ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลียดก๊ก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''''เลียดก๊ก''''' ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ '''''เล่ย์กั๋ว''''' ตามสำเนีย...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:36, 24 สิงหาคม 2557

เลียดก๊ก ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ เล่ย์กั๋ว ตามสำเนียงกลาง (จีนตัวย่อ: 列国; จีนตัวเต็ม: 列國; พินอิน: Lièguó) หรือชื่อเต็มตามสำเนียงกลางว่า ตงโจวเล่ย์กั๋วจื้อ (จีนตัวย่อ: 东周列国志; จีนตัวเต็ม: 東周列國志; พินอิน: Dōngzhōu Lièguó Zhì) แปลว่า วีรคติแว่นแคว้นแดนดินครั้งโจวตะวันออก (Romance of the States in Eastern Zhou) เป็นนิยายจีนซึ่ง เฝิง เมิ่งหลง (馮夢龍) ประพันธ์ขึ้นในราชวงศ์หมิง มีเนื้อหาว่าด้วยราชวงศ์โจวตะวันออก เริ่มตั้งแต่เมืองจีนแตกแยกออกเป็นแว่นแคว้นน้อยใหญ่เมื่อสิ้นราชวงศ์โจวตอนต้น ไปจบที่จิ๋นซีฮ่องเต้รวมแผ่นดินเป็นผลสำเร็จ

ฉบับแปลไทย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรับสั่งให้แปล เลียดก๊ก เป็นภาษาไทยเมื่อ พ.ศ. 2362 วันที่รับสั่งและรายชื่อคณะผู้แปลมีจารึกไว้ในบานแพนกสมุดไทยดังนี้[1]

"ศุภมัสดุ จุลศักราชพันร้อยแปดสิบ ปีเถาะ เอกศก อาษาฒมาส ศุกลปักษ์ อัฐมีดิถี คุรุวาระ พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน มีพระราชโองการดำรัสสั่งให้จัดข้าทูลละอองแปลเลียดก๊กพงศาวดารจีนนี้เป็นคำไทยไว้สำหรับแผ่นดิน

"ข้าพระพุทธเจ้า กรมหมื่นนเรศร์โยธี หนึ่ง เจ้าพระยายมราช หนึ่ง เจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ หนึ่ง พระยาโชดึก หนึ่ง ขุนท่องสือ หนึ่ง จมื่นไวยวรนาถ หนึ่ง เล่ห์อาวุธ หนึ่ง จ่าเรศ หนึ่ง หลวงลิขิตปรีชา หนึ่ง หลวงญาณปรีชา หนึ่ง ขุนมหาสิทธิโวหาร หนึ่ง

"ห้องสินแลในเลียดก๊กนั้นว่าด้วยองค์พระเจ้าบู๊อ๋องครองเมืองทั้งปวงคิดทำศึกกัน ข้าพเจ้า หลวงลิขิตปรีชา เจ้ากรมอาลักษณ์ ชำระขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย"

วิธีแปลนั้นเป็นอย่างเดียวกับเรื่อง สามก๊ก[2] ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า[3]

"ลักษณะการแปลหนังสือจีนเป็นภาษาไทยแต่โบราณ (หรือแม้จนชั้นหลังมา) อยู่ข้างลำบาก ด้วยผู้รู้หนังสือจีนไม่มีใครชำนาญภาษาไทย ผู้ชำนาญภาษาไทยก็ไม่มีใครรู้หนังสือจีน การแปลจึงต้องมีพนักงานเป็นสองฝ่ายช่วยกันทำ ฝ่ายผู้ชำนาญหนังสือจีนแปลความออกให้เสมียนจดลง แล้วผู้ชำนาญภาษาไทยเอาความนั้นเรียบเรียงแต่งเป็นภาษาไทยให้ถ้อยคำแลสำนวนความเรียบร้อยอีกชั้นหนึ่ง [...] แต่สำนวนแปลคงจะไม่สู้ตรงกับสำนวนที่แต่งไว้ในภาษาจีนแต่เดิม เพราะผู้แปลมิได้รู้สันทัดทั้งภาษาจีนแลภาษาไทยรวมอยู่ในคนเดียวเหมือนเช่นแปลหนังสือฝรั่งกันทุกวันนี้"

อ้างอิง

  1. เลียดก๊ก เล่ม 1. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา. 2506. p. 1.
  2. บาหยัน อิ่มสำราญ (ม.ป.ป.). "พิไชยสงครามเลียดก๊ก" (pdf). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษร์ธานี. 15 (1). {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |trans_title= ถูกละเว้น แนะนำ (|trans-title=) (help)
  3. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2471). ตำนานหนังสือสามก๊ก. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสภา. หน้า 33.