ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Trayong (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{เพิ่มอ้างอิง}}
'''สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย''' ({{lang-en|The Thailand Development Research Institute}}) หรือ '''ทีดีอาร์ไอ''' (TDRI) <ref>[http://www.tdri.or.th/th/php/ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย]</ref> เป็น[[มูลนิธิที่ไม่แสวงหากำไร]] ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อในปี [[พ.ศ. 2527]] ที่มีพันธกิจหลักคือ การทำการวิจัยเชิงนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายด้านเศรษฐกิจ กฎหมาย สาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยต่อภาครัฐบาลและ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายระยะยาวอันมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง ก่อตั้งขึ้นในปี [[พ.ศ. 2527]] โดยความริเริ่มของ[[สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ]]ยั่งยืน โดยมี [[เปรม ติณสูลานนท์|พลเอกเปรม ติณสูลานนท์]] นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น และ [[ปิแอร์ ทรูโด]] นายกรัฐมนตรี[[ประเทศแคนาดา|แคนาดา]] เป็นประธานร่วมในพิธีลงนามในข้อตกลงให้ความช่วยเหลือเพื่อมอบทุนดำเนินการจัดตั้งสถาบันในระยะเริ่มแรก
 
ทีดีอาร์ไอถูกก่อตั้งขึ้นโดยความริเริ่มของ[[สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ]] ที่ต้องการให้มีหน่วยงานวิจัยและเสนอนโยบายเป็นอิสระของอำนาจการเมืองและข้าราชการ ด้วยเหตุนี้ [[เปรม ติณสูลานนท์|พลเอกเปรม ติณสูลานนท์]] นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น และ [[ปิแอร์ ทรูโด]] นายกรัฐมนตรี[[ประเทศแคนาดา|แคนาดา]] จึงได้ลงนามในข้อตกลงให้ความช่วยเหลือเพื่อมอบทุนดำเนินการจัดตั้งสถาบันในระยะเริ่มแรก ผ่านทาง องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งแคนาดา ([[Canadian International Development Agency]]) นอกจากนี้ ยังมี องค์กรเพื่อการพัฒนานานาชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา ([[United States Agency for International Development]]) ร่วมให้ทุนสนับสนุนการก่อตั้ง เช่นเดียวกับบริษัทเอกชนอื่นๆ เช่น บริษัทในกลุ่มมิตซุย บริษัทยูโนแคล ประเทศไทย เป็นต้น
 
นับตั้งแต่ก่อตั้ง สถาบันได้ดำเนินงานวิจัยไปแล้วมากกว่า 800 โครงการ ในหัวข้อต่าง ๆ ทั้งระดับประเทศ ทั้งประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ โดยมีเป็นหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานต่างประเทศเป็นผู้ว่าจ้างหลัก
 
นอกเหนือจากรายได้จากการถูกว่าจ้างจากหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานต่างประเทศแล้ว ทีดีอาร์ไอยังใช้งบประมาณของตนเองในการผลิตงานวิจัยเชิงนโยบายในหัวข้อที่กำหนดเอง โดยเน้นหัวข้อที่ทีดีอาร์ไอคิดว่าสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต เช่น การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน การพัฒนาระบบศึกษาไทย และโมเดลใหม่ทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
ปัจจุบัน สถาบันมีฝ่ายการวิจัย 6 ฝ่าย
 
# เศรษฐกิจรายสาขา
ปัจจุบัน ทีดีอาร์ไอมีทรัพยากรบุคคลประมาณ 100 คน ในฝ่ายการวิจัย 6 ฝ่าย ได้แก่
# แผนงานเศรษฐกิจรายสาขา
# ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
# นโยบายเศรษฐกิจส่วนรวม
# ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
# ทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคม
# การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
นักวิชาการที่มีชื่อเสียงของสถาบันฯ
นักวิชาการที่มีชื่อเสียงของสถาบันฯในปัจจุบัน เช่น [[อัมมาร สยามวาลา|ศ. พิเศษ ดร. อัมมาร สยามวาลา]] [[ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์|ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์]] [[รศ. ดร. นิพนธ์ พัวพงศกร]] [[รศ. ดร. ยงยุทธ แฉล้มวงษ์]] และ [[สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์|ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์]] เป็นต้น ในอดีต เช่น [[วีรพงษ์ รามางกูร|ดร. วีรพงษ์ รามางกูร]] [[ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด]]
 
== รายนามประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ==
{{โครงส่วน}}
 
== อ้างอิง ==
เส้น 21 ⟶ 25:
 
== แหล่งข้อมูลอื่น==
* [http://www.tdri.or.th/ เว็บไซต์ของทีดีอาร์ไอ]
 
{{กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย}}