ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อเล็กซานเดอร์มหาราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "สิ้นพระชนม์" → "สวรรคต" ด้วยสจห.
บรรทัด 35:
| religion = กรีกเทวนิยม }}
 
'''อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาซีดอน''' (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า '''อเล็กซานเดอร์มหาราช''' ({{lang-en|Alexander III of Macedon หรือ Alexander the Great}}, {{lang-el|Μέγας Ἀλέξανδρος}}, ''Mégas Aléxandros'') เป็น[[กษัตริย์กรีก]]จากแคว้น[[มาซิโดเนีย]] ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของ[[ราชวงศ์อาร์กีด]] เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์[[สมัยโบราณ|ยุคโบราณ]] เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาซิโดเนีย เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของ[[อริสโตเติล]] นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก [[ฟิลิปที่ 2 แห่งมาซิโดเนีย]] เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สิ้นพระชนม์สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก
 
พระเจ้าฟิลิปทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาซิโดเนีย โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อฟิลิปสิ้นพระชนม์ฟิลิปสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดน[[เอเชียไมเนอร์]]ภายใต้การปกครองของ[[จักรวรรดิอคีเมนียะห์|อาณาจักรเปอร์เซีย]] และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้าม[[ซีเรีย]] [[อียิปต์]] [[เมโสโปเตเมีย]] [[อิหร่าน|เปอร์เซีย]] และ[[แบคเทรีย]] ทรงโค่นล้มกษัตริย์ดาริอุสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด{{fn|1}} พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุก[[อินเดีย]] แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม
 
อเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์สวรรคตที่เมือง[[บาบิโลน]] ในปีที่ 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสิ้นพระชนม์สวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาซิโดเนีย แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรม[[เฮเลนนิสติก]] ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาใน[[จักรวรรดิไบแซนไทน์]]กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่าง[[อคิลลีส]] มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน{{fn|2}}
 
== ชีวิตช่วงต้น ==
บรรทัด 121:
 
== ดวงชะตา ==
ดวงพระชะตาของอเล็กซานเดอร์มหาราชขึ้นอยู่เป็นเวลา 13 ปีที่พระองค์ไม่แพ้ใครเลย อีก 3 ปีต่อมาอเล็กซานเดอร์ก็อภิเษกสมรสกับมเหสีองค์ที่ 2 นามว่า [[สตาทิราที่2 แห่ง เปอร์เซีย|สตาทิรา แห่ง เปอร์เซีย]] ธิดาของกษัตริย์ดาริอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซียทว่าในปีเดียวกันนั้น [[เฮฟาอีสเทียน]] (Hephaestien) ซึ่งเป็น[[อัครมหาเสนาบดี]] บุคคลผู้เป็นเพื่อนซึ่งมีเสียงร่ำลือว่าเป็นคนรักของอเล็กซานเดอร์<ref>http://www.artsmen.net/content/show.php?Category=movieboard&No=1992</ref> จนถึงฤดูใบไม้ร่วงปี [[พ.ศ. 219]] เฮฟาอีสเทียน และนายทหารพระสหายสนิทที่ใกล้ชิดพระองค์ที่สุดของพระองค์เสียชีวิตที่เมืองเอกบาตานา (Ecbatana) อเล็กซานเดอร์มหาราชทรงสิ้นพระชนม์สวรรคต เพราะในตอนที่ทรงออกรบขยายดินแดนมาถึงอินเดียพระองค์ผ่านป่ามาและโดนพวกยุงป่ากัดในบ้านเกิดของพระองค์ไม่มียุงพวกนี้จึงไม่มีภูมิแล้วจึงเสด็จฯสู่สวรรคาลัยในวันที่ 10 (หรือ 11)มิถุนายน [[พ.ศ. 220]] หรือ ปีที่ 323 ก่อนคริสตกาล โดยมีพระชนมายุเพียง 33 พระชันษา(หรือ 32 ปี, 10 เดือน และ 20 วัน)
 
== ความรัก ==
บรรทัด 130:
== เชิงอรรถ ==
[[ไฟล์:Hecataeus world map-en.svg|200px|right|แผนที่โลกตามความคิดของชาวกรีกในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช]]
{{fnb|1}} ในเวลาที่อเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์สวรรคต พระองค์สามารถพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียทั้งหมด ผนวกดินแดนเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมาซิโดเนีย หากพิจารณาตามนักเขียนยุคใหม่บางคน นั่นคือดินแดนเกือบทั้งหมดของโลกเท่าที่ชาวกรีกโบราณรู้จัก<ref name="danforth">{{cite book|last=Danforth|first=Loring M.|title=The Macedonian Conflict: Ethnic Nationalism in a Transnational World |publisher=Princeton University Press|isbn=0691043566|year=1997}}</ref><ref name="stoneman">{{cite book|last=Stoneman|first=Richard|title=Alexander the Great |publisher=Routledge |isbn=0415319323 |year=2004}}</ref> (ภาพทางด้านขวา)
 
{{fnb|2}} ตัวอย่างเช่น [[ฮันนิบาล]] ยกย่องอเล็กซานเดอร์ว่าเป็นแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด<ref>{{cite book |last=Goldsworthy |first=A. |title=The Fall of Carthage |publisher=Cassel |date=2003 |isbn=0304366420}}</ref> [[จูเลียส ซีซาร์]] ร่ำไห้เมื่อเห็นอนุสาวรีย์ของอเล็กซานเดอร์ เพราะพระองค์ประสบความสำเร็จได้เพียงน้อยนิดขณะเมื่ออายุเท่ากัน<ref name="Plutarch, Caesar, 11">Plutarch, Caesar, 11</ref>[[พอมพี]] แสดงตัวว่าเป็น "อเล็กซานเดอร์คนใหม่"<ref>{{cite book|author=Holland, T.|title=Rubicon: Triumph and Tragedy in the Roman Republic |year=2003 |publisher=Abacus|isbn=9780349115634}}</ref> [[นโปเลียน โบนาปาร์ต]] ก็เปรียบเทียบตนเองกับอเล็กซานเดอร์<ref>{{cite book|author=Barnett, C. |title=Bonaparte |publisher=Wordsworth Editions |year=1997 |isbn=1853266787}}</ref>
 
{{fnb|7}} นับตั้งแต่ยุคสมัยนั้นก็มีข้อสงสัยมากมายอยู่ว่า เพาซานิอัสถูกว่าจ้างให้มาสังหารฟิลิป ผู้ต้องสงสัยว่าจ้างวานได้แก่อเล็กซานเดอร์ โอลิมเพียส รวมไปถึงจักรพรรดิเปอร์เซียที่เพิ่งขึ้นครองราชย์ คือ [[พระเจ้าดาริอุสที่ 3]] ทั้งสามคนนี้ล้วนมีแรงจูงใจที่ต้องการให้ฟิลิปสิ้นพระชนม์ฟิลิปสวรรคต<ref name=Fox72-73>Fox, ''The Search For Alexander'', pp. 72–73.</ref>
 
== อ้างอิง ==