ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาเตลูกู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 22:
รากศัพท์ที่แน่นอนของคำว่า "เตลุกู"หรือ "เตลุคุ" ยังไม่ทราบแน่ชัด โดยทั่วไปอธิบายว่ามาจากคำว่าไตรลิงกะ ในไตรลิงกะ เทศา ใน[[ศาสนาฮินดู]]คำว่า ไตรลิงกะ เทศา หมายถึงดินแดนที่อยู่ระหว่างวิหารของ[[พระศิวะ]] 3 แห่ง คือ กาละหัตถี ศรีศัยลัม และทรักศรมัม ไตรลิงกะ เทศานี้อยู่ที่แนวชายแดนดั้งเดิมของบริเวณเตลูกู รูปแบบอื่นๆของคำนี้ เช่น เตลุงกะ เตลิงคะ เตลังกนะ และเตนุงกะพบได้เช่นกัน มีคำกล่าวว่าไตรลิงกะในรูปของไตรลิกกอนปรากฏในงานของ[[ปโตเลมี]]ในฐานะชื่อของดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกของ[[แม่น้ำคงคา]] นักวิชาการอื่นๆเปรียบเทียบไตรลิงคะกับชื่อพื้นเมืองอื่นๆที่กำหนดโดย[[พลินี]] เช่น โบลิงเก มักโดคาลิงเก และโมโด กาลิงกัม โดยชื่อหลังนั้นระบุว่าเป็นเกาะในแม่น้ำคงคา A.D. Campbell ได้กล่าวไว้ในบทนำของตำราไวยากรณ์ภาษาเตลูกูของเขาว่าโมโด กาลิงกัมอาจจะอธิบายได้ด้วยการแปลภาษาเตลูกูคำว่าตรีสินงกัมและเปรียบเทียบส่วนแรกของคำ โมโด กับมุดุกะซึ่งเป็นรูปคำที่ใช้ในวรรณคดีภาษาเตลูกู โดยมุดุแปลว่าสาม
 
Bishop Caldwell อธิบายว่าโมโด กาลิงกัมมาจากภาษาเตลูกู มุดุ กาลิงกัมหมายถึงกาลิงกัสทั้งสามซึ่งเป็นชื่อพ้องกับที่พบในจารึกภาษาสันสกฤต และกาลิงกะปรากฏในจารึกพระเจ้าอโศกมหาราชและเริ่มปรากฏรูปคำว่ากลิงค์กลิงก์ซึ่งกลายเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มาจากอินเดียตอนใต้ในมาเลเซีย K.L. Ranjanam เห็นว่าคำว่ากลิงค์กลิงก์มาจากตะละดิง ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของเขตอันธระ M.R. Shastri เห็นว่ามาจากคำว่าเตลุงคะที่มาจากภาษาโกณฑี เตลู แปลว่าขาว แล้วทำให้อยู่ในรูปพหูพจน์โดยเดิม –unga ซึ่งอาจจะเป็นการอ้างอิงถึงคนผิวขาว G.J. Sumayaji อธิบายว่า ten- หมายถึงใต้ ในภาษาดราวิเดียนดั้งเดิม และอาจจะมาจากเตนุงกู หมายถึงผู้คนทางใต้
 
ชื่อเดิมของแผ่นดินเตลูกูคือเตลิงกะ/เตลิงกะเทศะ ซึ่งดูคล้ายกับว่ามาจากรากศัพท์ เตลิ- และเติม –nga ซึ่งเป็นหน่วยสร้างคำทั่วไปในภาษาตระกูลดราวิเดียน คำว่าเตลิปรากฏในภาษาเตลูกูแปลว่าสว่าง คำว่ากลิงค์กลิงก์อาจจะมีพื้นฐานเดียวกับคำในภาษาเตลูกู กาลูกูตะหมายถึงอยู่รอดและมีชีวิต และความหมายโดยนัยคือความเป็นคน
 
== ประวัติ ==