ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิเหลียงอู่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
Aristitleism ย้ายหน้า จักรพรรดิเหลียงอู่ตี้ ไปยัง จักรพรรดิเหลียงอู่: ตี้ คือ จักรพรรดิ
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
พระเจ้าเหลียงอู่ตี้ (梁武帝) หรือ เซียวเหยี่ยน แห่งราชวงศ์เหลียง ทรงครองราชสมบัติระหว่างปีค.ศ. 502–549 นับเป็นช่วงเวลาที่มีเสถียรภาพที่สุดในยุคราชวงศ์หนานเป่ย หรือราชวงศ์เหนือใต้ พระองค์สนับสนุนการศึกษาของบัณฑิตลัทธิขงจื๊อ แต่ก็ทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง
 
พระเจ้าเหลียงอู่ตี้ (梁武帝) หรือ เซียวเหยี่ยน แห่งราชวงศ์เหลียง ทรงครองราชสมบัติระหว่างปีค.ศ. 502–549 นับเป็นช่วงเวลาที่มีเสถียรภาพที่สุดในยุคราชวงศ์หนานเป่ย หรือราชวงศ์เหนือใต้ พระองค์สนับสนุนการศึกษาของบัณฑิตลัทธิขงจื๊อ แต่ก็ทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง
 
== พระประวัติ ==
องค์เซียวเหยี่ยน ประสูติเมื่อปีค.ศ. 464 เป็นบุตรของ เซียวซุ่นจือ ซึ่งอ้างว่ามีบรรพชนสืบทอดสกุลมาจากเซียวเหอ ขุนนางผู้ยิ่งใหญ่สมัยราชวงศ์ฮั่น เซียวเหยี่ยน ทรงมีความสามารถเฉลียวฉลาดแต่ยังเยาว์วัย แรกเริ่มรับราชการเป็นขุนนางฝ่ายบู๊ในสมัยรพะเจ้าฉีอู่ตี้รพะเจ้าฉีอู่ แห่งราชวงศ์ฉี ต่อมาไต่เต้าขึ้นมามีอำนาจตามลำดับ จนกระทั่งสามารถยึดอำนาจสูงสุดไว้ในมือ ตั้งตนเป็นเจ้าพระยามีอำนาจสิทธิ์ขาด กระทั่งฮ่องเต้ราชวงศ์ฉี ต้องยอมมอบราชบัลลังก์ให้ เซียวเหยี่ยนจึงยุติราชวงศ์ฉี แล้วปราบดาภิเษกเป็นฮ่องเต้ สถาปนาราชวงศ์เหลียงขึ้น
 
ในช่วงแรกนั้น นับเป็นยุคทองของราชวงศ์เหลียง พระองค์รับฟังความเห็นของบรรดาอำมาตย์ ประหยัดมัธยัสถ์ ส่งเสริมการศึกษา สร้างสาธารณูปโภคเป็นรากฐานของอาณาจักร แต่ขณะเดียวกันก็พร้อมรับการรุกรานของอาณาจักรอื่นๆ และในเวลาต่อมายังทรงนำทัพบุกโจมตีอาณาจักรเป่ยเว่ย จนมีอิทธิพลเหนืออาณาจักรนี้
เส้น 9 ⟶ 8:
อย่างไรก็ตาม ในปลายรัชกาลทรงสนพระทัยในกิจการอื่นๆ มากเกินไป ละลเยราชกิจ ทำให้บ้านเมืองเกิดความปั่นป่วน จนขุนพลโฮ่วจิ่งก่อกบฏ ยพทักเข้ายึดนครหลวง แล้วจับพระองค์คุมขังไว้จนสวรรคต นักประวัติศาสตร์บางคนระบุว่า โฮ่วจิ่งคุมขังพระองค์จนอดพระกระยาหาร สวรรคตในที่สุด เมื่อปี 549 พระชนมายุ 85 พรรษา
 
== พระเจ้าเหลียงอู่ตี้กับพุทธศาสนา ==
พระเจ้าเหลียงอู่ตี้ทรงเป็นฮ่องเต้ที่มีศรัทธาปสาทะในพระบวรพุทธศาสนามากที่สุดองค์หนึ่งของจีน ทรงรับศีลฆราวาสตลอดพระชนม์ชีพ มีพระบรมราชโองการสั่งห้ามการทำปาณาติบาต เข่นฆ่าชีสิตสัตว์สังเวยบรรพชน แม้พระองค์เองก็ยังประกอบพระราชพิธีสังเวยบูรพชนด้วยอาหารมังสวิรัต และยกเว้นโทษประหารชีวิต จนได้รับการถวายพระนามเป็น "ฮ่องเต้โพธิสัตว์"
 
ทั้งยังมีพระสมัญญานามว่า "พระเจ้าอโศกแห่งแผ่นดินจีน" เนื่องจากทรงปวารณาพระองค์ตามจริยาของพระเจ้าอโสกมหาราช บำรุงพระศาสนา ประกาศพระสัทธรรม และถือศีลมีเมตตาต่อสรรพสัตว์ พระองค์ทรงโปรดการปฏิบัติตามจริยาของพระเจ้าอโศก ที่ปรากฎใน อโศกาวทาน หรือ คัมภีร์อวทาน ถึงกับถวายนามให้แก่วัดแห่งหนึ่งในเมืองหนิงโป ว่า วัดพระเจ้าอโศก (วัดอายู่หวาง)
เส้น 21 ⟶ 20:
"หลักธรรมต่างๆ ที่พระคุณเจ้าแสดงไปแล้วนั้นเป็นหลักธรรมเดียวกันกับที่พระโพธิธรรมได้วางหลักธรรมสำคัญนี้ไว้มิใช่หรือ"
"ถูกแล้ว" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอบ
"แต่กระผมได้สดับมาว่า เมื่อพระโพธิธรรมได้พบปะและสนทนากันเป็นครั้งแรกกับฮ่องเต้ เหลียงอู่ตี้ จึงถามพระโพธิธรรมว่าพระองค์จักได้รับกุศลอะไรบ้างจากการที่พระองค์ได้ก่อสร้างพระวิหารการอนุญาตให้คนบวช การโปรยทาน การถวายภัตตาหารเจแด่พระภิกษุสงฆ์ ในครั้งนั้นพระสังฆปริณายกโพธิธรรมถวายพระพรว่า
การกระทำเช่นนั้น ไม่เป็นทางนำมาซึ่งกุศลแต่อย่างใดเลย บรรดาข้าพเจ้าไม่เข้าใจว่า เหตุไฉนพระโพธิธรรมจึงตอบดังนั้น"
พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอบว่า
"ถูกแล้วการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นทางนำมาซึ่งกุศลแต่อย่างใดเลย ขออย่าได้มีความสงสัยในคำตอบนี้ของพระโพธิธรรมเลย พระเจ้าเหลียงอู่คตี้เองต่างหากที่มีความเข้าใจผิดและพระองค์ไม่ได้ททรงทราบถึงคำสอนอันถูกต้องตามแบบแผนการกระทำ เช่น การสร้างวิหาร การอนุญาตให้คนบวช การโปรยทาน การถวายภัตตาหารเจ จะนำมาให้ได้ก็แต่เพียงความปิติอิ่มใจต่างๆ เท่านั้น จึงไม่ถือว่าเป็นกุศล กุศลมีได้ก็แต่ในธรรมกายซึ่งไม่มีสิ่งใดเกี่ยวข้องกับการทำเพื่อความปิติอิ่มใจเลย"
คำกล่าวของพระธรรมมาจารย์ฮุ่ยเหนิง ได้ยืนยันให้เห็นความจริงว่า คำกล่าวของพระโพธิธรรมเมื่อครั้งกระนั้นถูกต้องเพียงแต่มิได้อธิบายหรือมีโอกาสชี้แจงแสดงเหตุผลให้พระเจ้าเหลียงอู่ตี้สดับได้เพราะเพียงได้ยินคำกล่าว่า ไม่เป็นบุญกุศลโทสะจริตก็ครอบงำพระหฤทัยจึงขับไล่พระโพธิธรรมออกไปจากพระราชวัง
ดังนั้นถ้าพิจารณาประวัติความเป็นมาของพระเจ้าเหลียงอู่เต้ย่อมประจักษ์ถึงสัจธรรมแห่งการทำบุญว่ามิใช่หนทางแห่งการพ้นไปจากการเวียยนเกิด-ตาย เลย แต่กลับกลายเป็นการเวียนเกิดมารับผลบุญของตนเองไม่มีที่สิ้นสุด"''
 
== บทพระนิพนธ์ขอขมากรรม ==
พระเจ้าเหลียงอู่ตี้ ยังทรงพระราชนิพนธ์บทสวดขอขมากรรม เหลียงหวงเป่าชั่น (梁皇寶懺) ซึ่งจะใช้สวดในงานพิธีสวดอุทิศส่วนกุศล แด่ผู้ล่วงลับ และสัมพเวสี ซึ่งจะจัดขึ้นในวันสารทจีน ซึ่งเป็นวันที่ประตูนรกเปิดให้วิญญาณทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้
 
ตำนานเล่าว่า พระมเหสีจีฮุย (郗徽) ของพระเจ้าหลียงอู่ตี้ ทรงมีอุปนิสัยริษยาอาฆาตแค้น เมื่อสิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา 30 ปี ก็เกิดใหม่กลายเป็นอสรพิษใหญ่ตามผลกรรมที่ถูกโทสะครอบงำนั้น ต่อมาพระนางไปแจ้งเหตุแก่พระสวามีในพระสุบิน ครั้งฮ่องแต้ทรงทราบจึงทรงปรึกษากับ[[พระเถระเป่าจื้อ]] (寶誌)พระเถระจึงเชิญพระสงฆ์ผู้มีคุณวิเศษมา แล้วร่วมกับองค์ฮ่องเต้ รจนาบทสวดขอขมากรรมเหลียงหวงเป่าชั่นจำนวน 10 บทขึ้น
 
หลังจากประกอบพิธีสวดบทขอขมากรรม แล้วพระมเหสีทรงปรากฎในพระสุบินอีกครั้ง แจ้งแก่พระองค์ว่าบัดนี้พระนางได้ไปบังเกิดในสุขคติภพแล้ว จึงขอบขอบพระทัยยิ่งในพระกรุณา