ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอขุนหาญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Romankak (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Romankak (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 43:
ครอบครัวเชลยชาวลาวเวียงจันทน์ถูกกวาดต้อนเข้ามาไทยในการตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 1 ปีพ.ศ. 2321 จากนั้นถูกกวาดต้อนเข้ามาอีกในการตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 2 ปีพ.ศ. 2335 และถูกกวาดต้อนเข้ามาเป็นครั้งที่ 3 ปีพ.ศ. 2369 - 2371 แต่ในสงครามตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 3 เมื่อปีพ.ศ. 2369 - 2371 กองทัพสยามได้กวาดต้อนผู้คนทั้งหมดในเขตเมืองเวียงจันทน์เข้ามาฝั่งไทย จนเวียงจันทน์ถึงกับเป็นเมืองร้างผู้คน
==ประวัติบ้านโพธิ์กระสังข์==
'''ประวัติความเป็นมาบ้านโพธิ์กระสังข์''' ในอดีต บ้านโพธิ์กระสังข์ได้ตั้งอยู่ที่โนนหนองโพธิ์มีชื่อหมู่บ้านว่าบ้านหนองโพธิ์ ในเวลาต่อมาทางหมู่บ้านหนองโพธิ์เกิดโรคระบาดประชากรในหมู่บ้านล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก สร้างความหวาดกลัวให้กับคนในหมู่บ้านเป็นยิ่งนัก ประกอบกับขณะนั้น หมู่บ้านประสบกับปัญหาขาดแคลนน้ำเพราะในปีนั้นฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล และหมู่บ้านเองก็ไม่ได้สร้างตามแนวทางเดินของน้ำที่ไหลมา เพราะเหตุนี้เอง จึงมีการอพยพ ย้ายถิ่นฐานของคนในหมู่บ้านมาอยู่ทางทิศตะวันตกของบ้านหนองโพธิ์เดิม และเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่เรียกว่า บ้านโพธิ์กระสังข์ เหตุที่เรียกบ้านโพธิ์กระสังข์ เพราะว่าบริเวณนั้นจะมีต้นกระสังข์ที่มีต้นโพธิ์โอบอ้อม จึงเรียกบ้านโพธิ์กระสังข เริ่มแรกได้สร้างที่พักสงฆ์ขึ้น โดยพระครูอินทร์ ต่อมาหลวงปู่สงฆ์ซึ่งเป็นพระที่มีความรู้พอสมควร ได้เป็นคนที่สอนคนในหมู่บ้านโพธิ์กระสังข์และหมู่บ้านใกล้เคียง เช่น บ้านแต้ บ้านพอก บ้านหนองประดิษฐ์ ได้มาเรียนด้วย เมื่อมีคนมาเรียนเพิ่มมากขึ้น ก็สร้างความลำบากแก่หลวงปู่สงฆ์ยิ่งนัก ทางรัฐบาลจึงจัดครูมาคนหนึ่ง ซึ่งขณะนั้นชาวบ้านจะเรียกครูคนนี้ว่า “ครูนุช” ต่อมาครูนุชได้ย้ายไป ครูดีได้เข้ามาสอนแทน ระยะนี้มีการนำบุตรหลานมาเล่าเรียนมากขึ้น ต่อมาก็มีครูสอน ซึ่งเป็นคนอำเภอขุขันธ์ ได้เข้ามาสอนแทนในอารามซึ่งขณะนั้นชาวบ้านบางคนเริ่มต่อต้านการเข้าเรียนของบุตรหลานตนเพราะเกรงกันว่าทำให้ขาดแรงงานในการประกอบอาชีพของครอบครัว ทำให้ครอบครัวขาดรายได้จากการทำงาน แต่บางครอบครัวก็เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา และพาลูกหลานเข้ามาเรียนในวัดมากขึ้น เพราะในขณะนั้นกฎหมายที่ใช้ในการบังคับบิดามารดาส่งลูกหลานมาเข้าเรียนในสถานศึกษายังไม่มี ต่อมามีการจัดสรรอาจารย์มาประจำเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนั้นอาจารย์เมา ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันขณะนั้น ได้รับตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียนวัดบ้านโพธิ์กระสังข์ ซึ่งขณะนั้นจะใช้ศาลาวัดเป็นสถานที่ทำการสอน เมื่อมีการพักแรมของเด็กนักเรียนก็ประสบกับปัญหาเด็กหลบเรียนไปตัดไม้และกิ่งไม้มาทำโครงเรือน และนำหญ้าคามาถักทอเป็นตับเพื่อทำเป็นหลังคาโรงเรียน และทำการสอนหนังสือเด็กนักเรียนตามปกติซึ่งต่อมาทางรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณในการทำอาคารเรียนแก่วัดโพธิ์กระสังข์ และได้ทำการสร้างอาคารเรียนบริเวณทิศตะวันตกของหมู่บ้าน (บริเวณ[[โรงเรียนบ้านโพธิ์กระสังข์]]ในปัจจุบัน) เปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป.1 – ป.4 ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นชั้นเด็กเล็กถึงชั้น ป.6 และเป็น อนุบาล – ม.3 ดังเช่นในปัจจุบัน
'''วัดบ้านโพธิ์กระสังข์''' สร้างเมื่อปี พ.ศ 2350 โดยในครั้งแรกพระครูอินทร์ ได้สร้างที่พักสงฆ์ขึ้นในพื้นที่18ไร่จากที่ดินที่ชาวบ้านได้บริจาคให้กับทางวัด แต่รายละเอียดต่างของเจ้าอาวาสและการปกครองต่างๆข้อมูลต่างๆได้สูญหายไปจึงทำให้การสำรวจไม่ทราบแน่ชัดนักแต่ก็มีหลักฐานที่หลงเหลืออยู่ตามซุ้มประตูสถานที่ต่างๆทำให้ทราบว่าได้มีการบูรณปฎิสังขรณ์เสร็จสิ้นในปีพ.ศ.2507(เป็นปีเดียวกันกับการสร้างโบสถ์ เมื่อปีมะโรง 2507) จากการสำรวจทำให้พบว่าศาสนวัตถุหรือเสนาสนะที่ปรากฏในวัดต่าง เช่นโบสถ์ ศาลา หรือแม้กระทั่งซุ้มประตูวัด โดยมากแล้วอาจพูดได้ว่าเกิดขึ้นในสมัย'''หลวงพ่อพระครูโพธามุต(พระบุญทัน)''' ท่านได้นำชาวบ้านพัฒนาวัดให้เกิดความเจริญและมีสถานที่เหมาะสมเพียงพอในการปฏิบัติธรรม ซึ่งท่านเองก็เป็นพระที่ชาวบ้านให้ความเครารพนับถือเป็นอย่างมาก จึงกล่าวได้ว่าชาวบ้านที่ค่อนข้างมีอายุ รวมทั้งหนุ่มสาวส่วนมากรู้จักและเคารพนับถือท่านทุกคน เพราะท่านเป็นพระนักพัฒนาผู้มีความเสียสละอย่างแท้จริงท่านได้มรณะภาพด้วยโรคชราเมื่อ16 มกราคม 2536 รวมอายุได้ 85 ปี 4 เดือน 25 วันหลังจากที่ท่านมรณภาพแล้วทุกปีชาวบ้านจะจัดงานพิธีทำบุญชักอัฐิท่านในช่วงวันสารท ระหว่างฤดูกาลเข้าพรรษาในวันที่16 เดือน 10 ของทุกปีเพื่อทำบุญกรวดนำอุทิศผลบุญให้ท่านทุกปีหลังจากนั้นหลวงพ่อฮีงก็ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อพระครูโพธาธิบุตซึ่งต่อมาท่านก็ได้ลาสิกขาไปในปัจจุบันมีหลวงพ่อส่วย('''พระอธิการสุพัฒน์ ฐิตปุญโฌ''') เป็นผู้ปกครองวัดบ้านโพธิ์กระสังข์(ปี2546-2553)