ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nikorn.t (คุย | ส่วนร่วม)
แน่งน้อย ศักดิ์ศรี ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี: คงคำนำหน้าที่มีม�
Nikorn.t (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ภาพ:Nangnoi Saksri 1.JPG|thumb|ศาสตราจารย์กิตติคุณ หม่อมราชวงศ์ แน่งน้อย ศักดิ์ศรี]]
'''หม่อมราชวงศ์ แน่งน้อย ศักดิ์ศรี''' (เกษมศรี) ([[19 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2476|2476]] - ) [[ศาสตราจารย์กิตติคุณ]] [[นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ]] สถาปนิกดีเด่น ผู้บุกเบิกงานวิจัยสถาปัตยกรรม[[สมัยรัตนโกสินทร์]] ผู้ร่วมก่อตั้งสาขาสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
'''ศาสตราจารย์กิตติคุณ หม่อมราชวงศ์ แน่งน้อย ศักดิ์ศรี''' ได้รับพระราชทานปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จาก [[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2499]] และได้รับปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิตจาก[[มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย]] ในปี [[พ.ศ. 2504]] ศาสตราจารย์ กิตติคุณ หม่อมราชวงศ์ แน่งน้อย ศักดิ์ศรี เข้ารับราชการตำแหน่งอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ [[1 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2500]] จนเกษียณอายุราชการเมื่อปี [[พ.ศ. 2537]]
 
== การศึกษาและผลงาน ==
ขณะศึกษาอยู่ที่คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ เคยได้รับเลือกเป็นนายกชุมนุมนิสิตหญิงคณะ ทำงานร่วมกับนายกชุมนุมนิสิตหญิงของมหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ แน่งน้อย ศักดิ์ศรี เป็นบุคคลสำคัญผู้หนึ่งที่ทำให้การศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อรูปร่างมั่นคงตราบจนกระทั่งทุกวันนี้ และได้ปลูกฝังให้ลูกศิษย์ตระหนักถึงความสำคัญและการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมแห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีผลงานการค้นคว้าวิจัยเป็นที่ปรากฏยกย่องในวงวิชาการมากมาย เช่น การศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาด้วยข้อมูลเอกสารเบื้องต้น เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ ([[รัชกาลที่ 3|ร. 3]] – [[รัชกาลที่ 5|ร. 5]]) แกนนำในการขยายตัวของกรุงเทพมหานครในอดีต วิวัฒนาการทางสถาปัตยกรรมในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่ต้นรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] ถึงปลายรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พ.ศ. 2325 – 2453 เป็นต้น
 
'''ศาสตราจารย์กิตติคุณ หม่อมราชวงศ์ แน่งน้อย ศักดิ์ศรี''' ได้รับการยกย่องให้เป็น[[สถาปนิกดีเด่น]] ประจำปี พ.ศ. 2537 โดย [[สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์]] เป็น[[นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ]]ประจำปี พ.ศ. 2538 เป็นปูชนียบุคคลด้านสถาปัตยกรรมไทยประจำพุทธศักราช 2538 โดยคณะกรรมการอำนวยการวันมรดกไทย และได้รับพระราชทานปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ในปี [[พ.ศ. 2541]]
 
== อ้างอิง ==