ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:CPKbanner.svg|thumb|250px|[[ธงแดง]]รูป[[ค้อนเคียว]]ของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา (ต่อมาคือพรรคกัมพูชาประชาธิปไตย)]]
{{ความหมายอื่น|พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาโดยภาพรวม|กลุ่มเขมรแดงของพล พต|เขมรแดง}}
'''พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา''' (Communist Party of Kampuchea; {{lang-km|គណបក្សកុំមុយនីសកម្ពុជា}}; '''CPK''') หรือ'''พรรคคอมมิวนิสต์เขมร''' (Khmer Communist Party),<ref>[http://www.country-data.com/frd/cs/cambodia/kh_appnb.html Cambodia and the '''Khmer People's Revolutionary Party''' '''(KPRP)''', Appendix B - Major Political and Military Organizations]</ref> เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา ซึ่งต่อมา กลุ่มที่ได้ครองอำนาจรัฐใน พ.ศ. 2518 ถูกเรียกว่าเขมรแดง ภายหลังได้แบ่งแยกออกเป็นสองพรรคคือ พรรคกัมพูชาประชาธิปไตยหรือ[[เขมรแดง]] เดิมเรียกตัวเองว่า พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา ต่อมาเปลี่ยนเป็นพรรคกัมพูชาประชาธิปไตย พรรคนี้ไม่ได้รับการยอมรับจาก[[พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม]]ว่าเป็นพรรคคอมมิวนิสต์เสมอกับตนแต่ถือเป็นเพียงสาขาของพรรคเท่านั้น แต่ได้รับการยอมรับและการสนับสนุนจาก[[พรรคคอมมิวนิสต์จีน]] <ref>เขียว สัมพัน. ประวัติศาสตร์กัมพูชากับจุดยืนที่ผ่านมาของข้าพเจ้า. อภิญญา ตะวันออก แปล. กทม.มติชน .2549.</ref> โดยทั่วไปนิยมเรียกว่าเขมรแดงมากกว่า อีกพรรคหนึ่งที่แยกตัวออกไปเมื่อ พ.ศ. 2521 คือ[[พรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชา]] เป็นพรรคที่มีอุดมการณ์แบบคอมมิวนิสต์ที่ได้รับการสนับสนุนจาก[[เวียดนาม]]และ[[สหภาพโซเวียต]] ต่อมาเปลี่ยนเป็น[[พรรคประชาชนกัมพูชา]]
== กัมพูชาฝ่ายซ้าย ==
วันที่ [[3 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2473]] [[โฮจิมินห์]]ได้ประกาศจัดตั้ง "[[พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม]]" (Parti communiste vietnamien หรือ Việt Nam Cộng Sản Đảng) ขึ้น ด้วยการรวมเอา[[พรรคคอมมิวนิสต์]]ใน[[เวียดนาม]] จากแคว้น[[ตังเกี๋ย]] [[อันนัม]] และ[[เทนินห์]] (โคชินจีน) จำนวน 3 กลุ่ม เข้าไว้ด้วยกัน แต่ต่อมาไม่นาน ชื่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนามก็ถูกเปลี่ยนเป็น "พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน" (Parti communiste indochinois – PCI) <ref>ศรีประภา เพชรมีศรี. “การเมืองการปกครองของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม, ” ''เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : การเมืองการปกครองหลังสิ้นสุดสงครามเย็น'', สีดา สอนศรี บรรณาธิการ (กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544.) หน้า 337</ref><ref>การเปลี่ยนชื่อจาก พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนาม เป็น พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน นั้น นรนิติ เศรษฐบุตร ได้ให้เหตุผลว่า [[องค์การคอมมิวนิสต์สากล]] (Comintern) เห็นว่าถ้าใช้ชื่อพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามแล้ว แนวร่วมคอมมิวนิสต์ในกัมพูชาและลาวจะตีตนออกห่างได้ ดู นรนิติ เศรษฐบุตร. ''อุดมการณ์หรือผลประโยชน์ : การขัดกันระหว่างรัสเซียกับจีน และญวนกับเขมร'' (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แพร่พิทยา.) หน้า 13</ref> และได้รับเอากลุ่มปฏิวัติคอมมิวนิสต์จาก[[กัมพูชา]]และ[[ลาว]]เข้ามาเป็นสมาชิกด้วย ในช่วงแรก สมาชิกในพรรคส่วนใหญ่ยังเป็น[[ชาวเวียดนาม]] จนกระทั่งหลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] สิ้นสุด ชาวกัมพูชาจึงเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม อิทธิพลที่สมาชิกชาวกัมพูชามีต่อการเคลื่อนไหวของลัทธิคอมมิวนิสต์ใน[[อินโดจีน]]และการพัฒนาภายในกัมพูชานั้น ยังอยู่ในระดับต่ำ
เส้น 6 ⟶ 7:
ในช่วงที่กัมพูชากำลังทำสงครามเรียกร้องเอกราชกับ[[ฝรั่งเศส]] กองกำลัง[[เวียดมินห์]] จากเวียดนาม ก็เริ่มเข้ามาสนับสนุนให้เกิด “การต่อสู้เพื่อปลดปล่อย” ขึ้นในกัมพูชา พร้อมกันนั้น รัฐบาลพลเรือนที่ปกครอง[[ราชอาณาจักรไทย]]ช่วง [[พ.ศ. 2489]] – [[พ.ศ. 2490|2490]] ก็มีนโยบายสนับสนุนกองกำลัง “[[เขมรอิสระ]]” (Khmer Issarak) ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อต่อต้านฝรั่งเศส ให้ปฏิบัติการตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และพื้นที่ใต้การยึดครองของไทยในขณะนั้น ซึ่งได้แก่ [[เสียมราฐ]]และ[[พระตะบอง]] ได้ ต่อมาใน [[พ.ศ. 2493]] (25 ปีก่อนที่กองกำลังเขมรแดงจะบุกยึด[[กรุงพนมเปญ]]) กลุ่มเขมรอิสระได้จัดการประชุมสมัชชาแห่งชาติเป็นครั้งแรก ในวันที่ [[17 เมษายน]] ผลจากการประชุมครั้งนั้น นำไปสู่การก่อตั้ง [[สมาคมเขมรอิสระ]] (United Issarak Front) โดยมีผู้นำกลุ่มคือ[[เซิง งอกมิญ]] ร่วมกับกลุ่มแกนนำที่ส่วนใหญ่เป็นสมาชิก[[พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน]]เชื้อสายเขมร เมื่อเวลาผ่านไป กองกำลังเขมรอิสระภายใต้การควบคุมของฝ่ายคอมมิวนิสต์ ก็เติบโตมากขึ้น จนกระทั่งใน [[พ.ศ. 2495]] เขมรอิสระ ซึ่งปฏิบัติการร่วมกับขบวนการเวียดมินห์ ก็สามารถครองพื้นที่ได้ประมาณหนึ่งในหกของกัมพูชา และขยายอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่งของประเทศได้ ในอีก 2 ปีต่อมา ในช่วงที่มี[[การประชุมนานาชาติที่เมืองเจนีวา]] [[สมาพันธรัฐสวิส]]<ref>เดวิด แชนด์เลอร์, พรรณงาม เง่าธรรมสาร สดใส ขันติวรพงศ์ วงเดือน นาราสัจจ์ แปล. ''ประวัติศาสตร์กัมพูชา'', พรรณงาม เง่าธรรมสาร บรรณาธิการแปล (กรุงเทพฯ : มูลนิธิตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2543.) หน้า 284</ref>
 
ใน [[พ.ศ. 2494]] หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนยุบตัวลง ก็ได้มีการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เอกเทศขึ้น 3 พรรค ได้แก่ [[พรรคกรรมกรเวียดนาม]] (parti des travailleurs du Viêt Nam) ในเวียดนาม เวียด-[[พรรคลาวอิสระขบวนการปะเทดลาว]] (Pathed Lao Itsala) ใน[[ลาว]] และ[[พรรคปฏิวัติประชาชนเขมร]] (Parti révolutionnaire du peuple du Kampuchea – PRPK) ในกัมพูชา โดยพรรคที่ถือว่ามีบทบาทในการเคลื่อนไหวมากที่สุดคือ[[พรรคกรรมกรเวียดนาม]]
 
== การก่อตั้งพรรคระยะแรก ==
เส้น 30 ⟶ 31:
ใน พ.ศ. 2502 เซียว เฮงยอมมอบตัวต่อรัฐบาลและให้ข้อมูลที่ตั้งพรรคในเขตชนบท ทำให้รัฐบาลทำลายที่ตั้งของพรรคได้ถึง 90% ส่งผลให้ใน [[พ.ศ. 2503]] จำนวนกองกำลังคอมมิวนิสต์ในกรุงพนมเปญและเมืองอื่น ๆ ของกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้เขตอำนาจของตู สามุตเป็นส่วนใหญ่ เหลือสมาชิกไม่ถึงร้อยคนใน พ.ศ. 2503
== ในระบอบสังคมของพระนโรดม สีหนุ ==
[[ไฟล์:สถานีรถไฟกรุงพนมเปญ.jpg|thumb|300px|left|[[สถานีรถไฟกรุงพนมเปญ]] สถานที่ที่เคยใช้จัดประชุมสมัชชาพรรคปฏิวัติประชาชนเขมรอย่างลับ ๆ]]
 
ระหว่างวันที่ 28 – 30 กันยายน พ.ศ. 2503 ผู้นำ 21 คนของพรรคปฏิวัติได้มีการประชุมลับที่สถานีรถไฟในกรุงพนมเปญ ซึ่งมาจากฝายในเมือง 14 คน ฝายชนบท 7 คน และเกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายที่นิยมเวียดนามและฝ่ายต่อต้านเวียดนามขึ้นในการประชุมครั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้ พรรคเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคกรรมกรกัมพูชา โดยมีประเด็นสำคัญคือจะร่วมมือกับพระนโรดม สีหนุหรือไม่ มีการจัดตั้งโครงสร้างพรรคขึ้นใหม่ โดยมีคณะกรรมการกลาง ตู สามุตเป็นเลขาธิการทั่วไป นวน เจียเป็นรองเลขาธิการ คณะกรรมการมี พล พต เอียง ซารี และ[[แก้ว เมียส]] ในสมัยกัมพูชาประชาธิปไตยจะถือว่าวันนี้เป็นวันก่อตั้งพรรค
 
เส้น 42 ⟶ 45:
ความสำคัญทางการเมืองของเขมรแดงเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากรัฐประหาร พ.ศ. 2513 พระนโรดม สีหนุที่ลี้ภัยไปปักกิ่งได้ตกลงเป็นพันธมิตรกับเขมรแดงและประกาศตนเป็นรัฐบาลพลัดถิ่น ซึ่งมรจีนหนุนหลัง ความนิยมต่อพระนโรดม สีหนุในเขตชนบท ทำให้เขมรแดงแผ่อำนาจได้เร็ว และสามารถยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในกัมพูชาได้ ใน พ.ศ. 2516 นักประวัติศาสตร์มักจะกล่าวว่าการแทรกแซงและการทิ้งระเบิดของสหรัฐระหว่าง พ.ศ. 2508 – 2516 เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขมรแดงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เมื่อสหรัฐหยุดให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลของ[[ลน นล]]ใน พ.ศ. 2516 เขมรแดงได้ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศก่อนจะเข้ายึดพนมเปญในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 ล้มล้างรัฐบาล[[สาธารณรัฐเขมร]]ในที่สุด
== เขมรแดงเมื่อครองอำนาจ ==
[[ไฟล์:กลุ่มผู้นำเขมรแดง.jpg|thumb|223px|ภาพสมาชิกระดับผู้นำของเขมรแดง - พล พต หรือซาลอธ ซาร์ หัวหน้าขบวนการ ยืนอยู่ตำแหน่งซ้ายมือสุด (ภาพนี้ถูกแสดงในพิพิธภัณฑ์ตวล สเลง)]]
ผู้นำของเขมรแดงไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คณะกรรมการของพรรคระหว่างครองอำนาจได้แก่
* พี่ชายหมายเลข 1 พล พต หรือลต ซอร์ เป็นเลขาธิการทั่วไปของพรรคระหว่าง พ.ศ. 2506 – 2541 เป็นนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาประชาธิปไตยระหว่าง พ.ศ. 2519 – 2522
เส้น 52 ⟶ 56:
* [[ยุน ยัต]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2518 – 2520 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศ (แทนที่ ฮู นิมใน พ.ศ. 2520)
ในระหว่างที่มีอำนาจ เขมรแดงจัดการให้ประเทศปลอดจากอิทธิพลของต่างชาติ ปิดโรงเรียน โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม ยกเลิกธนาคาร การเงิน สกุลเงิน สั่งให้การนับถือศาสนาผิดกฎหมาย บังคับให้ประชาชนอพยพออกจากเมือง ไปอยู่ในนารวม เพื่อเปลี่ยนชาวกัมพูชาทั้งหมดให้เป็นประชาชนเก่าที่อยู่ได้ด้วยการเกษตร ทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องล้มตาย ทั้งการขาดอาหาร โรคระบาด และถูกประหาร ในพนมเปญและเมืองอื่นๆ เขมรแดงบังคับให้ประชาชนอพยพออกมาเพราะอ้างว่าสหรัฐอเมริกาจะมาทิ้งระเบิด ประชาชนต้องไปอยู่ตามคอมมูน และค่ายสำหรับใช้แรงงาน คนบางกลุ่มถูกเลือกไปประหารชีวิต เช่นเจ้าหน้าที่ของสาธารณรัฐเขมร และคนที่มีความรู้ รวมทั้งคนที่สงสัยว่าจะทรยศ
[[File:Choeungek2.JPG|thumb|กะโหลกศีรษะของเหยื่อของเขมรแดง]]
 
[[File:Khmer Rouge Victims.JPG|thumb|180px|ส่วนที่เหลืออยู่ของเหยื่อของเขมรแดงที่ Kampong Trach Cave, Kiry Seila Hills, Rung Tik (Water Cave) หรือ Rung Khmao (Dead Cave).]]
อย่างไรก็ตาม ภายในพรรคได้เกิดความแตกแยกภายในโดยเกิดกลุ่มที่ต่อต้าน พล พตขึ้น โดยเกิดการต่อต้านใน พ.ศ. 2520 และ 2521 ทำให้มีผู้ถูกประหารชีวิตนับพันคนรวมทั้งผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ด้วย ทั้งนี้ ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์รุ่นเก่าที่เคยมีความเกี่ยวข้องกับเวียดนามจะตกเป็นเป้าหมายของ พล พต
=== องค์กรหรืออังการ์ ===