ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยูโรปา (ดาวบริวาร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 56:
 
== การโคจรและการหมุนรอบตัวเอง ==
[[File:Galilean moon Laplace resonance animation.gif|thumb|365px|left|ภาพเคลื่อนไหวแสดง[[การสั่นพ้องของวงโคจร]]ของดวงจันทร์ยูโรปา รวมทั้งดวงจันทร์ไอโอและดวงจันทร์แกนิมีด]]
ยูโรปา[[วงโคจร|โคจร]]รอบดาวพฤหัสบดีโดยใช้เวลาเพียงสามวันครึ่งด้วยรัศมีวงโคจรประมาณ 670,000 [[กิโลเมตร]] และมี[[ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร]] เพียง 0.009 ซึ่งค่อนข้างกลม มี[[ความเอียงของวงโคจร]]อ้างอิงจากระนาบ[[เส้นศูนย์สูตรฟ้า]]เล็กน้อย คือประมาณ 0.470 องศาเท่านั้น<ref name="datasheet">{{cite web | url=http://www2.jpl.nasa.gov/galileo/europa/#overview |title=Europa, a Continuing Story of Discovery|accessdate=9 August 2007 |work=Project Galileo|publisher=[[NASA]], Jet Propulsion Laboratory}} {{dead link|date=July 2013}}</ref> ยูโรปาการหมุนรอบตัวเองแบบสมวาร คือมีคาบการหมุนรอบตัวเองเท่ากับคาบการโคจรรอบดาวพฤหัสบดีเหมือนดาวบริวารกาลิเลียนดวงอื่นๆ ดวงจันทร์ยูโรปาจึงหันหน้าเข้าหาดาวพฤหัสบดีเพียงด้านเดียวเสมอ ทำให้มีจุดๆหนึ่งบนดวงจันทร์ยูโรปาที่สามารถมองเห็นดาวพฤหัสบดี ณ [[จุดจอมฟ้า]] พอดี [[เส้นเมริเดียน]]ที่ลากผ่านจุดๆนี้ถูกกำหนดให้เป็นเส้นเมริเดียนปฐมของดวงจันทร์ยูโรปา อย่างไรก็ตามผลการค้นคว้าได้ระบุว่าการหมุนของดวงจันทร์ยูโรปาอาจไม่ใช่การหมุนสมวาร เนื่องจากมีการเสนอว่าดวงจันทร์ยูโรปาหมุนรอบตัวเองเร็วกว่าโคจรรอบดาวพฤหัสบดี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการกระจายที่ไม่สมดุลของมวลภายในดวงจันทร์ยูโรปาและการมีน้ำ(ในรูปของเหลว)อยู่ระหว่างเปลือกน้ำแข็งและแกนหินข้างใน<ref name=Geissler>{{cite journal |last=Geissler |first=P. E. |coauthors=Greenberg, R.; Hoppa, G.; Helfenstein, P.; McEwen, A.; Pappalardo, R.; Tufts, R.; Ockert-Bell, M.; Sullivan, R.; Greeley, R.; Belton, M. J. S.; Denk, T.; Clark, B. E.; Burns, J.; Veverka, J. |year=1998 |title=Evidence for non-synchronous rotation of Europa |journal=[[Nature (magazine)|Nature]] |volume=391 |pages=368–70 |bibcode=1998Natur.391..368G |doi=10.1038/34869 |pmid=9450751 |issue=6665}}</ref>
 
ความผิดปกติเล็กน้อยของการโคจรของดวงจันทร์ยูโรปาซึ่งเกิดจากการรบกวนทางแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์กาลิเลียนดวงอื่นทำให้จุดที่มองเห็นดาวพฤหัสบดี ณ จุดจอมฟ้าของยูโรปาแกว่งไปเล็กน้อย เมื่อดวงจันทร์ยูโรปาเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดี แรงดึงดูดของดาวพฤหัสบดีจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ยูโรปาขยายตัวเข้าหา(และออกจาก)ดาวพฤหัสบดี เมื่อยูโรปาเคลื่อนห่างจากดาวพฤหัสบดี แรงดึงดูดของดาวพฤหัสบดีจะลดลง ทำให้ยูโรปากลับมาอยู่ในสภาพที่เป็นทรงกลมกว่า และดวงจันทร์ไอโอที่ส่งอิทธิพลกับความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรของยูโรปาอยู่ตลอดเวลา<ref name="Showman1997">{{cite journal|doi=10.1006/icar.1996.5669|last=Showman|first=Adam P.|author2=Malhotra, Renu|title=Tidal Evolution into the Laplace Resonance and the Resurfacing of Ganymede|journal=Icarus|volume=127|year=1997|issue=1|pages=93–111|
url=http://www.lpl.arizona.edu/~showman/publications/showman-malhotra-1997.pdf | format=PDF | bibcode=1997Icar..127...93S}}</ref>ก็ทำให้เกิด[[แรงไทดัล]]ขึ้น ทั้งสองปรากฏการณ์นี้ทำให้ภายในยูโรปาเปลี่ยนแปลงและเกิดความร้อน และอาจส่งผลให้มีมหาสมุทรอยู่ในรูปของเหลวได้<ref name="Showman1997" /><ref name="geology">{{cite web | url=http://geology.asu.edu/~glg_intro/planetary/p8.htm | title=Tidal Heating | work=geology.asu.edu | archiveurl=http://web.archive.org/web/20060329000051/http://geology.asu.edu/~glg_intro/planetary/p8.htm | archivedate=2006-03-29 | deadurl=no }}</ref>
 
นักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์รอยแตกบนพื้นผิวน้ำแข็งอันเป็นเอกลักษณ์ของยูโรปาว่าเกิดจากการที่ดวงจันทร์ดวงนี้หมุนรอบตัวเองตามแกนที่เอียง ณ ช่วงเวลาหนึ่งในอดีต หากสมมติฐานนี้เป็นจริง แกนเอียงนี้จะสามารถอธิบายลักษณะพิเศษต่างๆบนดวงจันทร์ดวงนี้ได้หลายอย่าง รอยร้าวที่เป็นร่างแหขนาดมหึมาบนพื้นผิวดวงจันทร์เป็นร่องรอยของ[[ความเค้น]]ในพื้นผิวอันมีสาเหตุมาจากคลื่นขนาดยักษ์ของมหาสมุทรภายในดวงจันทร์ การเอียงของยูโรปาจะส่งอิทธิพลต่อการคำนวณและวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของมันในพื้นผิวน้ำแข็ง ปริมาณความร้อนที่มหาสมุทรของมันสร้างขึ้น หรือแม้กระทั่งระยะเวลาที่มหาสมุทรของมันเป็นของเหลว ซึ่งพื้นผิวของดวงจันทร์จำเป็นต้องยืดออกเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และความเค้นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวนี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยแตกนั่นเอง <ref>Cook, Jia-Rui C. (18 September 2013) [http://www.jpl.nasa.gov/news/news.php?release=2013-283 Long-stressed Europa Likely Off-kilter at One Time]. jpl.nasa.gov</ref>
 
== ดูเพิ่ม ==