ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสริม ณ นคร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34:
'''พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เสริม ณ นคร''' อดีตผู้บัญชาการทหารบก, ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและอดีตรองนายกรัฐมนตรี เจ้าของ[[ฉายา]] ''"นายพลแก้มแดง"''
 
== ประวัติ ==
พล.อ.เสริม ณ นคร เกิดเมื่อวันที่ [[2 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2463]] ที่[[จังหวัดพระนคร]] เป็นบุตรของพันโทชุบ และนางละมุน ณ นคร จบการศึกษาจาก[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]]และจาก[[โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า]] เข้ารับราชการครั้งแรกเป็นผู้บังคับหมวดกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4 จากนั้นจึงเลื่อนขั้นและยศตามลำดับ อาทิ เสนาธิการทหารบก, ผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยได้รับพระราชทานยศ [[พลเรือเอก]] และ[[พลอากาศเอก]] นอกจากนี้ยังได้รับพระมหากรุณาธิกุลโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นองครักษ์เวร และตุลาการศาลทหารสูงสุด ทั้งยังเคยปฏิบัติราชการพิเศษ อาทิ ราชการสนาม[[กรณีพิพาทอินโดจีน]], [[สงครามมหาเอเชียบูรพา]], [[สงครามเกาหลี]] และ[[สงครามเวียดนาม]] จนได้รับเหรียญเดอะลีเจียนออฟเมอริท จาก[[รัฐบาลสหรัฐอเมริกา]] ในฐานะปฏิบัติหน้าที่ดีเด่นระหว่างดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังทหารไทยใน[[ประเทศเวียดนามใต้|สาธารณรัฐเวียดนาม]]
 
พล.อ.เสริม นับได้ว่าเป็นผู้พัฒนา[[กองทัพบกไทย|กองทัพบก]]ทุกด้านในพื้นฐานนโยบายแห่งชาติ โดยเสริมสร้างกำลังรบให้สามารถเผชิญกับภัยคุกคามทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดจัดตั้งกองกำลัง[[ทหารพราน]]เป็นกำลังสำรองเพื่อนำไปใช้ในการต่อสู้ป้องกัน[[การก่อการร้าย]]
 
ในด้าน[[การเมืองไทย|การเมือง]]เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.[[เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์]] ([[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 41 ของไทย|คณะรัฐบาลชุดที่ 41]]) และในรัฐบาล พล.อ.[[เปรม ติณสูลานนท์ ]] ([[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 42 ของไทย|คณะรัฐมนตรีชุดที่ 42]]) อีกทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์[[กบฏ 26 มีนาคม 2520|กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520]], เหตุการณ์[[กบฏเมษาฮาวาย ]]ระหว่างวันที่ [[1 เมษายน]]-[[3 เมษายน]] [[พ.ศ. 2524]] และเหตุการณ์[[กบฏ 9 กันยา|กบฏ 9 กันยายน พ.ศ. 2528]] โดยเฉพาะในเหตุการณ์กบฏ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 ได้ถูกคณะผู้ก่อการประกาศชื่อให้เป็นหัวหน้าด้วย
 
ด้านครอบครัว [[สมรส]]กับ คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร มีธิดา 2 คน
 
พล.อ.เสริม ณ นคร ถึงแก่[[เสียชีวิต|อนิจกรรม]]เมื่อวันที่ [[5 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2552]] ที่[[โรงพยาบาลวชิรพยาบาล]] เนื่องจากติดเชื้อในกระแสโลหิตจาก[[โรคมะเร็ง]] สิริอายุได้ 89 ปี มีการสวดพระอภิธรรมศพที่[[วัดมกุฏกษัตริยาราม]] และงานพระราชทานเพลิงศพมีขึ้น ณ [[วัดเทพศิรินทราวาส]] ในวันที่ 2 มีนาคม [[พ.ศ. 2553]] โดยมี [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธี
 
== งานการเมือง ==
ในด้าน[[การเมืองไทย|การเมือง]]เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.[[เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์]] ([[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 41 ของไทย|คณะรัฐบาลชุดที่ 41]]) และในรัฐบาล พล.อ.[[เปรม ติณสูลานนท์ ]] ([[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 42 ของไทย|คณะรัฐมนตรีชุดที่ 42]]) อีกทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์[[กบฏ 26 มีนาคม 2520|กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520]], เหตุการณ์[[กบฏเมษาฮาวาย ]]ระหว่างวันที่ [[1 เมษายน]]-[[3 เมษายน]] [[พ.ศ. 2524]] และเหตุการณ์[[กบฏ 9 กันยา|กบฏ 9 กันยายน พ.ศ. 2528]] โดยเฉพาะในเหตุการณ์กบฏ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 ได้ถูกคณะผู้ก่อการประกาศชื่อให้เป็นหัวหน้าด้วย
 
พล.อ.เสริม เคยได้รับแต่งตั้งเป็น[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516|สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2516/A/171/1.PDF พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]</ref>
 
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* ข่าวในพระราชสำนัก ประจำวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553
 
เส้น 60 ⟶ 67:
[[หมวดหมู่:บุคคลจากกรุงเทพมหานคร‎‎]]
[[หมวดหมู่:รองนายกรัฐมนตรีไทย]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]
[[หมวดหมู่:สกุล ณ นคร]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]