ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jittat (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 463365 สร้างโดย Bluegems (พูดคุย)
Bact (คุย | ส่วนร่วม)
remove redundant wikilinks
บรรทัด 1:
{{ประวัติศาสตร์ไทย}}
ความคิดและความเคลื่อนไหวที่จะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของ[[ประเทศสยาม]] (ชื่อเดิมของ[[ประเทศไทย]]) จากระบอบ[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]]ไปเป็น[[ประชาธิปไตย]]นั้น มีมาตั้งแต่รัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เมื่อประมาณ ร.ศ. 103 ([[พ.ศ. 2427]]) หลังจากนั้น ได้มีการแสดงความคิดเห็นและความเคลื่อนไหวอยู่เรื่อยๆ จนนำไปสู่[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การยึดอำนาจปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศ]]ในวันที่ [[24 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2475]] โดยโดย[[คณะราษฎร]]ยึดอำนาจการปกครองจาก[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดย[[คณะราษฎร]]
 
==ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย==
 
ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย มีมาจากประชาชนใน[[ทวีปยุโรป|ยุโรป]] และ[[สหรัฐอเมริกา]] ตั้งแต่[[พุทธศตวรรษที่ 23]] การปกครองของ[[สหราชอาณาจักร|อังกฤษ]]ซึ่งค่อยๆ ดำเนินไปสู่ระบบ[[รัฐสภา]]แห่งเสรี[[ประชาธิปไตย]] โดยไม่ต้องมีการ[[ปฏิวัติ]]เสียเลือดเนื้อ การเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองของสหรัฐอเมริกาจากอังกฤษใน [[พ.ศ. 2319]] (ค.ศ. 1776) และ[[การปฏิวัติฝรั่งเศส|การปฏิวัติในประเทศฝรั่งเศส]]ใน [[พ.ศ. 2332]] (ค.ศ. 1789) หลังจากนั้นความคิดแบบประชาธิปไตยก็แพร่ขยายไปยังประเทศต่างๆ [[ประเทศไทย]]ก็ได้รับแนวความคิดเรื่องการปกครองประเทศระบอบประชาธิปไตยด้วยการติดต่อกับประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
 
การติดต่อกับต่างประเทศในสมัย[[กรุงรัตนโกสินทร์]] เริ่มตั้งแต่มีพระราชไมตรีทางการค้ากับ[[ประเทศอังกฤษ]] เมื่อ [[พ.ศ. 2367]] ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ต่อมาพวก[[มิชชันนารี]]จากสหรัฐอเมริกาเข้ามาเผยแพร่[[คริสต์ศาสนา]]ในประเทศไทย คนไทยเริ่มศึกษาภาษาอังกฤษ ศึกษาวิทยาการต่างๆ โดยเฉพาะ[[พระภิกษุ]]เจ้าฟ้ามงกุฎ กลุ่ม[[พระบรมวงศานุวงศ์]] และกลุ่มข้าราชการก็ศึกษาวิชาการต่างๆ ด้วย ดังนั้นสังคมไทยบางกลุ่มจึงได้มีค่านิยมโลกทัศน์ตามวิทยาการตะวันตก
 
เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เสด็จขึ้นครองราชย์ใน [[พ.ศ. 2394]] นั้นพระองค์ทรงตระหนักว่าถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องยอมเปิดสันติภาพกับประเทศตะวันตกในลักษณะใหม่ และปรับปรุงบ้านเมืองให้ก้าวหน้าเยี่ยงอารยประเทศ ทั้งนี้เพราะเพื่อนบ้านกำลังถูกคุกคามด้วยลัทธิจักรวรรดินิยม จึงทรงเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของไทยมาเป็นการยอมทำสนธิสัญญาตามเงื่อนไขของประเทศตะวันตก และพยายามรักษาไมตรีนั้นไว้เพื่อความอยู่รอดของประเทศ
 
ต่อมา [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงมีพระราชประสงค์อย่างแรงกล้าที่จะปฏิรูปประเทศไทยให้เจริญทัดเทียมกับประเทศตะวันตก ปัจจัยที่จะนำไปสู่จุดหมายได้คือ คน เงิน และการบริหารที่ดี ทรงมีพระราชดำริว่า หนทางแห่งความก้าวหน้าของชาติจะมีมาได้ก็ต้องอาศัยการศึกษาเป็นปัจจัย จึงทรงตั้งพระราชหฤทัยเด็ดเดี่ยวว่า เยาวชนรุ่นใหม่ทั้งของราชวงศ์และบุตรขุนนางจะต้องได้รับการศึกษาอย่างดีกว่ารุ่นพระองค์เอง ในระยะแรกอิทธิพลของประเทศตะวันตกที่มีต่อประเทศไทยคือ [[ประเทศอังกฤษ]] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ '''หม่อมเจ้าเจ๊ก นพวงศ์''' กับ'''พระยาชัยสุรินทร์ ([[หม่อมราชวงศ์เทวหนึ่ง สิริวงศ์]])''' ไปเรียนที่ประเทศอังกฤษเป็นพวกแรก นับว่าเป็นครั้งแรกที่ทรงส่งนักเรียนหลวงไปเรียนถึงยุโรป ต่อมาก็ส่งพระราชโอรสและนักศึกษาไปศึกษาวิชาทหารที่ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเดนมาร์ก และประเทศรัสเชีย ก่อนหน้านั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคัดเลือกหม่อมเจ้า 14 คน ไปเรียนหนังสือที่สิงคโปร์ 2 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2413 - พ.ศ. 2415 ในโอกาสที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2413 นั่นเป็นการเตรียมคนที่จะเข้ามาช่วยแบ่งเบาพระราชภาระในการปรับปรุงประเทศ การเตรียมปัจจัยการเงินเป็นการเตรียมพร้อมประการหนึ่ง ถ้าขาดเงินจะดำเนินกิจการใดให้สำเร็จสมความมุ่งหมายคงจะเป็นไปได้ยาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า การจัดการเงินแบบเก่ามีทางรั่วไหลมาพวกเจ้าภาษีนายอากรไม่ส่งเงินเข้า[[พระคลัง]]ครบถ้วนตามจำนวนที่ประมูลได้พระองค์จึงทรงจัดการเรื่องการเงินของแผ่นดินหรือการคลังทันทีที่พระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะ มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินเต็มที่ เริ่มด้วยให้ตราพระราชบัญญัติตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ จ.ศ. 1235 (พ.ศ. 2416) มีพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติในปี จ.ศ. 1237 (พ.ศ. 2418) เพื่อจะได้ใช้จ่ายทุนบำรุงประเทศ ต่อมาทรงให้จัดทำงบประมาณจัดสรรเงินให้แต่[[กระทรวง]]ต่างๆ เป็นสัดส่วน
 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังไม่ทรงทันได้ปรับปรุงการปกครองประเทศให้เป็นไปตามที่พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ ก็มีกลุ่มเจ้านายและข้าราชการทำหนังสือกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองราชการแผ่นดินเมื่อ ร.ศ. 103 (พ.ศ. 2427) ทั้งนี้อาจจะวิเคราะห์ได้ว่า ที่พระองค์ยังไม่ทรงปรับปรุงงบการบริหารประเทศก่อน พ.ศ. 2428 เพราะมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น คือ [[วิกฤติการณ์วังหน้า]] เมื่อ [[พ.ศ. 2417]] การที่ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ให้รวมเงินมาอยู่ที่เดียวกัน กระทบกระเทือนต่อเจ้านาย และข้าราชการ โดยเฉพาะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมหมื่นไชยชาญ วิกฤติการณ์วังหน้าเป็นเรื่องของความขัดแย้งระหว่าง[[วังหลวง]]กับ[[วังหน้า]] แสดงถึงปฏิกิริยาโต้ตอบ การริเริ่มดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางคือสถาบันกษัตริย์ เห็นได้ชัดเจน ว่าเมื่อ[[สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ]] ทิวงคต ในปี [[พ.ศ. 2428]] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปรับปรุงการบริหารการปกครองส่วนกลางเป็น 12 กรม (ต่อมาเรียกว่า กระทรวง) ในปี [[พ.ศ. 2432]]
บรรทัด 16:
ความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ได้เริ่มมีมาแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีความเคลื่อนไหวมาตลอดจนถึงวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง [[24 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2475]] แนวความคิดและความเคลื่อนไหวต่างๆ ได้แก่
 
# การเรียกร้องต้องการ[[รัฐธรรมนูญ]] ของกลุ่มเจ้านายและข้าราชการใน ร.ศ. 103
# ร่างรัฐธรรมนูญ แผ่นดินของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
# บทความเกี่ยวกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยของ[[เทียนวรรณ]]
# ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของกลุ่มกบฏ ร.ศ. 130
# แนวพระราชดำริและการเตรียมการเรื่องระบอบประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
== การเรียกร้องต้องการรัฐธรรมนูญของกลุ่มเจ้านายและข้าราชการใน ร.ศ. 103 ==
 
ร.ศ. 103 ตรงกับ [[พ.ศ. 2427]] เป็นปีที่ 17 ของการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีเจ้านายและข้าราชการ จำนวนหนึ่งที่รับราชการ ณ [[สถานทูตไทย]] ณ กรุง[[ลอนดอน|กรุงลอนดอน]] และกรุง[[ปารีส|กรุงปารีส]] ได้ร่วมกันลงชื่อในเอกสารกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103 ทูลเกล้าฯ ถวาย ณ [[วันพฤหัสบดี]] แรม 8 ค่ำ เดือน 2 [[ปีวอก]] ฉอศอ ศักราช 124 ตรงกับวันที่ 9 เดือนมกราคม พ.ศ. 2427
 
เจ้านายและข้าราชการที่จัดทำหนังสือกราบบังคมทูลความเห็นครั้งนั้น มีพระนามชื่อปรากฏอยู่ท้ายเอกสาร ได้แก่
บรรทัด 32:
# สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ ([[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์]])
# พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ([[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์]])
# นายนกแก้ว คชเสนี {(พระยามหาโยธา)
# หลวงเดชนายเวร(สุ่น สาตราภัย ต่อมาเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอภัยพิพิธ)
# บุศย์ เพ็ญกุล (จมื่นไวยวรนาถ)
# ขุนปฏิภาณพิจิตร (หุ่น)
# หลวงวิเสศสาลี (นาค)
# นายเปลี่ยน
บรรทัด 64:
# การที่จะจัดการตามข้อ 2 ให้สำเร็จ ต้องลงมือจัดให้เป็นจริงทุกประการ
 
'''ภัยอันตราย''' ที่จะมาถึงบ้านเมือง คือ ภัยอันตรายที่จะมีมาจากประเทศที่มีอำนาจมากกว่าประเทศไทย ถ้ามหาอำนาจใน[[ยุโรป]]ประสงค์ จะได้เมืองใดเป็น[[อาณานิคม]] ก็จะต้องอ้างเหตุผลว่าเป็นภารกิจของ[[ชาวผิวขาว]]ที่มีมนุษยชาติ ต้องการให้มนุษย์มีความสุขความเจริญ ได้รับความยุติธรรมเสมอกัน ประเทศที่มีการปกครองแบบเก่านอกจากจะกีดขวางความเจริญของประเทศใน[[เอเชีย]]แล้วยังกีดขวางความเจริญของประเทศที่เจริญรุ่งเรืองแล้วด้วย แล้วสรุปว่า รัฐบาลที่มีการปกครองแบบเก่าจัดการบ้านเมืองไม่เรียบร้อย เกิดอันตรายทำให้อันตรายนั้นมาถึงชาวยุโรป นับว่าเป็นช่องทางที่ชาวยุโรปจะเข้าจัดการให้หมดอันตราย และอีกประการหนึ่ง ถ้าปิดประเทศไม่ค้าขายก็จะเข้ามาเปิดประเทศค้าขายให้เกิดประโยชน์ ทั้งหมดเป็นเหตุผลที่ประเทศในยุโรปจะยึดเอาเป็นอาณานิคม
 
'''การป้องกันอันตรายที่จะบังเกิดขึ้นอยู่หลายทางแต่คิดว่าใช้ไม่ได้คือ'''
# การใช้ความอ่อนหวานเพื่อให้มหาอำนาจสงสาร [[ประเทศญี่ปุ่น]]ได้ใช้ความอ่อนหวานมานานแล้ว จนเห็นว่าไม่ได้ประโยชน์ จึงได้จัดการเปลี่ยนการบริหารประเทศให้ยุโรป นับถือ จึงเห็นว่าการใช้ความอ่อนหวานนั้นใช้ไม่ได้
# การต่อสู้ด้วยกำลังทหารซึ่งก็เป็นความคิดที่ถูกต้อง กำลังทหารของไทยมีไม่เพียงพอทั้งยังต้องอาศัยซื้ออาวุธจากต่างประเทศได้รบกันจริงๆ กับประเทศในยุโรป ประเทศในยุโรปจะยอมแพ้ทั้งประเทศอื่นๆ ที่เป็นมิตรประเทศของคู่สงครามกับประเทศไทยก็จะไม่ขายอาวุธให้ประเทศไทยเป็นแน่
# การอาศัยประโยชน์ที่ประเทศไทยมีเขตแดนติดต่อกับประเทศที่เป็นอาณานิคมของ[[ประเทศอังกฤษ]]และ[[ประเทศฝรั่งเศส]] ประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศสอาจให้ประเทศไทยเป็นรัฐกันชน (Buffer State) และก็คงให้มีอาณาเขตแดนเพียงเป็นกำแพงกั้นระหว่างอาณานิคมประเทศไทยก็จะเดือดร้อนเพราะเหตุนี้
# การจัดการบ้านเมืองเพียงเฉพาะเรื่อง ไม่ได้จัดให้เรียบร้อยตั้งแต่ฐานราก ไม่ใช่การแก้ปัญหา
# สัญญาทางพระราชไมตรีที่ทำไว้กับต่างประเทศ ไม่เป็นหลักประกันว่าจะคุ้มครองประเทศไทยได้ ตัวอย่างที่สหรัฐอเมริกาสัญญาจะช่วยประเทศจีนครั้นมีปัญหาเข้าจริง[[สหรัฐอเมริกา]]ก็มิได้ช่วย และถ้าประเทศไทยไม่ทำสัญญาให้ผลประโยชน์แก่ต่างประเทศ ประเทศนั้นๆ ก็จะเข้ามากดขี่ให้ประเทศไทยทำสัญญาอยู่นั่นเอง
# การค้าขายและผลประโยชน์ของชาวยุโรปที่มีอยู่ในประเทศไทย ไม่อาจช่วยคุ้มครองประเทศไทยได้ถ้าจะมีชาติที่หวังผลประโยชน์มากขึ้นมาเบียดเบียน
# คำกล่าวที่ว่า ประเทศไทยรักษาเอกราชมาได้ก็คงจะรักษาได้อย่างเดิม คำกล่าวอย่างนั้นใช่ไม่ได้ในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งเป็นเวลาที่ประเทศในยุโรปกำลังแสวงหาเมืองขึ้นและประเทศที่ไม่มีความเจริญก็ตกเป็นอาณานิคมไปหมดแล้ว ถ้าประเทศไทยไม่แก้ไขก็อาจจะเป็นไปเหมือนกับประเทศที่กล่าวมา
บรรทัด 86:
# ข้าราชการทุกระดับชั้นต้องเลือกเอาคนที่มีความรู้ มีความประพฤติดี อายุ 20 ขึ้นไป ผู้ที่เคยทำชั่วถูกถอดยศศักดิ์ หรือเคยประพฤติผิดกฎหมาย ไม่ควรรับเข้ารับราชการอีก และถ้าได้ ข้าราชการที่รู้[[ขนบธรรมเนียม]][[ยุโรป]]ได้ยิ่งดี
 
ในข้อเสนอนั้นได้ระบุว่า “ทางที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบบังคมทูลพระกรุณาว่าเป็น คอนสติติวชั่นยุโรปนั้นหาได้ประสงค์ที่จะมีปาลิเมนต์ในเวลานี้ไม่หมายความผู้เสนอขอให้มี[[รัฐธรรมนูญ]] (Constitution) ยังไม่ได้ต้องการรัฐสภา (Parliament) เหมือน “ดังกรุงอังกฤษฤาอเมริกา” ซึ่งอำนาจและความผิดชอบอยู่ในเนื้อมือ[[ราษฎร]]ทั้งสิ้นให้มี “เคาเวอนเมนต์ และกำหนดกฎหมายความยุติธรรมอันแน่นอน” หมายถึงให้มีคณะรัฐบาล(Government) ซึ่งประกอบด้วยเสนาบดีหรือรัฐมนตรีพร้อมทั้งมีกฎหมายที่ให้ความยุติธรรม ่
 
[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงมีพระราชดำรัสตอบ ความเห็นของคณะที่กราบบังคมทูลจะให้เปลี่ยนแปลงการปกครองว่า พระองค์ทรงตระหนักในอันตรายที่กล่าวมานั้นและไม่ต้องห่วงว่าพระองค์จะทรง “ขัดขวางในการที่จะเสียอำนาจซึ่งเรียกว่า แอบโซลูด” พระองค์ทรงกล่าวต่อไปว่าเมื่อพระองค์ทรงครองราชสมบัติใหม่ๆ ทรงไม่มีอำนาจอันใดเลย ขณะพระองค์ทรงมีอำนาจบริบูรณ์ ในเวลาที่ทรงมีอำนาจน้อย ก็มีความลำบาก เวลานี้มีอำนาจมากก็มีความลำบาก พระองค์จึงทรงปรารถนาอำนาจปานกลาง ได้ทรง[[ครองราชย์]]มาถึง 17-18 ปี ได้ทรงศึกษาเหตุการณ์บ้านเมืองอื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่เหมือนคางคกในกะลาครอบหรือทรงอยู่เฉยๆ ไม่ได้ทรงทำอะไรเลย ที่เรียกร้องให้มีรัฐบาล (คอเวอนเมนต์) ก็มีเสนาบดีเป็นรัฐบาลแล้ว แต่ยังไม่ดี สิ่งที่พระองค์ทรงต้องการคือ “คอเวอนเมนตรีฟอม” หมายถึงให้พนักงานของราชการแผ่นดินทุกๆ กรมทำการให้ได้เต็มที่ ให้ได้ประชุมปรึกษากัน ติดต่อกันง่ายและเร็ว อีกประการหนึ่งทรงหาผู้ทำกฎหมายสละที่ปรึกษากฎหมายการกระทำทั้งสองประการต้องได้สำเร็จก่อน การอื่นๆ ก็จะสำเร็จตลอด
 
แท้จริงแล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราโชบายที่จะทรงปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินมาตั้งแต่พระองค์ทรงมีอำนาจในการปกครองอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ ใน พ.ศ. 2417 ได้ทรงสถาปนาสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์เป็นองค์กรใหม่ช่วยบริหารประเทศ โดยทรงมีพระราชดำริว่า “ราชการบ้านเมืองที่จะเกิดขึ้นใหม่และที่คั่งค้างมาแต่เดิมนั้น ไม่สามารถที่จะทรงจัดการให้สำเร็จโดยลำพังพระองค์เอง” ถ้ามีผู้ช่วยกัน คิดหลายปัญญาแล้ว การที่รกร้างมาแต่เดิม ก็จะปลดเปลื้องไปทีละน้อยๆ ความดีความเจริญก็ยังเกิดแก่บ้านเมือง... สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) มีสมาชิกเป็นผู้มี[[บรรดาศักดิ์]]ชั้นพระยา 12 นาย ทำหน้าที่ประชุมปรึกษาข้อราชการและออกพระราชกำหนดกฎหมายตามพระบรมราชโองการ หรืออาจจะกราบบังคมทูลเสนอความคิดเห็นในการออกกฎหมายใหม่ ส่วนสภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) สมาชิกของสภานี้คือ [[พระบรมวงศานุวงศ์]] และข้าราชการระดับต่างๆ มี 49 นาย ทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาข้อราชการ และเสนอความคิดเห็นต่างๆ ซึ่งอาจจะนำไป อภิปรายในสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน แต่ปรากฏว่าสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์ไม่ได้มีผลงานหรือจะเรียกว่าประสบความล้มเหลว สมาชิกทั้งสอง[[สภา]]ไม่ค่อยได้แสดงความคิดเห็นตามวิถีทางอันควร อาจเป็นเพราะขาดความรู้ความสามารถ และหรือไม่กล้าที่จะออกความคิดเห็นซึ่งไม่ใช่ลักษณะที่เคยทำมาก่อน
บรรทัด 183:
''สักสิ่งหนึ่งเป็นแน่แท้ที่เดียว คงจะเถียงกันป่นปี้ไปเท่านั้น''</div>
 
จากพระบรมราชธิบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของพระองค์ว่า ประเทศไทยยังไม่พร้อมที่จะมีการปกครองตามระบอบรัฐสภา พระองค์จึงไม่ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองให้มี[[รัฐสภา]]และมี[[รัฐธรรมนูญ]] แต่พระองค์ก็ทรงยอมรับว่า การปกครองของประเทศจะต้องเปลี่ยนไปในทางที่จะมีรัฐสภาและรัฐธรรมนูญในภายหน้า ถึงกับมีพระราชดำรัสในที่ประชุมเสนาบดีว่า "ฉันจะให้ลูกวชิราวุธมอบของขวัญให้แก่พลเมืองไทยทันทีที่ขึ้นสู่ราชบัลลังก์กล่าวคือ ฉันจะให้เขามีปาลิเมนต์และคอนสติติวชั่น"
 
== ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของกลุ่มกบฎ ร.ศ. 130 ==
เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พ.ศ. 2453 นั้นกลุ่มปัญญาชนต่างก็มุ่งหวังว่า พระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษซึ่งมีการปกครองในระบอบ[[ประชาธิปไตย]] และคงได้ทรงเตรียมพระองค์ดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสไว้ แต่ปรากฏว่ายังไม่มีพระราชดำริในเรื่องรัฐสภาและรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ในเวลาเดียวกัน[[ประเทศจีน]]มีการปฏิวัติล้มล้าง[[ราชวงศ์แมนจู]] เปลี่ยนการปกครองประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นผลสำเร็จ ทำให้ความคิดอยากจะได้ประชาธิปไตยมีมากขึ้น ประกอบกับความไม่พอใจในพระราชจริยาวัตรบางประการของ[[พระมหากษัตริย์]]พระองค์ใหม่ จึงทำให้เกิดปฏิกิริยาที่จะล้มล้างระบอบการปกครอง
 
ดังนั้น เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็คือ พวกนาย[[ทหารบก]] [[ทหารเรือ]] และพลเรือน รวมประมาณ 100 คน เรียกตัวเองว่า คณะ ร.ศ. 130 ได้วางแผนการปฏิวัติการปกครองหวังให้พระมหากษัตริย์พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชนชาวไทยคณะ ร.ศ. 130 นั้น ถ้าจะพิจารณารายชื่อกันแล้วส่วนใหญ่เป็นนายทหารบก ทหารเรือและพลเรือน รวมประมาณ 100 คน เรียกตัวเองว่า คณะ ร.ศ. 130 ได้วางแผนการปฏิวัติการปกครอง หวังให้[[พระมหากษัตริย์]]พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชนชาวไทยคณะ ร.ศ. 130 นั้น ถ้าจะพิจารณารายชื่อกันแล้วส่วนใหญ่เป็นนายทหารบก อายุน้อย เพิ่งสำเร็จการศึกษาใน ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2451) หัวหน้าคณะได้แก่ นายร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์)อายุ 28 ปี อายุคนอื่นๆ เช่น นายร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์ เพียง 18 ปี นายร้อยตรีเนตร พูนวิวัฒน์ อายุ 19 ปี เป็นต้น คณะ ร.ศ. 130 ได้กำหนดวันปฏิวัติเป็นวันที่ 1 เมษายน [[พ.ศ. 2455]] อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยสมัยนั้น ซึ่งจะมีพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล ใน[[พระอุโบสถ]][[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] แต่คณะก่อการคณะนี้ได้ถูกจับกุมเสียก่อนเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ [[พ.ศ. 2454]] เพราะผู้ร่วมงานคนหนึ่งคือนายร้อยเอก หลวงสินาคโยธารักษ์ นำความลับไปทูลหม่อมเจ้า พันธุประวัติผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งก็ได้กราบทูลสมเด็จเจ้าฟ้า[[กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ]]ให้ทรงทราบและดำเนินการจับกุมด้วยพระองค์เอง คณะ ร.ศ. 130 ถูกศาลทหารพิพากษาให้ประหารชีวิต 3 คน จำคุกตลอดชีพ 20 คน และจำคุกนานลดหลั่นกันตามความผิด โทษที่น้อยคือจำคุกมีกำหนด 12 ปี ในข้อหาว่าจะเปลี่ยนแปลงราชประเพณีการปกครองของพระราช[[อาณาจักร]]และทำการกบฎประทุษร้ายพระเจ้าแผ่นดิน แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า ความผิดของพวกเขาเหล่านี้มี "ข้อสำคัญที่จะกระทำร้ายต่อตัวเรา เราไม่ได้มีจิตพยาบาทอาฆาตมาดร้ายต่อพวกนี้ เห็นควรที่จะลดหย่อนผ่อนโทษโดยฐานกรุณา ซึ่งเป็นอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินจะยกให้ได้" ดังนั้น ผู้ที่มีชื่อถูกประหารชีวิต 3 คน จึงได้รับการลดโทษลงมาเป็นจำคุกตลอดชีวิต และผู้ที่มี่ชื่อถูกจำคุกตลอดชีวิต 20 คนให้ลดโทษลงมาเหลือจำคุก 20 ปี อีก 68 คนซึ่งมีโทษจำคุกต่างๆ กันนั้น ให้รอการลงอาญาไว้ (ใน [[พ.ศ. 2467]] นักโทษการเมืองทั้ง 23 คนได้ถูกปล่อยตัวหมด)
 
สาเหตุของการคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นเพียงขบวนเล็กน้อย คือในปลาย พ.ศ. 2452 ได้มีการโบยหลังนายทหารสัญญาบัตรกลางสนามหญ้า ภายใน[[กระทรวงกลาโหม]]ท่ามกลางวงล้อมของนายทหารกองทัพบก ด้วยการบัญชาการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทั้งนี้เพราะนายร้อยเอกโสม ได้ตามไปตีมหาดเล็กของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ที่มาทะเลาะวิวาทกับทหารบกที่หน้ากรมทหาร การโบยหลังนายร้อยเอกโสม ทำให้เกิดปฏิกิริยาเกิดขึ้นในหมู่ทหารบก และโดยเฉพาะนักเรียนนายร้อยทหารบก ครั้นต่อมา ใน [[พ.ศ. 2453]] – 2454 นายทหารรุ่นที่จบจากโรงเรียนนายทหารบกในปลาย ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452) ได้เข้ารับราชการประจำกรมกองต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักรแล้ว มีหลายคนที่เกิดความรู้สึกสะเทือนใจอย่างแรงกล้าจากการตั้ง "กองเสือป่า" คิดว่าพระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงสนับสนุนกิจการทหารบก และคิดต่อไปว่าการที่ประเทศไทยไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควรเพราะเป็นการปกครองด้วยคนคนเดียว นายทหารบกกลุ่มนี้คิดเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มการปฏิรูปประเทศพร้อมๆ กัน แต่เหตุใดประเทศญี่ปุ่นจึงเจริญเกินหน้าประเทศไทยไปไกล คำตอบที่นายทหารบกกลุ่ม ร.ศ. 130 คิดได้คือประเทศญี่ปุ่นได้เปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตยใต้กฎหมาย ทั้งยังปลูกฝังให้พลเมืองรู้จักรักชาติ รักวัฒนธรรม รัฐบาลรู้จักประหยัดการใช้จ่ายในไม่ช้าก็มีการค้าไปทั่วโลก มีผลิตผลจากโรงงานอุตสาหกรรมของตนเอง มีการคมนาคมทั้งทางน้ำและทางบกภายในประเทศและนอกประเทศ และแผ่อิทธิพลทางการเมือง การทหาร การสังคมและวัฒนธรรมไปทั่วโลกได้อีกด้วย แต่ประเทศไทยไม่สามารถจะหยิบยกภาวะอันใดที่เป็นความเจริญก้าวหน้ามาเทียบเคียงกับประเทศญี่ปุ่นได้เลย เมื่อคำนึงถึงความล้าหลังของประเทศ และคิดว่าไม่ควรที่อำนาจการปกครองประเทศชาติจะอยู่ในมือของคนคนเดียว จึงทำให้นายทหารบกคิดปฏิวัติ
 
แผนการปฏิวัตินั้น จะขอเพียงว่าให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเล้าเจ้าอยุ่หัวทรงยอมยกตำแหน่งมาอยู่ใต้กฎหมายสูงสุดคือ [[รัฐธรรมนูญ]] เช่นเดียวกับ[[ประเทศญี่ปุ่น]] และได้วางแผนกันต่อมา ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงยินยอม ก็จะทูลเชิญเจ้านายในพระ[[ราชวงศ์จักรี]]ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนแรกแห่งสาธารณรัฐไทย บรรดานายทหารบกคิดจะทูลเชิญ[[กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ|สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ]]ทรงเป็น[[ประธานาธิบดี]] พวกทหารเรือก็คิดว่าควรจะเป็น[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์]] เป็นต้น การดำเนินงานตามแผนเน้นจะใช้เวลาถึง 10 ปีเพื่อจะได้มีเวลาสอนทหารเกณฑ์ทุกรุ่นในช่วงเวลานั้น รอให้ทหารเกณฑ์ได้แยกย้ายกันไปประกอบอาชีพตามภูมิลำเนาทั่วประเทศ และได้อบรมสั่งสอนลูกหลานในทำนองเดียวกัน อีกประการหนึ่งก็เพื่อให้ผู้คิดเปลี่ยนแปลงการปกครองได้มีวัยวุฒิ และคุณวุฒิเพิ่มขึ้น คือมีอายุ และตำแหน่งในหน้าที่การงานสูงขึ้น ความสามารถและความสุจริตจะได้เป็นหลักประกันความมั่นคงของชาติให้มหาชนเชื่อถือได้
 
อุดมการณ์ของคณะ ร.ศ. 130 เป็นอุดมการณ์ของคนหนุ่มซึ่งส่วนมากเพิ่งสำเร็จการศึกษามีความห่วงใยในอนาคตของประเทศชาติ แต่ก็นับว่าเป็นผลผลิตของการศึกษาแผนใหม่แบบตะวันตกซึ่งเริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกนักเรียนนายร้อยทหารบกได้รับการสั่งสอนเรื่องระบอบการปกครองและลัทธิจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถและ[[พระยาเทพหัสดิน]] (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) และได้วิพากษ์วิจารณ์กันในห้องเรียนถึงลัทธิที่ดีและไม่ดี ถึงแม้ว่าคณะ [[คณะ ร.ศ. 130]] จะประสบความล้มเหลวในการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ตามแต่ก็นับได้ว่าเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีส่วนในการริเริ่ม และวางรากฐานความคิดที่จะมีการปกครองตามระบอบรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยในประเทศไทย ซึ่งต่อมาการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน [[พ.ศ. 2475]] ได้กระทำสำเร็จก็เป็นคณะปฏิวัติที่มาจากทหารบกอีกเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าเป็นอิทธิพลทางความคิดที่ต่อเนื่องกัน
 
== แนวพระราชดำริและการเตรียมการเรื่องระบอบประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ==
บรรทัด 203:
สิ่งที่พระองค์ทรงทำได้ในขณะนั้นก็คือทรงใช้วิธีการปลูกฝังความรู้สึกชาตินิยมให้ประชาชนมีความสามัคคี รักชาติ และจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ ด้วยการพระราชนิพนธ์ต่างๆ เป็นบทความลงหนังสือพิมพ์ บทละครทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง และพระราชดำรัสในวโรกาสต่างๆ เน้นถึงความเหมาะสมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชต่อสภาพของเมืองไทย
 
ใน พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดโครงการเมืองทดลองเรียกว่า [[ดุสิตธานี]] ซึ่งมีลักษณะเป็นเมืองตุ๊กตา มีบ้านเล็กๆ และถนนที่ย่อส่วน แล้วโปรดเกล้าฯ ให้เลือกมหาดเล็กและข้าราชการเป็นเจ้าของบ้านสมมุติในดุสิตธานี ดุสิตธานีอยู่ในบริเวณสนามเนื้อที่สองไร่ครึ่งระหว่างพระที่นั่งอุดรและอ่าง[[หยก]]ในบริเวณพระราชวังดุสิต พระราชดำริที่จะให้ดุสิตธานีเป็นก้าวแรกของการเตรียมตัวเพื่อการปกครองตนเองของราษฎร ดังพระราชดำรัสในวันเปิดศาลารัฐบาลของดุสิตธานีว่า
 
<div style="text-align: center;">''การงานฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายนคราภิบาลก็ถ่ายแบบมาจากของจริง''
บรรทัด 276:
จะเห็นได้ว่า การจัดตั้งสภากรรมการองคมนตรี ตลอดจนวิธีการประชุมมีลักษณะคล้าย สภาผู้แทนราษฎรในระบอบ[[ประชาธิปไตย]] เพียงแต่จะไม่ได้รับการเลือกตั้งจากราษฎรโดยตรง ในทางปฏิบัติ สภากรรมการองคมนตรีประสบความล้มเหลวที่จะเข้ามามีบทบาททางการเมืองตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ ผลงานของสภามีเพียงพิจารณาร่าง[[พระราชบัญญัติ]]ตาม[[พระบรมราชโองการ]]เท่านั้น และเวลาในการที่จะประชุมถกเถียงกันก็มีน้อย สมาชิกขาดประชุมและไม่กระตือรือร้นในการปฏิบัติงานเท่าที่ควร
 
ในระหว่างที่[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]กำลังทรงแสวงหาแนวทางอยู่นั้น การแสดงความคิดเห็นในหน้า[[หนังสือพิมพ์]]เรื่องประชาธิปไตยมีมากขึ้น เช่นใน[[บางกอก]]การเมือง ผู้ใช้นามว่า พระจันทร เขียนว่าไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ยังคงใช้การปกครองในระบอบพระราชาอยู่เหนือกฎหมาย ราษฎรไม่มีเสียงเลยในการปกครองซึ่งทำให้คนมีเงินได้เปรียบคนจน แล้วยกตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาว่ามีการปกครองแบบรีปับลิค ซึ่งเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทำให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วจนเป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดภายหลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 1]] สิ้นสุดลง
 
ส่วนหนังสือพิมพ์ สยามรีวิว ได้ลงพิมพ์บทความเรื่อง “ราษฎรตื่นแล้ว” โดยเสนอว่าการเปลี่ยนแปลงจะต้องใช้ความรุนแรง และยกตัวอย่างกรณีพระเจ้าชาร์นิโคลาสแห่งรัสเซียถูกปลงพระชนม์ รัฐบาลสมัยนั้นได้ทำการสอบสวนหนังสือพิมพ์ สยามรีวิว และก็สั่งปิดหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น
บรรทัด 284:
ความกดดันจากหนังสือพิมพ์ ทำให้[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]มีพระราชดำริที่จะให้เตรียมตัวประชาชนทั่วไปให้มีความรู้พอสมควรที่จะมีระบอบรัฐสภาได้อย่างมีประสิทธิภาพ พระราชดำริของพระองค์ คือให้มี “Municipal Council”([[สภาเทศบาล]]) “Local Government” ([[การปกครองท้องถิ่น]]) เป็นการสอนให้ประชาชนรู้จักการปกครองตนเองตั้งแต่ระดับท้องถิ่น นับเป็นการเตรียมการในการปูพื้นฐานประชาธิปไตยระดับฐานราก เรื่องนี้ได้มีกรรมการร่างพระราชบัญญัติเทศบาลเสร็จในปี [[พ.ศ. 2473]] แต่ก็มิได้มีผลในทางปฏิบัติแต่อย่างใด
 
ต่อมาพระราชดำริของ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] คือเตรียมการจะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนชาวไทย จึงทรงมอบหมายให้[[กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย]] เสนาบดีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้ศึกษาระบบการปกครองแบบมีผู้แทนที่[[ประเทศเนเธอร์แลนด์]]จัดใน[[ชวา]]ในคราวที่[[กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย]]ตามเสด็จประพาส[[ชวา]]ใน [[พ.ศ. 2472]] ต่อมาในเดือน[[เมษายน]] [[พ.ศ. 2474]] พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อรักษาพระเนตร นักข่าวของหนังสือพิมพ์[[นิวยอร์กไทม์]] ชื่อ นายแฮโรลด์ เคนนี ได้รับพระราชทานโอกาสให้สัมภาษณ์ในวันที่ [[27 เมษายน]] [[พ.ศ. 2474]] มีข้อความว่า พระองค์จะทรงจัดให้มีการปกครองระดับท้องถิ่นก่อนเพื่อเป็นการให้การศึกษาและฝึกการปกครองในระบบผู้แทนในระดับรากฐาน
 
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จนิวัติกลับสู่[[พระนคร]]แล้ว ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2474 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) ปลัดทูลฉลอง[[กระทรวงต่างประเทศ]] ผู้สำเร็จเนติบัณฑิตจากประเทศอังกฤษ และนายเรมอนด์ บีสตีเวนส์ (Raymond B. Stevens) ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ ผู้สำเร็จวิชากฎหมายจาก[[มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด]] เคยเป็นผู้แทนราษฎรรัฐนิวแฮมเชียร์ สังกัดพรรคดีโมแครต รองประธานการเดินเรือแห่ง[[สหรัฐ]]และเป็นผู้แทนอเมริกันในสภาการขนส่งทางทะเลของฝ่ายสัมพันธมิตรใน[[สงครามโลกครั้งที่ 1]] ทั้ง 2 ท่านนี้เป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
บรรทัด 300:
ประเทศไทยมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีความเคลื่อนไหวจากกลุ่มข้าราชการและประชาชนให้มีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ความคิดที่จะให้มีการปกครองในแนวประชาธิปไตยนี้ ได้รับอิทธิพลจากชาวตะวันตก สืบเนื่องจากประเทศไทยได้มีการติดต่อกับชาวตะวันตกตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา
 
การติดต่อกับต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศทางยุโรป นับว่าเป็นความจำเป็น มหาอำนาจตะวันตกได้แข่งขันกันแสวงหา[[อาณานิคม]]ใน[[เอเชีย]] โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านของไทยได้ตกเป็นอาณานิคมของ[[ประเทศอังกฤษ]]และ[[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]] ดังนั้น พระบรมวิเทโศบายของ[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] จึงทรงเน้นหนักไปในทางผูกมิตรกับมหาอำนาจตะวันตกและประเทศในยุโรปอื่นๆ พร้อมกับเร่งศึกษาวิทยาการของชาวตะวันตก เพื่อจะได้ปรับปรุงประเทศให้เป็นแบบอารยประเทศ จากการได้ศึกษาวิทยาการของ[[ชาวตะวันตก]] ทำให้กลุ่มข้าราชการและประชาชนได้รู้เรื่อง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ด้วยความรักชาติและประสงค์จะให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองเหมือนประเทศที่ได้ปรับปรุงการบริหารประเทศแล้ว เช่น [[ประเทศญี่ปุ่น]] กลุ่มข้าราชการ และประชาชนที่ได้รับการศึกษาหรือได้ไปศึกษาดูงานวิทยาการแบบตะวันตก จึงกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายปกครองประเทศ นอกจากข้อเสนอคำกราบบังคมทูลของกลุ่มเจ้านาย ข้าราชการ ใน [[ร.ศ. 103]] แล้ว ยังมีนักหนังสือพิมพ์คือ เทียนวรรณ ได้เสนอความคิดและอุดมการณ์ประชาธิปไตย ในหน้าหนังสือพิมพ์ เห็นว่าควรมีรัฐสภา [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ]]ทรงมีพระราชดำริเห็นด้วยกับการที่จะมีการปกครองแบบ[[รัฐสภา]] และมีรัฐธรรมนูญแต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจเรื่องรัฐสภาและรัฐธรรมนูญ แม้แต่ข้าราชการของพระองค์บางกลุ่มก็ยังไม่ได้แสดงว่าเข้าใจในระบอบการปกครองประชาธิปไตยนั้น ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงปกครองพระเทศชาติด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ก็ได้ทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการแผ่นดินสอดคล้องกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศในยุโรป
 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีแนวพระราชดำริในเรื่องการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เหมือนกับสมเด็จพระบรมชนกนาถ จึงเป็นเหตุให้กลุ่มนายทหารบกชั้นผู้น้อยทำการปฏิวัติการปกครอง แต่ไม่สำเร็จ จึงได้รับสมญานามว่า กบฎ [[กบฎ ร.ศ. 130]] [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงมีพระบรมราโชบายเน้นหนักทางลัทธิชาตินิยม ให้รักชาติ มีความสามัคคี โดยเฉพาะเน้นในเรื่องการจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์
 
ต่อมาในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ถึงแม้ว่าพระองค์จะยังไม่ทรงเห็นด้วยที่จะให้ประชาชนมีการปกครองตนเองตามระบอบรัฐธรรมนูญ แต่พระองค์ทรงทราบในพระราชหฤทัยดีว่า ถึงเวลาที่จะต้องพระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยขึ้น หนังสือพิมพ์ใช้ถ้อยคำรุนแรงเมื่อพูดถึงเจ้าซึ่งมีฐานะเหนือประชาชนธรรมดา พระองค์จึงทรงเตรียมการให้ผู้ที่มีความสามารถร่างรัฐธรรมนูญ และทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะพระราชทานรัฐธรรมนูญแด่ประชาชนชาวไทยในวันที่ [[6 เมษายน]] [[พ.ศ. 2475]] ซึ่งเป็นวันครบรอบ 150 ปี ของการสถาปนา[[กรุงรัตนโกสินทร์]]เป็น[[ราชธานี]] จากการที่คณะอภิรัฐมนตรีเห็นว่าควรยืดระยะเวลาการพระราชทานรัฐธรรมนูญออกไปอีก เพราะประชาชนยังไม่พร้อมที่จะอยู่ในการปกครองระบอบ[[รัฐธรรมนูญ]] พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงยับยั้งการพระราชทานรัฐธรรมนูญไว้ การที่พระองค์ทรงลังเลพระราชหฤทัย จึงทำให้คณะราษฎรซึ่งได้เตรียมการไว้แล้วปฏิวัติยึดอำนาจปกครองในวันที่ [[24 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2475]]
 
== อ้างอิง ==