ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:สุขพินทุ/กระบะทราย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สุขพินทุ (คุย | ส่วนร่วม)
th
ป้ายระบุ: เพิ่มยูอาร์แอล wikipedia.org
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:00, 15 สิงหาคม 2557

แม่แบบ:Expand language/pigment

ฺBress Gun (Siamese) 1623[1]

ปืนใหญ่ หมายถึง อาวุธปืนที่มีความกว้างปากลำกล้องตั้งแต่ 20 มิลลิเมตรขึ้นไป โดยมีระยะยิงกลางถึงไกล มีอำนาจทำลายล้างสูง ใช้การยิงหัวกระสุนด้วยแรงดันจากการเผาไหม้ดินส่งกระสุนให้เกิดก๊าซจนเคลื่อนที่ออกไป โดยสามารถทำการยิงได้ทั้งแนววิถีราบหรือวิถีโค้ง โดยภายในหัวกระสุนจะบรรจุวัตถุระเบิดและตัวจุดชนวน เมื่อหัวกระสุนตกกระทบเป้าหมายจะเกิดการระเบิดสร้างความเสียหายอย่างรุนแรง

ปืนใหญ่ในประเทศไทย

ปืนใหญ่ในประเทศไทยนั้นนำมาใช้เป็นเวลาช้านานแล้ว หนังสือวิวัฒนาการแห่งศัสตราวุธในกองทัพบกไทย[2] ว่า มีการใช้ปืนใหญ่สมัยสุโขทัย ชวาเก็บปืนใหญ่ไทยจำนวน 2 กระบอกจากการรบกับพวกมัชฌปาหิตในสงครามตีเมืองชวาประมาณ พ.ศ. 1857 และมีบันทึกในพระราชพงศาวดาร[3]ว่า ในสมัยสมเด็จพระราเมศวร กองทัพอยุธยาใช้ปืนใหญ่ยิงกำแพงเมืองเชียงใหม่พังไป 5 วา[4] กฎหมายสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก็กล่าวถึงหน่วยทหารปืนใหญ่เช่นกัน[5] อนึ่ง หลังจากที่โปรตุเกสเดินทางเข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ก็เริ่มมีการซื้อปืนใหญ่ของโปรตุเกสเข้ามาประจำการในกองทัพไทย

อย่างไรก็ตาม การหล่อปืนใหญ่ของของไทยนั้นมีคุณภาพดีเป็นที่เลื่องลือมาก โชกุนโทะกุงะวะ อิเอะยะสุเคยส่งสารมาทูลขอพระราชทานปืนใหญ่และไม้หอมจากสมเด็จพระเอกาทศรถ นอกจากนี้ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ได้ทรงส่งปืนใหญ่ 2 กระบอก[6]ที่ผลิตในไทยไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และได้มีบันทึกต่อมาว่า ปืนสองกระบอกนี้เองใช้ยิงทลายประตูคุกบาสตีย์[7][8] ปัจจุบัน ปืนคู่นี้ตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์ทหารบกฝรั่งเศส[6]


อ้างอิง

ไฟล์:Phỵā tānī.jpg
ภาพถ่ายปืนใหญ่ ตึกกระทรวงกลาโหม
  1. THE“ SIAMESE BRASS CANNON ” R.S. Scrivener
  2. หนังสือวิวัฒนาการแห่งศัสตราวุธในกองทัพบกไทย หน้า 62 
  3. พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม ศักราช ๗๔๖ ปีชวด ฉศก
  4. ปืนใหญ่ประเภทต่าง ๆ ข้อมูลโดยพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ  
  5. เหล่าสนับสนุนการรบ (Artillery Corps). กำเนิดเหล่าทหารปืนใหญ่ของไทย หน้า 3
  6. 6.0 6.1 หนังสือมองประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านศัสตราวุธ หน้า 79
  7. Chapter VI. Storm and Victory. July 14th, 1789. ย่อหน้า ที่ 6
  8. A propos des canons siamois offerts à Louis XIV qui participèrent à la prise de la Bastille. ect. ( แผ่นที่ 5 )

แม่แบบ:Link FA

บทความ ธรรมบท

ธรรมบท คือ พุทธพจน์ในรูปบทกวี[1] มีหัวข้อธรรมชั้นสำคัญรวบรวมเป็นหมวดหมู่ ธรรมบท หรือ ธมฺมปท เป็นเทศนาประเภทร้อยกรองของพระพุทธเจ้า ทรงแสดงแก่บุคคลตั้งแต่บรรพชิต คฤหัสถ์ นักปราชญ์ ตลอดชาวบ้านธรรมดา กระทั่งเด็กเล็ก ๆก็มีเนื้อหาการแสดงธรรมะ ธรรมบทมีทั้งหมด 423 คาถา แบ่งเป็น 26 วรรค นับเป็นหัวใจหรือสรุปคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นพระคัมภีร์บาลี คัมภีร์แรกที่ได้รับการแปลถ่ายทอดเป็นภาษาต่างประเทศมากที่สุด ธรรมบท ใช้เป็นหลักสูตรของพระสงฆ์ชั้นประโยค 3 - 6 ประโยค โดยเรียนควบคู่กับอรรถกถา ชื่อ " ธัมมปทัฏฐกถา " แต่งโดยพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ 10 ธรรมบท มีลักษณะพิเศษ [2] สอนให้คิดเปรียบเทียบเป็นอุปมาอุปไมยดัดแปลงให้เป็นประโยชน์ เมื่อฝึกฝนตามข้อคิดจะได้บรรลุอรหันต์

หนังสือธรรมบท

หนังสือธรรมบทเป็นหนังสือที่รู้จักกันดี นิยมกันอย่างแพร่หลาย เริ่มมาจากภาษาบาลีในพระไตรปิฎก, ซึ่งเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ชื่อขุทกนิกาย ธรรมบท เป็นคำสอนที่ครอบคลุมทุกหลักการ เป็นคัมภีร์ที่นักปราชญ์มุ่งหมายให้ผู้คนทุกชั้นแปล เพื่อจุดมุ่งหมายของตนทางจิตใจ การแปลพระคัมภีร์ เป็นการนำเสนอ สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน การแปลเป็นฉบับตัวอย่าง ดังเช่น ฉบับของท่านขันติปาโล ภิกขุ ชาวอังกฤษ พระนารทเถระ แห่งศรีลังกา และศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิตไทย ก็อยู่ในทำเนียบผู้แปลที่สำคัญ ดังเป็นที่ทราบกันถึงประวัติ ว่าหนังสือธรรมบทเป็นบทร้อยกรองระดับคลาสสิคในวงวรรณกรรมทางศาสนา


ตัวอย่างการแปลธรรมบท บทที่ ๑
ไฟล์:THE DHAMMAPADA.ogg
th-Pali dhammapada บทที่ 1-2
๑. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
มโนเสฎฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปทุฎฺเฐน
ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ
จกฺกํว วหโต ปทํ ฯ ๑ ฯ [ขุทกนิกาย]. — ธรรมบท
 
Ṭhānissaro Bhikkhu
I. Phenomena are preceded by the heart,ruled by the heart,made of the heart.
If you speak or act
with a corrupted heart,
then suffering follows you —
as the wheel of the cart,the track of the ox
that pulls it. [Ecclesiastical writer]. — ธรรมบท
 
Sathienpong Wannapok
บทที่ 1. Mind foreruns all mental conditions,
Mind is chief, mind-made are they;
If one speak or acts with a wicked mind,
Then suffering follows him
Even as the wheel the hoof of the ox. [Secular writer]. — ธรรมบท




บทความ มูซาชิ

มูซาชิ[1] เป็นนวนิยายญี่ปุ่น ที่ประพันธ์โดยเอจิ โยะชิกะวะ

หนังสือเรื่องมูซาชิ เล่าว่า มูซาชิเป็นบุตรของนักรบที่เกิดในเขต ฮาริมา มีชื่อเดิมว่า ทาเกโซ เกิดในตระกูล ชินเม็ง เหตุการณ์การต่อสู้ในท้องทุ่งพิฆาต เซกิงาฮารา กลับกลายและเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา ชื่อที่เป็นที่รู้จักของเขาคือ มิยาโมโต้ มูซาชิ (宮元武蔵)[2] เขาเป็นนักดาบที่มีชื่อเสียง ถึงกระทั่งบั้นปลายของชีวิตก็บรรลุผลสูงสุด ด้วยการเป็นครูทางจิตใจ มูซาชิ เป็นนักต่อสู้ธรรมดา ที่ต่อสู้เพื่อชนะ แต่ชีวิตของเขาเป็นทั้งเรื่องจริง ทั้งเป็นนิยายอย่างยิ่ง ที่ระดับวรรณกรรม และระดับโลก มูซาชิผ่านการต่อสู้ด้วยการเอาชีวิตเป็นเดิมพันมากกว่า 60 ครั้ง เขามีความสามารถที่จะรบชนะ และมีความสูงสุดในวิชาการต่อสู้มากกว่าความเชี่ยวชาญในวิชาคัมภีร์ดาบแบบเก่า นิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องมูซาชิ ในภาษาไทย ประชาชนให้ความรู้จักและเรียกชื่อว่า หนังสือ มูซาชิ ฉบับท่าพระจันทร์ ซึ่งเป็นหนังสือที่แปลโดยนักเขียนที่ชำนาญวิชาการต่อสู้และภาษาญี่ปุ่น[3] จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์คบไฟ ตามประวัติในหนังสือ เชื่อว่ามูซาชิมีช่วงชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ.1584-1645 และบันทึกคัมภีร์ห้าห่วงก็เช่นกัน ได้ถูกเขียนขึ้น ในปีเดียวกันกับปีที่เขาเสียชีวิต เรื่องราวของมูซาชิในหนังสืออมตะนิยายเป็นเป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจ เร้าใจ และเป็นที่นิยมกันอย่างล้นหลาม หนังสือมูซาชิฉบับอมตะนิยาย ของ โยชิคาว่า เอญิ ได้รับการแปลอย่างมาก ในเรื่องการต่อสู้ของสำนักโยชิโอกะ และการต่อสู้แบบซามูไรกับ ซาซากิ โคยิโร่ เพราะความนิยมจิตใจแบบซามูไร กระทั้งคำประพันธ์ ในหนังสือก็ได้รับการยกย่องและได้รับการยอมรับว่างดงามดุจดอกซากุระที่มีจิตวิญญาณทางอุดมคติที่แข็งแกร่ง[4] และวิถีบูชิโดของนักรบ[4]เอง ก็ได้รับความนับถือมาจาก เรื่องมูซาชิ ซึ่งมีทั้งเรื่องจริง และที่ออกมาเป็นนิยายแบบวรรณกรรม

สารบัญนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องมูซาชิ[5]

 
หนังสือมูซาชิฉบับท่าพระจันทร์
  • ภาคดิน
  • ภาคน้ำ
  • ภาคไฟ
  • ภาคลม
  • ภาคสุญญตา
  • ภาครู้แจ้ง
  • ภาคผนวก ว่าด้วยมูซาชิ

รายการอ้างอิง