ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นะ (วิญญาณ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''นัต''' ({{MYname|MY=[[ไฟล์:Nat.png]]‌|MLCTS=nat}}; {{lang-en|nat}}; {{IPA2|naʔ}}) ออกเสียง ''น่ะต์'' (มาจากคำว่า ''นาถะ'' ใน[[ภาษาบาลี]] ที่แปลว่า "ที่พึ่ง")<ref>''ธรรมะนิยาม'' ตอน ธรรมะในพม่า (2) [[รายการโทรทัศน์|รายการ]]: [[วันเสาร์|เสาร์]]ที่ [[26 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2555]] ทาง[[บลูสกายแชนแนล]]</ref><ref>[http://lannaworld.com/cgi/lannaboard/reply_topic.php?id=6728 นัต ที่ชาวพม่านับถือ คือผี หรือ เทวดาครับ]</ref> หมายถึง[[ผี]]ของชาวพม่า เป็นความเชื่อพื้นเมืองที่มีมาก่อนที่[[พุทธศาสนา]]จะเข้ามาในพม่า นัตเป็นผีบรรพบุรุษ ลักษณะกึ่งผีกึ่ง[[เทวดา]] คล้าย[[เทพารักษ์]] คอยดูแลคุ้มครองสถานที่ที่ตนเมื่อครั้งยังมีชีวิตมีความสัมพันธ์อยู่ โดยอาจจะมีศาลลักษณะคล้ายศาลเพียงตาตั้งบูชาอยู่ในสถานที่นั้น ๆ
 
แต่เดิม นัตเป็นเพียงผีหรือวิญญาณทั่วไปที่สิงสถิตย์ตามธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ หรือภูเขา แต่เมื่อกาลเวลาไปเปลี่ยนผ่านไป ความเชื่อเชื่อว่า นัตเริ่มมีตัวตนและเริามผูกพันเข้ากับการตายของคน จึงกลายเป็นสภาพผีอย่างที่เชื่ออยู่ในปัจจุบัน
เมื่อ[[พระเจ้าอโนรธามังช่อ]] แห่ง[[อาณาจักรพุกาม|ราชวงศ์พุกาม]] นำศาสนาพุทธนิกายเถรวาทจากมอญเข้าสู่พม่า ใน[[พุทธศตวรรษที่ 18]] ความเชื่อเรื่องนัตจึงถูกผสมผสานเข้ากับศาสนาพุทธ นัตถูกยกระดับให้เป็นนัตหลวง คือ นัตระดับประเทศ โดยพระองค์ได้ทำการตั้งศาลนัตหลวงขึ้นที่เขาโปปา หรือเรียกว่า มหาคีรีนัต 1,300 เมตร ใกล้เมืองพุกาม มีทั้งหมด 37 องค์ โดยองค์สำคัญคือ นัตตัจจาเมง (หรือ นัตสักรา หรือ [[พระอินทร์]]), นัต[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]], นัตโยนบะเยง (นัต[[พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์]]) เป็นต้น
 
เมื่อ[[พระเจ้าอโนรธามังช่อ]] แห่ง[[อาณาจักรพุกาม|ราชวงศ์พุกาม]] นำศาสนาพุทธนิกายเถรวาทจากมอญเข้าสู่พม่า ใน[[พุทธศตวรรษที่ 18]] ความเชื่อเรื่องนัตจึงถูกผสมผสานเข้ากับศาสนาพุทธ โดยยกเลิกการบูชานัตตามแบบพื้นบ้าน และนัตถูกยกระดับให้เป็นนัตหลวง คือ นัตระดับประเทศ โดยพระองค์ได้ทำการตั้งศาลนัตหลวงขึ้นที่[[เขาโปปา]] หรือเรียกว่า มหาคีรีนัต 1,300 เมตร ใกล้เมืองพุกาม มีทั้งหมด 37 องค์ โดยองค์สำคัญคือ นัตตัจจาเมง (หรือ นัตสักรา หรือ [[พระอินทร์]]), นัต[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]], นัตโยนบะเยง (นัต[[พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์]]) เป็นต้น
 
โดยบุคคลที่จะได้รับการรับถือเป็นนัตนั้น ต้องมาจากสาเหตุการตายที่ไม่ใช่การตายธรรมดา กล่าวโดยง่ายคือ ตายโหง (ตายด้วยโรคปัจจุบันที่ไม่ใช่ด้วยโรคชรา) หรือ ตายห่า ([[อหิวาตกโรค]]) นั่นเอง เพราะเชื่อว่าจะมีฤทธานุภาพสูงกว่าผีทั่ว ๆ ไป
 
นัตถูกแบ่งออกได้เป็น 3 จำพวก คือ นัตพุทธ, นัตใน (นัตที่มีถิ่นฐานอยู่ที่ประเทศอินเดียและเป็นนัตท้องถิ่น) และนัตนอก (นัตที่มีถิ่นฐานอยู่นอกกำแพง[[พระมหาธาตุเจดีย์ชเวซีโกน|เจดีย์ชเวสิโกง]]) ซึ่งนัตที่สำคัญและผูกพันกับชาวพม่ามากที่สุด คือ นัตนอก หรือนัตหลวง <ref name="นัต"/>
 
== รายชื่อผีนัต ==
เส้น 64 ⟶ 68:
{{ล่าง}}
 
=== รูปลักษณ์ของนัตหลวงทั้ง 3637 ตน ===
'''''หมายเหตุ:''' ภาพและชื่อของนัตในที่นี้ได้มาจากหนังสือ "The Thirty Seven Nats" โดย Sir Richard Carnac Temple (พิมพ์เมื่อ ค.ศ.1906) ซึ่งชื่อของนัตที่ปรากฏอาจไม่ตรงกับรายชื่อข้างบน เนื่องจากยังไม่สามารถหาคำแปลเทียบเคียงกับรายชื่อข้างต้นได้''
 
เส้น 92 ⟶ 96:
ไฟล์:Mandalay Bodaw Nat.jpg|မန္တလေးဘိုးတော်<br />มันดะเลย์โบดอ<br />ปู่เจ้าแห่งมัณฑะเลย์
ไฟล์:Shwebyin_Naungdaw_Nat.jpg|ရွှေဖျင်းနောင်တော်‌<br />ชเวปยินนองดอ<br />เจ้าเทพทองใหญ่
ไฟล์:Shwebyin_Nyidaw_Nat.jpg|ရွှေဖျင်းညီတော်<br />ชเวปยินยีดอ<br />เจ้าเทพทองน้อย <br>นัตสองพี่น้อง
ไฟล์:Mintha Maungshin Nat.jpg|မင်းသားမောင်ရှင်<br />เมงตามองเชง<br />เจ้าชิงช้าหนุ่ม
ไฟล์:Htibyusaung Nat.jpg|ထီးဖြူဆောင်း<br />กวมส่องจ่องพยู<br />[[กวมส่องจ่องพยู|เจ้าฉัตรขาว]]
เส้น 105 ⟶ 109:
ไฟล์:Shin Nemi Nat.jpg|ရှင်နှဲမိ, မနှဲကလေး<br />ฉิ่งเนมิ, มะเนกะเล<br />นางฉิ่งเนมิ, เจ้านางผิวขลุ่ย
</gallery>
 
==การบูชานัต==
ในประเทศพม่า การบูชาหรือประเพณีเกี่ยวกับผีนัต มีตลอดทั้งปี แต่งานเทศกาลเกี่ยวกับนัตที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุด คือ หมู่บ้านต่องปะโยง ใน[[เขตมัณฑะเลย์]] เป็นเวลา 6 วัน ในเดือนสิงหาคมของทุกปี เนื่องจากนัตสองพี่น้อง หรือ ชเวปยินยีดอ เคยอาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโนรธา ซึ่งเชื่อว่าเป็นเชื้อสายแขกผสมพม่า ถูกสั่งประหาร ณ ที่แห่งนี้ เนื่องจากละเลยต่อการขนอิฐสร้างพุทธเจดีย์ตามพระราชบัญชา
 
คนทรงนัต มีชื่อเรียกว่า "นัตกะด่อ" นัตกะด่อจะนับถือนัตชเวปยินยีดอเป็นเสมือนนัตครู นัตกะด่อจากทั่วพม่าจะเดินทางมาที่นี่เพื่อบูชาปีละครั้ง ผู้ที่เป็นนัตกะด่อจะเป็นผู้ที่ชาวพม่าให้ความเคารพในทุกชนชั้น และความเชื่อจะถูกส่งต่อมาเป็นทอด ๆ หากพ่อแม่ศรัทธานัตกะด่อคนใด ลูกหลานก็จะถูกพามาด้วยและมอบตัวเป็นศิษย์
 
นัตกะด่อ ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างนัตกับมนุษย์ ซึ่งนัตกะด่อแต่ละคนสามารถเข้าทรงนัตได้หลายตน ไม่จำกัดเฉพาะตนใดตนหนึ่ง แต่การที่จะเข้าทรงนัตตนใด ก็จะมีการแต่งกายที่แตกต่างกันออกไป แต่เดิมผู้ที่หน้าที่เป็นนัตกะด่อจะเป็นผู้หญิง และได้รับการนับถือว่าเป็นภรรยาของนัต และสืบทอดกันทางสายเลือดจากแม่สู่ลูก ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงได้มีนัตกะด่อที่เป็นผู้ชาย แต่ก็มีจำนวนน้อย ต่อมาในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 นัตกะด่อที่เป็น[[กะเทย|เพศที่สาม]]จึงปรากฏ และมีมากขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ทั้งที่ในสังคมพม่าในยุคนั้นยังไม่ค่อยเปิดรับมากกับสภาพเพศที่สาม การที่บุคคลเพศที่สามได้เป็นนัตกะด่อเนื่องจากเชื่อว่าบุคคลที่มีเพศสภาพเช่นนี้ เหมาะสมที่สุดที่เป็นผู้ติดต่อกันระหว่างโลกมนุษย์กับโลกแห่งวิญญาณ ซึ่งในปัจจุบัน นัตกะด่อที่เป็นเพศที่สามได้รับความนิยมมากกว่านัตกะด่อที่เป็นชายจริง หญิงแท้ เสียอีก
 
ก่อนการเข้าทรง จะมีการจัดเลี้ยงอาหารต่อผู้มาร่วมงานและบูชาพระรัตนตรัย และบูชานัต โดยเครื่องบูชาหลัก คือ มะพร้าว เนื่องจากมินมหาคีรีนัต ซึ่งสิงสถิตย์อยู่ยังเขาโปปา ตายเพราะถูกไฟคลอกในรัชสมัย[[พระเจ้าจานสิตา]] น้ำมะพร้าวมีคุณสมบัติเย็นและช่วยดับร้อน อันจะทำให้นัตพึงพอใจ นอกจากนี้ยังมีกล้วย และธูปเทียนต่าง ๆ
 
ในหมู่บ้านต่องปะโยง จะมีปะรำพิธีสำหรับนัตกะด่อแต่ละคนที่จะมาเข้าทรง โดยจัดเวียนกันเป็นรอบ ๆ เมื่อถึงรอบของใคร ผู้นำก็จะนำพารำมายังปะรำพิธีซึ่งมีปี่พาทย์ประโคมรออยู่แล้ว ซึ่งบริเวณที่จัดงานจะเป็นงานนอกกำแพงวัด เนื่องจากเป็นการเข้าทรงนัตนอก ซึ่งมีถิ่นฐานนอกกำแพงเจดีย์ชเวสิโกง
 
การเข้าทรงนัต นัตกะด่อจะฟ้อนรำไปตามจังหวะเสียงเพลง โดยมีสาวกหรือผู้ศรัทธาติดตามไป ช่วงที่สำคัญ คือ นัตกะด่อโปรยเงินแจกจ่ายสำหรับผู้ที่ยืนดู ซึ่งสามารถใช้ความมั่งคั่งของนัตกะด่อเป็นเครื่องวัดความมีชื่อเสียงของนัตกะด่อผู้นั้นได้ และก็มักมีการเข้าทรงเกิดขึ้นมากมายในบรรดาผู้ที่เข้าร่วมงานทั้งที่ไม่ใช่นัตกะด่อ
 
แม้ผ่านกาลเวลามานานกว่าสองพันปี และถูกท้าทายความเชื่อทั้งเคยมีความพยายามที่จะยกเลิกการบูชาและความเชื่อเรืิ่องผีนัต แต่ปัจจุบัน เชื่อว่ามีชาวพม่ากว่าร้อยละ 80 ที่ยังคงนับถือนัตอยู่ <ref name="นัต">{{cite web|url=http://program.thaipbs.or.th/documentaryprogram/article41834.ece?episodeID=575091|title= Spirit of Asia: ผีนัต|date=22 June 2013|accessdate=4 July 2014|publisher=ไทยพีบีเอส}}</ref>
 
== ความเชื่อเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์ของนัต ==