ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนุมูลอิสระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mantis~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
G(x) (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 5482083 สร้างโดย Mantis (พูดคุย)
บรรทัด 3:
อนุมูลอิสระมีบทบาทสำคัญใน[[การสันดาป]] เคมีบรรยากาศ [[พอลิเมอไรเซชัน]] เคมีพลาสมา [[ชีวเคมี]] และกระบวนการทางเคมีอีกหลายอย่าง ในสิ่งมีชีวิต ซูเปอร์ออกไซด์ ไนตริกออกไซด์และผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาของมันควบคุมหลายกระบวนการ เช่น ควบคุมการบีบตัวของหลอดเลือด ซึ่งควบคุมความดันโลหิตอีกต่อหนึ่ง นอกจากนี้ อนุมูลอิสระยังมีบทบาทสำคัญในเมแทบอลิซึมตัวกลางของสารประกอบทางชีวภาพหลายชนิด
อนุมูลอิสระเกิดขึ้นเป็นปกติจากปฏิกิริยาในร่างกายอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีธาตุ[[เหล็ก]] [[ทองแดง]] [[แมงกานีส]] [[โคบอลต์]] [[โครเมียม]] [[นิเกิล]]น้อย มักเกิดเป็น[[ปฏิกิริยาลูกโซ่]] โดยร่างกายจะมีระบบกำจัดอนุมูลอิสระ แต่หากร่างกายได้รับสารอนุมูลอิสระจากภายนอก เช่น ได้รับจากอาหารบางชนิด จากขบวนการประกอบอาหาร เช่น การย่างเนื้อสัตว์ที่มีไขมันประกอบสูง การนำน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารที่อุณหภูมิสูง ๆ มาใช้อีก หรือจากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงอาทิตย์ซึ่งมีรังสี[[อัลตราไวโอเลต]] [[การแผ่รังสี]] [[รังสีเอกซ์]] หรือจากมลพิษ เช่น ควันบุหรี่ ก๊าซ[[คาร์บอนมอนออกไซด์]]จากไอเสียรถยนต์ มากเกินไป หรือในภาวะที่ร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้ลดลง ก็จะทำให้มีอนุมูลอิสระมากเกินไป เป็นสาเหตุของโรคภัยได้ นอกจากนี้สารอนุมูลอิสระ ยังสามารถพบได้ใน [http://www.brandsworld-online.com/innershine/beauty_tips.php?id=1 สาหร่ายสีแดง] อีกด้วย
 
อนุมูลอิสระที่มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อ[[ไขมัน]] (โดยเฉพาะไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ) โปรตีน [[ดีเอ็นเอ|หน่วยพันธุกรรม]] และ[[คาร์โบไฮเดรต]] ซึ่งจะไม่กล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้ ทำให้เพิ่มอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลายชนิด โรคที่สำคัญและมีการศึกษากันมาก ได้แก่ [[โรคหลอดเลือดตีบ]]และแข็งตัว [[โรคมะเร็ง]]บางชนิด [[โรคอัลไซเมอร์]] [[โรคไขข้ออักเสบ]] โรคความแก่ เป็นต้น