชบิดา [[ท้าวซายคำ]]ครองราชย์ในปี [[พ.ศ. 2081]] ขณะมีพระชนมายุ 24 พรรษา แต่หลังพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติได้ไม่นานก็ถูกลอบปลงพระชนม์ ดังตำนานพระธาตุหริภุญชัยได้กล่าวไว้ว่า ''"...พระยาซายคำถือเมืองได้ ๖ ปี มีลูกหญิงก็หลาย มีลูกชายก็มาก เถิงปีก่าดหม้า เดือน ๑๑ แรมค่ำ ๑ วันอาทิตย์ ไทยระวายยี'' ([[พ.ศ. 2086]]) ''ชาวดาบเรือนหื้อเสียชีวิตในคุ้มน้อยทั้งมวนแล..."''<ref>'''ตำนานพระธาตุหริภุญชัย''', หน้า 31</ref> แสดงว่าท้าวซายคำได้ถูกเหล่าขุนนางลอบปลงพระชนม์ในคุ้มพร้อมด้วยครอบครัว โดยตำนานเมืองเชียงใหม่ได้ให้เหตุผลไว้ว่า ''"...เสวยเมืองบ่ชอบสราชธัมม์ เสนาอามาตย์พร้อมกัน ข้าพ่อท้าวชายเสียในปลีก่าเหม้า สก ๙๐๕ ตัว..."''<ref name="ตำนาน"/>
เส้น 58 ⟶ 57:
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
* '''ตำนานพระธาตุหริภุญไชย'''. พิมพ์เป็นอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์), 29 พฤษภาคม 2502
* '''ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี'''. เชียงใหม่:ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฎเชียงใหม่, 2538
{{จบอ้างอิง}}
 
{{เริ่มกล่อง}}
เส้น 84 ⟶ 85:
 
{{เกิดปี|}}{{ตายปี|2088}}
 
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์มังราย]]
[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ล้านนา]]
[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ถูกปลงพระชนม์]]
{{โครงพระมหากษัตริย์}}