ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Abhichartt (คุย | ส่วนร่วม)
Abhichartt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ประวัติศาสตร์ไทย}}
[[ไฟล์:Soldiers Siam 1932.gif|thumb|225px|ทหารขณะรอคำสั่งที่[[ลานพระราชวังดุสิต]] 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475]]
'''การ[[ปฏิวัติ]]สยาม พ.ศ. 2475'''<ref>สำหรับการปฏิวัติ [[ชาวไทย]]ทั่วไปนิยมเรียกโดยง่ายว่า ''การเปลี่ยนแปลงการปกครอง'' หรือเรียกโดยผิดจากความหมายที่แท้จริงว่า ''[[รัฐประหาร]]''</ref> เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์ไทยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ [[24 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2475]] ซึ่งมีผลทำให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบ[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]]ไปเป็น[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]] และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นระบอบ[[ประชาธิปไตย]]แบบรัฐสภา เกิดขึ้นจากคณะนายทหารและพลเรือนที่ประกอบกัน เรียกตนเองว่า "[[คณะราษฎร]]" โดยเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์โลก ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองภายในประเทศ การปฏิวัติดังกล่าวทำให้ประเทศสยามมี[[พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475|รัฐธรรมนูญฉบับแรก]]
 
== เบื้องหลัง ==
{{ประวัติศาสตร์ไทย}}
[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยในหลายด้าน แต่การปฏิรูปรัฐธรรมนูญกลับเป็นไปอย่างเชื่องช้าซึ่งสร้างความไม่พอใจในหมู่พวกหัวก้าวหน้าและพวกหัวรุนแรง<ref name="Page four">Stowe p.4</ref> ในปี พ.ศ. 2454 ได้เกิด[[กบฏ ร.ศ. 130]] ซึ่งดำเนินการโดยคณะนายทหารหนุ่ม เป้าหมายของคณะคือเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองและล้มล้างระบอบเก่าและแทนที่ด้วยระบบรัฐธรรมนูญตะวันตกที่ทันสมัย และอาจต้องการยกพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นเป็นพระมหากษัตริย์แทนด้วย<ref name="Page one fivefive">Kesboonchoo Meade p.155</ref> การปฏิวัติดังกล่าวล้มเหลวและผู้ก่อการถูกจำคุก นับแต่นั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลิกความพยายามส่วนใหญ่ในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญและทรงปกครองประเทศต่อไปภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีข้อยกเว้นบ้างที่โปรดฯ แต่งตั้งสามัญชนบางคนสู่[[สภาองคมนตรีไทย|สภาองคมนตรี]]และรัฐบาล<ref name="Page seven">Stowe p.7</ref>
 
เส้น 14 ⟶ 13:
เมื่อสิ้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากกรุงเทพมหานครในช่วงเสด็จแปรพระราชฐานฤดูร้อน โดยทรงมอบหมายให้[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต]]เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยพระองค์เสด็จไปประทับยัง[[วังไกลกังวล]] ที่[[หัวหิน]] [[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]]<ref name="Page fifteen">Stowe P.15</ref>
 
อาจกล่าวได้ว่า "[[กบฏ ร.ศ. 130]]" เป็นแรงขับดันให้[[คณะราษฎร]] ก่อการปฏิบัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยภายหลังการยึดอำนาจแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เชิญผู้นำการกบฏ ร.ศ. 130 ไปพบและกล่าวกับ [[ขุนทวยหาญพิทักษ์]] (เหล็ง ศรีจันทร์) ว่า ''"ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม"'' และ[[หลวงประดิษฐ์มนูธรรม]]ก็ได้กล่าวในโอกาสเดียวกันว่า ''"พวกผมถือว่าการปฏิวัติครั้งนี้เป็นการกระทำต่อเนื่องจากการกระทำเมื่อ ร.ศ. 130"'' <ref>ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. "ประวัติการเมืองไทย 2475-2500" มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. พ.ศ. 2549</ref>
 
ตัวหลวงสินธุฯ เองนั้นได้เกณฑ์กะลาสีเรือติดอาวุธ 500 นายพร้อมที่จะยึด[[พระที่นั่งอนันตสมาคม]] ซึ่งตั้งอยู่ ณ ใจกลางพระนครและเป็นส่วนหนึ่งของ[[พระราชวังดุสิต]] หลังจากนั้น ร้อยโท[[ประยูร ภมรมนตรี]] เป็นผู้มีอำนาจสั่งการนายทหารเสนาธิการหนุ่มและได้สั่งยึดที่ทำการไปรษณีย์และโทรเลขรอบพระนคร ซึ่งมี[[ควง อภัยวงศ์|หลวงโกวิทอภัยวงศ์]] (ควง อภัยวงศ์) รวมอยู่ด้วย การสื่อสารทั้งหมดระหว่างพระบรมวงศานุวงศ์และสมาชิกฝ่ายบริหารอาวุโสจึงถูกตัดขาด<ref name="Page sxtn"/> บ้านพักทั้งหมดยังได้อยู่ภายใต้การตรวจตราและเฝ้าระวังโดยสมาชิก[[คณะราษฎร]]ทั้งพลเรือนและทหาร<ref name="Page sxtn"/>
 
== เหตุการณ์วันที่ 23-24 มิถุนายน ==
{{ดูเพิ่มที่|คณะราษฎร}}
[[File:Ananta Samakon throne hall and the Memorial peg of Siamese Revolution of 1932.jpg|thumb|''หมุดคณะราษฎร'' อันมีข้อความว่า "ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง [[คณะราษฎร]]ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ]]
[[ไฟล์:Soldiers Siam 1932.gif|thumb|225px|ทหารขณะรอคำสั่งที่[[ลานพระราชวังดุสิต]] 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475]]
 
ถึงแม้ว่าจะมีการระมัดระวังล่วงหน้าและการเตรียมการไว้ทั้งหมดแล้วก็ตาม ข่าวของแผนการดังกล่าวก็ยังได้รั่วไหลไปถึงตำรวจ ในช่วงเย็นของวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2475 อธิบดีตำรวจได้โทรศัพท์ถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต โดยกราบทูลขออำนาจในการจับกุมและจำคุกทุกคนที่เกี่ยวข้องกับแผนการดังกล่าว<ref>Stowe p.15</ref> พระองค์ดำริว่าผู้ก่อการหลายคนเป็นผู้มีอิทธิพลและมีอำนาจมาก จึงทรงตัดสินพระทัยเลื่อนพระบรมราชโองการออกไปเป็นวันรุ่งขึ้น การเลื่อนคำสั่งนี้จะมีความสำคัญอย่างมากต่อผู้ก่อการทั้งหลาย<ref name="Page sxtn">Stowe p.16</ref>
 
ในช่วงเย็นวันเดียวกัน หนึ่งในกลุ่มผู้สนับสนุนของ[[หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)]] ในกองทัพเรือได้เกณฑ์เรือปืนจากอู่เรือขึ้นมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา และเมื่อถึงตอนเช้าก็ได้เล็งปืนเรือตรงเข้าใส่พระราชวังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตในกรุงเทพมหานคร<ref name="Page sxtn"/> ตัวหลวงสินธุฯ เองนั้นได้เกณฑ์กะลาสีเรือติดอาวุธ 500 นายพร้อมที่จะยึด[[พระที่นั่งอนันตสมาคม]] ซึ่งตั้งอยู่ ณ ใจกลางพระนครและเป็นส่วนหนึ่งของ[[พระราชวังดุสิต]] หลังจากนั้น ร้อยโท[[ประยูร ภมรมนตรี]] เป็นผู้มีอำนาจสั่งการนายทหารเสนาธิการหนุ่มและได้สั่งยึดที่ทำการไปรษณีย์และโทรเลขรอบพระนคร ซึ่งมี[[ควง อภัยวงศ์|หลวงโกวิทอภัยวงศ์]] (ควง อภัยวงศ์) รวมอยู่ด้วย การสื่อสารทั้งหมดระหว่างพระบรมวงศานุวงศ์และสมาชิกฝ่ายบริหารอาวุโสจึงถูกตัดขาด<ref name="Page sxtn"/> บ้านพักทั้งหมดยังได้อยู่ภายใต้การตรวจตราและเฝ้าระวังโดยสมาชิก[[คณะราษฎร]]ทั้งพลเรือนและทหาร<ref name="Page sxtn"/>
 
เมื่อถึงเวลาประมาณ 04.00 น. ในช่วง[[สนธยา|เช้ามืด]]ของวันที่ 24 มิถุนายน [[พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)]] และ[[พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)]] ได้ดำเนินการตามแผนการในส่วนของตนเรียบร้อยแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาและผู้สนับสนุนบางส่วนได้รวมตัวกันใกล้กับพระที่นั่งและรอคอยสัญญาณขั้นต่อไป<ref name="Page svtn">Stowe p.17</ref> ขณะที่พระยาทรงสุรเดชเดินทางไปกับผู้สมคบคิดจำนวนหนึ่งไปยังค่ายทหารของกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นที่เก็บยานยนต์หุ้มเกราะส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานคร เมื่อมาถึง พระยาทรงสุรเดชได้กล่าวตำหนินายทหารผู้รับผิดชอบค่ายที่กำลังหลับอยู่ขณะที่มีการลุกฮือของชาวจีนเกิดขึ้นในพระนคร ทั้งหมดเกิดขึ้นขณะกำลังเปิดประตูค่ายทหารและมีการระดมทหารทั้งหมด อุบายดังกล่าวเป็นผล และแม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางความสับสนและความโกลาหล พระประศาสน์พิทยายุทธสามารถจับกุมผู้บัญชาการกรมทหารได้และนำตัวไปคุมขัง [[หลวงพิบูลสงคราม]]ได้รับคำสั่งให้เฝ้านักโทษ<ref name="Page svtn"/> ยานยนต์หุ้มเกราะ รวมไปถึงรถถังจำนวนหนึ่ง ถูกเกณฑ์และทั้งหมดได้รับคำสั่งให้มุ่งหน้าไปยังพระที่นั่ง พระยาฤทธิ์อัคเนย์ หลังจากทราบข่าวความสำเร็จของพระยาทรงสุรเดช ได้เดินทางไปยังค่ายทหารของกรมทหารราบที่ 1 และหลังจากเรียกระดมเหล่าทหารราบได้สำเร็จแล้ว ก็ได้มุ่งหน้าไปยังพระที่นั่งด้วยเช่นกัน<ref name="Page svtn"/> ทหารในพื้นที่ใกล้เคียงกรุงเทพมหานครได้เข้าร่วมกับผู้ก่อการด้วยเช่นกัน เนื่องจากได้รับคำสั่งหลายสัปดาห์ก่อนหน้านั้นแล้วว่ากำลังจะมีการฝึกซ้อมทางทหารเกิดขึ้น และไม่ทราบเลยว่าพวกตนจะเข้าไปมีส่วนในการปฏิวัติ<ref name="Page svtn"/> ทหารหน่วยอื่นที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ตัดสินใจที่จะไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ใด ๆ โดยการเก็บตัวอยู่ในกรมกอง<ref name="C160">Chakrabongse. p.160</ref>
เส้น 41 ⟶ 44:
 
== การปกครองระบอบใหม่ ==
{{ดูเพิ่มที่|หลัก 6 ประการของคณะราษฎร}}
[[File:"หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ในซุ้มงานฉลองรัฐธรรมนูญ".jpg|thumb|"หลัก 6 ประการของคณะราษฎร" ในซุ้มงานฉลองรัฐธรรมนูญ]]]
 
เมื่อถึงช่วงเย็นของวันที่ 24 มิถุนายน ผู้ก่อการรู้สึกมั่นใจพอที่จะเรียกประชุมรัฐมนตรีอาวุโส ในการประชุมนั้น ปรีดีพยายามที่จะเกลี้ยกล่อมให้ข้าราชการพลเรือนอาวุโสสนับสนุนคณะราษฎร โดยขอการสนับสนุนคณะและบอกให้พวกเขายังคงสามัคคี มิฉะนั้นแล้วการแสดงออกซึ่งความสับสนอาจนำไปสู่การแทรกแซงจากต่างชาติได้<ref name="Page tto"/> ปรีดีขอให้กระทรวงการต่างประเทศส่งข่าวไปยังคณะทูตต่างประเทศทั้งหมดโดยกล่าวว่าคณะราษฎรให้คำมั่นว่าจะคุ้มครองชีวิตและธุรกิจของชาวต่างชาติและบรรลุพันธกรณีตามสนธิสัญญาของสยาม<ref name="Page tto">Stowe p.21</ref>
 
เส้น 47 ⟶ 53:
จากนั้นคณะราษฎรได้ปล่อยตัวประกันทั้งหมดโดยกเว้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้ซึ่งทางคณะพิจารณาว่ามีพระราชอำนาจมากเกินไปและกราบทูลขอให้พระองค์เสด็จออกนอกประเทศแทน พระองค์เสด็จไปยัง[[เกาะชวา]]และไม่เคยเสด็จกลับมาประเทศเลย ส่วนเจ้านายพระองค์อื่นเสด็จออกนอกประเทศโดยสมัครใจไปยังประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น ๆ และบางพระองค์เสด็จไปยังทวีปยุโรป<ref name="Page ttt"/><ref>Baker and Phongpaichit. p.111</ref>
 
[[ไฟล์:Prajadhipok's coronation records - 001.jpg|thumb|225px|พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของสยาม]]
ผลที่ตามมาในทันทีหลังจากการปฏิวัติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและคณะราษฎรได้เริ่มจัดการเพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับแรกแก่ประชาชนชาวสยาม [[พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475|พระราชบัญญัติธรรมนูญชั่วคราว]]มีการลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เมื่อเวลา 5.00 น. ซึ่งเป็นเอกสารร่างเขียนขึ้นล่วงหน้าไว้แล้วโดยปรีดี<ref>Stowe p.25</ref> ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยาม แม้ว่าจะยังเป็นเพียงฉบับชั่วคราวอยู่ก็ตาม ข้อความในรัฐธรรมนูญเริ่มต้นมาตรา 1 ความว่า "อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย" รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยยกเลิกพระราชอำนาจที่มีมาแต่โบราณ อาทิ พระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย การพระราชทานอภัยโทษ และพระราชสิทธิในการยืนยันผู้สืบราชสมบัติและรัชทายาท หรือจะกล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญดังกล่าวจำกัดอำนาจทั้งหมดของพระมหากษัตริย์ โดยยังมิได้ยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ไปเท่านั้น<ref name="tts"/> รัฐธรรมนูญยังได้จัดตั้ง[[คณะกรรมการราษฎร]]เป็นฝ่ายบริหาร และ[[สภาผู้แทนราษฎรไทย|สภาผู้แทนราษฎร]] ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาที่ได้มาจากการแต่งตั้ง 70 คน
 
เส้น 55 ⟶ 60:
 
== สิ่งที่ตามมา ==
[[ไฟล์:Prajadhipok's coronation records - 001.jpg|thumb|225px|พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของสยาม]]
[[File:Ananta Samakon throne hall and the Memorial peg of Siamese Revolution of 1932.jpg|thumb|''หมุดคณะราษฎร'' อันมีข้อความว่า "ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ]]
 
หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์นี้เป็นหมุด[[ทองเหลือง]]ฝังอยู่กับพื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้าน[[สนามเสือป่า]] ณ ตำแหน่งที่พระยาพหลพลพยุหเสนาอ่านประกาศคณะราษฎร นิยมเรียกกันว่า ''หมุดคณะราษฎร'' มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ"
เส้น 75 ⟶ 80:
 
== อ้างอิง ==
<div style="height: 120px; overflow: auto; padding: 3px; border:1px solid #AAAAAA; reflist4" >
{{รายการอ้างอิง}}
</div>
 
== บรรณานุกรม ==
เส้น 135 ⟶ 142:
* [[ความเคลื่อนไหวสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองสยาม]]
* [[ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร]]
* [[วันชาติ (ประเทศไทย)]]
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==