ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสุพรรณกัลยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
แหล่งอ้างอิงบางส่วนลิงค์เสีย และไม่น่าเชื่อถือ
บรรทัด 8:
| วันประสูติ = [[พ.ศ. 2095]]
| วันสิ้นพระชนม์ = {{เทาเล็ก|ไม่แน่ชัด}} [[พ.ศ. 2135]]
| พระอิสริยยศ = พระมเหสีเล็ก (มีพะยาเง) ใน[[พระเจ้าบุเรงนอง]]<ref>http://www.vcharkarn.com/vcafe/36379</ref>
| พระบิดา = [[สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช]]
| พระมารดา = [[พระวิสุทธิกษัตรีย์]]
บรรทัด 23:
}}
 
'''พระสุพรรณกัลยา''' สุวรรณกัลยา หรือ สุวรรณเทวี<ref>http://aco.psru.ac.th/400year/prasupan.htm</ref> เป็นพระราชธิดาใน [[สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช]] และ [[พระวิสุทธิกษัตรีย์]] และเป็นพระพี่นางใน [[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] และ [[สมเด็จพระเอกาทศรถ]] ประสูติ ณ [[พระราชวังจันทน์]] [[พิษณุโลก|เมืองพิษณุโลก]]<ref>http://aco.psru.ac.th/400year/prasupan.htm</ref> เชื่อว่าพระนามเดิม คือ '''องค์ทอง'''
 
ชีวิตในกรุงหงสาวดี
บรรทัด 49:
=== หลักฐานที่ขัดแย้งกัน ===
แม้การสิ้นพระชนม์ของพระสุพรรณกัลยานั้นจะเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเกิดจากแรงโทสะของ[[พระเจ้านันทบุเรง]] ซึ่งตรงกันทั้งในหลักฐานของไทยและพม่า (บางฉบับ) แต่มิกกี้ ฮาร์ท (Myin Hsan Heart) นักประวัติศาสตร์ชาวพม่าได้นำเสนอข้อมูลที่แตกต่างออกไป โดยกล่าวถึง[[เจ้าหญิงเมงอทเว|เจ้าภุ้นชิ่]]หรือเจ้าหญิงพิษณุโลกได้ตามเสด็จพระราชมารดาออกมาประทับนอก[[พระราชวังกัมโพชธานี]] โดยเจ้าหญิงเจ้าภุ้นชิ่ได้เสกสมรสกับ เจ้าเกาลัด พระโอรสของเจ้าอสังขยา เจ้าเมืองตะลุป ซึ่งเป็น[[ไทใหญ่|ชาวไทใหญ่]] ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของพระเจ้ามังรายกะยอชวา โอรสองค์ที่สองของพระเจ้านันทบุเรง และมีพระธิดาด้วยกันคือ เจ้าหญิงจันทร์วดี ซึ่งหมายความว่า ในช่วงสงครามยุทธหัตถี [[พ.ศ. 2135]] พระสุพรรณกัลยามิได้ประทับอยู่ในหงสาวดีแต่ทรงประทับอยู่ในอังวะ จนกระทั่งในปี [[พ.ศ. 2137]] พระเจ้าตองอู พระเจ้านยองยัน และพระเจ้าเชียงใหม่ ต่างแยกตัวเป็นอิสระจากหงสาวดี พระเจ้านยองยันได้เข้าครองกรุงอังวะที่เจ้าหญิงพิษณุโลก และพระมารดาอาศัยอยู่ อีกทั้งยังเป็นผลดีแก่ทั้งสองพระองค์ด้วย เนื่องจากพระเจ้านยองยันนั้นเป็นพระโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าบุเรงนอง ทั้งยังมีความคุ้นเคยกับเจ้าอสังขยาบิดาของเจ้าเกาลัด จึงคาดได้ว่า ภายใต้การปกครองของพระเจ้านยองยันพระสุพรรณกัลยารวมถึงเจ้าหญิงพิษณุโลกก็ยังทรงประทับในนครอังวะอย่างปกติสุขจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ โดยมิได้ถูกปลงพระชนม์แต่อย่างใด<ref>'''ตำนานนางกษัตริย์'''. หน้า 293-295</ref>
 
== การพบหลุมพระศพพระสุพรรณกัลยา ==
เมื่อช่วงกลางเดือน[[มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2548]] มีการขุดพบหลุมแห่งหนึ่งซึ่งมีทั้งพระโกฎทองคำและเครื่องใช้ในราชสำนักจำนวนมากรวมทั้งโครงกระดูกบางส่วนรวมอยู่ด้วย ในระหว่างที่กำลังมีการปรับพื้นดินเพื่อสร้างเมืองใหม่ของพม่าใกล้กับเมือง[[ปีนมานา]] ในภาคกลางของพม่า โดยมีการพูดคุยในหมู่นายทหารระดับสูงของพม่าว่า หลุมดังกล่าวคาดว่าเป็นหลุมพระศพของพระสุพรรณกัลยา เนื่องจากเครื่องใช้ราชสำนักบางส่วนมีลักษณะคล้ายลวดลายไทย
 
แหล่งข่าวดังกล่าวเปิดเผยอีกว่า ขณะนี้ทางกองทัพพม่าได้สั่งระงับการสร้างเมืองดังกล่าวไว้ชั่วคราว และพยายามปิดข่าวนี้อย่างมิดชิด เนื่องจากเกรงว่าจะมีการขอเข้าไปตรวจสอบและทวงทรัพย์สมบัติล้ำค่าจากทางการไทย<ref>http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=209&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai</ref>
 
[[ไฟล์:39-9-1087831999.jpg|thumb|180px|right|พระสุพรรณกัลยา จากละครเรื่อง กษัตริยา ([[พ.ศ. 2547|พ.ศ. ๒๕๔๗]]) รับบทโดย [[วรัทยา นิลคูหา]]]]
== พระนามต่างๆ ==
เส้น 69 ⟶ 63:
* พระบรมรูปพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ณ [[วัดลาดสิงห์]] [[ตำบลบ้านสระ]] [[อำเภอสามชุก]] [[จังหวัดสุพรรณบุรี]]
* พระรูป ณ พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช [[วัดดอนเจดีย์]] [[อำเภอดอนเจดีย์]] จังหวัดสุพรรณบุรี
* พระเจดีย์ ณ [[วัดบ้านน้ำฮู]] [[อำเภอปาย]] [[จังหวัดแม่ฮ่องสอน]] ที่เชื่อกันว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างถวายพระสุพรรณกัลยา และภายในพระเจดีย์ ได้บรรจุเส้นพระเกษาของพระสุพรรณกัลยาไว้ด้วย<ref>http://writer.dek-d.com/Blink-wizarD/story/view.php?id=148186</ref>
 
== ราชตระกูล ==