ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วังสวนสุนันทา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ฉัตรา (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tataemnoil (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 50:
==ตำหนักที่สำคัญ==
 
วังสวนสุนันทาในอดีตนั้น มีตำหนักซึ่งเคยเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายในหลายพระองค์ และเมื่อเวลาผ่านไป บางตำหนักได้ชำรุดทรุดโทรมเกินกว่าจะเยียวยา จำเป็นต้องรื้อถอนและสร้างใหม่ ในขณะที่บางตำหนัก ยังสามารถรักษาไว้ได้ รอเพียงการบูรณะขึ้นมาอนุรักษ์ไว้ โดยมีสถานที่สำคัญอันควรบันทึกไว้ ตำหนัก ได้แก่
 
๑. ตำหนัก[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุฑารัตนราชกุมารี]] (๑๗ ธันวาคม ๒๔๑๕ - ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๗๓) พระราชธิดาองค์ที่ ๗ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ[[เจ้าจอมมารดามรกฎ]] ทรงเชี่ยวชาญด้านกวีนิพนธ์ ฉันท์ และกาพย์กลอน ปัจจุบันคืออาคาร '''จุฑารัตนาภรณ์''' ใช้เป็นศูนย์ข้อมูลดนตรีรัตนโกสินทร์ ของภาควิชาดนตรี (คาดว่าจะบูรณะให้แล้วเสร็จภายในปี ๒๕๕๕)
บรรทัด 63:
 
๖. ตำหนัก[[พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา]] ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๓ (สิงหาคม ๒๔๐๔ ๒๓ มิถุนายน ๒๔๗๒) และยังเป็นที่ประทับของสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงนิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันคืออาคาร '''สายสุทธานภดล''' ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ อาทิ นาฏศิลป์ ดนตรี คหกรรม งานฝีมือต่าง ๆ และยังเป็นที่รวบรวมภาพเขียนสีน้ำ ซึ่งเป็นฝีมือของ 'คุณข้าหลวง' ในวังสวนสุนันทา
๗. พระตำหนักเยาวภา เป็นอาคาร ๒ ชั้น ยกพื้นสูงประมาณ ๑ เมตร ปูพื้นด้วยไม้สักทั้งหลัง หลังคาทรงสูงทำด้วยกระเบื้องว่าว สีเดิมของอาคารเป็นสีเขียว ต่อมามีการบูรณะปรับปรุงเป็นสีน้ำตาล ภายในอาคารแบ่งเป็นส่วนๆ คล้ายอาคารชุดประตูเปิดติดต่อกันมีช่องลมเป็นลายไม้จำหลักเหนือขอบประตูเป็นหน้าต่างเป็นบานกระทุ้ง ตรงกลางเป็นบานเกล็ด
ชั้นบนของอาคารมีเฉลียงด้านหน้ายาวตลอดทั้งอาคาร มีบันไดใหญ่ขึ้นลงแยกกัน ๒ บันไดและมีบันไดเล็ก ริมสุดของอาคารอยู่ทางทิศใต้ เสาของอาคารมีลายปูปั้น บันไดทางขึ้นด้านหน้าอาคารทำด้วยหินอ่อนสีขาวภายในจัดแสดง
*ห้องที่ ๑ และ ๒ จัดแสดงพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศ์ศานุวงศ์
*ห้องที่ ๓ และ ๔ จัดแสดง ศิลปะประดิษฐ์แขนงต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องราวของการแต่งกายในพระราชสำนัก
*ห้องที่ ๕ ห้องรับรองและจัดแสดงหมุนเวียน
*ห้องที่ ๖ ห้องพระและห้องจัดแสดงเทียนประดิษฐ์
*ห้องที่ ๗ ห้องจัดแสดงเครื่องเบญจรงค์และจำหน่ายของที่ระลึกประเภทต่างๆ
 
==อ้างอิง==