ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยฟาฏอนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
T.Cha. (คุย | ส่วนร่วม)
โปรดอย่าก่อกวนครับ ข้อมูลทุกอย่างได้ผ่านการตรวจสอบแล้วโดยได้นํามาจากเว็ปไซต์ของ ม.
T.Cha. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
| คำขวัญ = นำสัจธรรม สร้างสังคมสันติสุข<br />บัณฑิตมีภาวะผู้นำ คุณธรรม จริยธรรม และมุ่งพัฒนาสังคมสันติสุข
| established = [[3 เมษายน]] [[พ.ศ. 2541]]
| ประเภท = [[มหาวิทยาลัยเอกชน|มหาวิทยาลัยเอกชนอิสลาม]]
| head_label = นายกสภาฯ
| head = [[วันมูหะมัดนอร์ มะทา|นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา]]
บรรทัด 15:
| สี = {{color box|green}}{{color box|white}} เขียว-ขาว
| เว็บไซต์ = [http://www.yiu.ac.th/ www.yiu.ac.th/]
| ที่ตั้ง = '''วิทยาเขตยะลา''' <br />203/3 หมู่ 7 ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา [[จังหวัดยะลา]] 95000<br />
'''วิทยาเขตปัตตานี''' <br />135/8 หมู่ 3 ตำบลเขาตูม [[อำเภอยะรัง]] [[จังหวัดปัตตานี]] 94160<br />
| เว็บ = [http://www.yiu.ac.th/ www.yiu.ac.th/]
บรรทัด 23:
มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ [[3 เมษายน]] [[พ.ศ. 2541]] มีชื่อว่า '''"วิทยาลัยอิสลามยะลา"''' ภายหลังเป็น '''"มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา"''' โดยมูลนิธิเพื่อการอุดมศึกษาอิสลามภาคใต้ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ระดับ[[ปริญญาตรี]] จำนวน 200 คน ใน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาชะรีอะฮุ (กฎหมายอิสลาม) และสาขาวิชาอุศูลุดดีน (หลักการ[[ศาสนาอิสลาม]]) ซึ่งมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณด้านอาคาร และสิ่งก่อสร้างจากธนาคารอิสลามเพื่อการพัฒนา (LDB)
 
ต่อมาได้เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ [[14 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2550]]<ref>[http://www.mua.go.th/pr_web/know_ohec/university_1.xls สถาบันอุดมศึกษา]เว็บไซต์ สกอ.</ref> และเปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยฟาฏอนี" ในวันที่ [[3 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2556]]<ref name=mua/>
 
== ประวัติ ==
มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ตั้งอยู่ที่บ้านปารามีแต ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา บนเนื้อที่ 43 ไร่ ห่างจากตัวเมืองยะลาบนเส้นทางสายยะลาเบตง และสายยะลารามันประมาณ 7 กิโลเมตร ประกอบด้วยอาคารต่างๆ ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนการก่อสร้างจากธนาคารอิสลามเพื่อการพัฒนา ประเทศซาอุดิอาระเบีย (IDB) ทั้งหมด 6 อาคาร ได้แก่ อาคารมัสยิด อาคารเรียน อาคารหอพัก 3 หลัง นับเป็นวิทยาเขตแรกที่วิทยาลัยได้ดำเนินการเปิดสอนระดับอุดมศึกษา ปัจจุบันวิทยาเขตยะลา เป็นที่ตั้งของสถาบันภาษานานาชาติ
{{โครงส่วน}}
 
มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเป็นแหล่งความรู้ด้านอิสลามและสาขาวิชาอื่นๆ ผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาที่ตรงกับความต้องการของสังคม โดยมุ่งเน้นบัณฑิตที่จบจากวิทยาลัยจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม สร้างความเข้าใจอันดี ความกลมเกลียว ความร่วมมือระหว่างคนในชาติ และแก้ปัญหาต่างๆโดยสันติวิธี
 
ความคิดที่จะดำเนินการจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษามีขึ้นโดยกลุ่มนักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอกในประเทศ ซาอุดิอาราเบีย นำโดย นายอิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา นาย อิสมาแอ อาลี นายอับดุลฮาลิม ไซซิง นาย ญิฮาด บูงอตาหยง นาย มูฮำหมัด หะยีสาอิ นายอาหมัดอุมาร์ จะปะเกีย โดยเห็นว่าสังคมมุสลิมในประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องมีสถาบันอุดมศึกษาอิสลามเพื่อทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม อันเป็นรากฐานสำคัญสู่ความก้าวหน้าและมีความสงบสันติดังเจตนารมณ์ของอิสลามสืบต่อไป
 
ด้วยแนวคิดของกลุ่มนักศึกษาเหล่านี้ ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลบางคนในประเทศซาอุดิอาระเบีย เช่น นาย อับดุลลอฮฺ อัลบูซีย์ ช่างแกะสลักแหวนตามบาทวิถีในนครริยาด และได้บริจาคเงินรายได้จากการทำงานผ่าน นายอิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา จำนวน 30,000 เรียล (ประมาณ 210,000 บาท) และเงินจำนวนนี้ได้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินโดยคณะกรรมการก่อตั้งโครงการวิทยาลัยอิสลามเอกชนภาคใต้ จำนวน 70 ไร่ 32 ตารางวา ณ บ้านโสร่ง ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เพื่อเป็นสถานที่ก่อตั้งวิทยาลัย
 
มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี โดยรับนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 200 คน เมื่อปี [[พ.ศ.2541]] ใน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาชะรีอะฮฺ(กฎหมายอิสลาม) และ สาขาวิชาอุศูลุดดีน(หลักการศาสนาอิสลาม)8-9 พฤศจิกายน [[พ.ศ. 2541]] มหาวิทยาลัยได้จัดวันสถาปนาวิทยาลัยขึ้นเพื่อประกาศถึงการก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาอิสลามเอกชนแห่งแรกในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยมีเจ้าชายอมีรตุรกี บินฟัฮด บินญัลวี อาลิซูอูด ประธานองค์การสงเคราะห์มุสลิมนานาชาติ ให้เกียรติเสด็จเป็นประธานในพิธี ฯพณฯวันมูหะมัดนอร์ มะทา นายกสภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และประธานรัฐสภา (ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นประธานจัดงาน
 
ปี พ.ศ. 2544 มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาได้รับการอนุมัติให้เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา จากทบวงมหาวิทยาลัย โดยมีนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 49 คน
 
ปี พ.ศ. 2545 มหาวิทยาลัยได้รับการอนุมัติให้เปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอาหรับ
 
ปี พ.ศ. 2546 มหาวิทยาลัยได้รับการอนุมัติให้เปิดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
 
วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา วิทยาเขตปัตตานี ได้วางศิลารากฐาน 2 อาคาร คือ อาคารวิทยบริการและอาคารเศรษฐศาสตร์และการจัดการ โดยมีอุปทูตคูเวตประจำประเทศไทยเป็นประธานในพิธี และฯพณฯ วันมูหะมัดนอร์ มะทา รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะนายกสภามหาวิทยาลัยให้การต้อนรับพร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติอย่างคับคั่ง
 
วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2546 จัดพิธีประสาทปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีการศึกษา 2002 จำนวน 249 คน โดยมีท่านจุฬาราชมนตรี นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ เป็นประธานในพิธี
 
วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยหม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา ทรงเปิดมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาวิทยาเขตปัตตานีอย่างเป็นทางการ โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ข้าราชการ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป พร้อมใจร่วมให้การรับเสด็จฯ และได้รับเกียรติจากท่านจุฬาราชมนตรีได้เดินทางมาร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้ด้วย
 
ในภาคการศึกษาที่ 1 ปี พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยได้รับการอนุมัติให้เปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินและการธนาคาร และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) จากทบวงมหาวิทยาลัย
 
ในปี พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชะรีอะฮฺ และสาขาวิชาประวัติศาตร์และอารยธรรมอิสลาม และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
 
ในภาคการศึกษาที่ 1 ปี พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยได้รับการอนุมัติให้เปิดหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ) จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
 
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาได้ย้ายหน่วยงาน ส่วนใหญ่ไปตั้งที่วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 3 บ้านโสร่ง ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี บนที่ดินจำนวน 283 ไร่ ประกอบด้วย สำนักงานอธิการบดี คณะอิสลามศึกษา คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มัสยิดฮารอมัยน์ สำนักวิทยบริการ สำนักบริการการศึกษา สำนักกิจการนักศึกษา และอาคารหอประชุมวันมูหะมัดนอร์ มะทา
 
วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้ เปลี่ยนประเภทจากวิทยาลัยอิสลามยะลาเป็น มหาวิทยาลัย อิสลามยะลาอย่างเป็นทางการ และ ได้รับการอนุมัติให้เปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา และศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษามลายู (หลักสูตรนานาชาติ)ปี พ.ศ. 2551 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ
 
ใน ปีพ.ศ. 2551 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้เปิด หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอาหรับและวรรณคดี และหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิตสา ขาวิชาการปกครองในภาคการศึกษาที่ 1 ปี พ.ศ. 2552 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์<ref>[http://www.yiu.ac.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=425&Itemid=100 ข้อมูลเบื้องต้นประวัติมหาวิทยาลัยฟาฏอนี สืบค้น ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557]</ref>
 
== สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย ==
เส้น 48 ⟶ 80:
! วาระการดำรงตำแหน่ง
|-
| valign = "left" | 1. [[อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา|ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา]]
| valign = "top" | [[3 เมษายน]] [[พ.ศ. 2541]] - [[14 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2550]]
|-
เส้น 56 ⟶ 88:
! วาระการดำรงตำแหน่ง
|-
| valign = "left" | 1. [[อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา|ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา]]
| valign = "top" | [[14 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2550]] - [[3 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2556]]
|-
เส้น 64 ⟶ 96:
! วาระการดำรงตำแหน่ง
|-
| valign = "left" | 1. [[อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา|ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา]]
| valign = "top" | [[3 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2556]] - ปัจจุบัน
|-
เส้น 98 ⟶ 130:
{{โครงส่วน}}
 
== พิธีประสาทปริญญาบัตรปริญญา ==
{{โครงส่วน}}
 
เส้น 111 ⟶ 143:
203/3 หมู่ 7 ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา [[จังหวัดยะลา]]
* '''วิทยาเขตปัตตานี'''
เมื่อวันที่ [[10 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2547]] [[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร]] เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ|หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา]] ทรงเปิดวิทยาลัยอิสลามยะลา วิทยาเขตปัตตานี ที่ตำบลเขาตูม [[อำเภอยะรัง]] [[จังหวัดปัตตานี]]
 
== อ้างอิง ==