ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความขัดแย้งภายในพม่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 41:
การก่อการกำเริบเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนหรือถูกใช้โดยต่างชาติ ทำให้การปิดประเทศทรุดหนัก ความสงสัยและความกังวลในหมู่ชาวพม่าทั้งชนกลุ่มน้อยในประเทศและต่างประเทศ อังกฤษบางกลุ่มสนับสนุน[[กะเหรี่ยง]] ปากีสถานตะวันออก ([[บังกลาเทศ]]ปัจจุบัน) หนุนหลังมุสลิม[[โรฮิงยา]]ตามแนวชายแดนกับการหนุนหลังของตะวันออกกลาง อินเดียกล่าวกันว่าข้องเกี่ยวกับ[[กะฉิ่น]]และกะเหรี่ยง จีนสนับสนุน[[พรรคคอมมิวนิสต์พม่า]] (ภายหลังคือ พวก[[ว้า]]) กบฏนากและกะฉิ่น สหรัฐอเมริกาสนับสนุน[[ก๊กมินตั๋ง]] และไทยสนับสนุนกลุ่มกบฏหลายกลุ่ม โดยเป็นการสร้างรัฐหรือพื้นที่กันชน<ref name=dis-44>Steinberg, p. 44</ref> ก่อนการหยุดยิง กองทัพที่มีชาวพม่าเป็นส่วนใหญ่ได้ดำเนินการทัพในฤดูแล้งทุกปีแต่คว้าน้ำเหลว พวกกบฏจะกลับมาทุกครั้งเมื่อกองทัพถอนกำลังกลับไป
 
รัฐบาลกลางที่พม่าครอบงำ (พลเรือนหรือคล้ายทหาร) ไม่สามารถบรรลุความตกลงทางการเมืองได้แม้เป้าหมายของการก่อการกำเริบทางเชื้อชาติสำคัญส่วนมาก (รวมทั้ง KNU) คือ การปกครองตนเองมิใช่การแยกตัวเป็นเอกราช ปัจจุบัน รัฐบาลได้ลงนามความตกลงหยุดยิงอย่างอึดอัดกับกลุ่มก่อการกำเริบส่วนใหญ่ แต่กองทัพยังไม่ได้รับความเชื่อใจจากประชากรท้อถิ่นท้องถิ่น กองทัพถูกกล่าวหาอย่างกว้างขวางว่าปฏิบัติต่อประชากรท้องถิ่นอย่างเลวร้ายแต่ไม่ถูกลงโทษ และถูกมองว่าเป็นกองกำลังยึดครองในภูมิภาคเชื้อชาติต่าง ๆ
 
สมัยปัจจุบัน ความขัดแย้งนั้นเป็นไปเพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารซึ่งปกครองประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ถึง 2554 ความขัดแย้งนี้เป็นสงครามที่กำลังดำเนินอยู่เก่าแก่ที่สุดในโลก<ref>[http://www.timesonline.co.uk/tol/news/world/asia/article5963064.ece Burma: world's longest war nears its end (2009!)]. In Burma the war has go on from 1949, the war i Sudan start in 1955.</ref> และได้รับความสนใจจากนานาชาติอันเป็นผลจาก[[การก่อการกำเริบ 8888]] ใน พ.ศ. 2531, งานของนักเคลื่อนไหว [[ออง ซาน ซูจี]], การประท้วงต่อต้านรัฐบาลในปลาย พ.ศ. 2550 และความเสียหายอันเกิดขึ้นจาก[[พายุไซโคลนนาร์กิส]] ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 80,000 คน และสูญหายอีก 50,000 คน ในกลาง พ.ศ. 2551