ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พี่น้องตระกูลกริมม์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Grimm.jpg|thumbnail|250px|วิลเฮล์ม กริมม์ (ซ้าย) และยาค็อบ กริมม์ (ขวา) ภาพวาดโดย เอลิซาเบธ เจริโช-โบแมน ค.ศ. 1855]]
 
'''พี่น้องตระกูลกริมม์''' ({{lang-en|The Brothers Grimm}}; {{lang-de|Die Gebrüder Grimm}}) หรือ ยาค็อบ กริมม์ (ค.ศ. 1785-1785–1863) และวิลเฮล์ม กริมม์ (ค.ศ. 1786-1786–1859) เป็นนักวิชาการชาว[[เยอรมัน]]ซึ่งเป็นที่รู้จักโด่งดังจากผลงานการรวบรวม[[นิทานพื้นบ้าน]]และ[[เทพนิยาย]] รวมถึงผลงานเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ([[กฎของกริมม์]] หรือ Grimm's Law) นับว่าเป็นนักเล่านิทานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคู่หนึ่งใน[[ยุโรป]] ซึ่งทำให้เทพนิยายมากมายแพร่หลายไปทั่วโลก เช่น [[รัมเพลสทิลสกิน]], [[สโนไวท์]], [[ราพันเซล]], [[ซินเดอเรลล่า]] และ [[แฮนเซลกับเกรเธล]]
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 18:
ช่วงปลายชีวิตของพวกเขาอุทิศให้กับการจัดทำพจนานุกรมภาษาเยอรมัน ตีพิมพ์ชุดแรกออกมาเมื่อปี [[ค.ศ. 1854]] และเป็นต้นแบบในการพัฒนาปรับปรุงเวอร์ชันต่างๆ ต่อมา เจค็อบครองตัวเป็นโสดตลอดชีวิตของเขา ส่วนวิลเฮล์มได้แต่งงานกับ เฮนเรียตเต โดโรเธีย ไวลด์ (Henriette Dorothea Wild หรือบางแห่งเรียกว่า Dortchen) เมื่อปี 1825 เธอเป็นบุตรีของเภสัชกรซึ่งเป็นเพื่อนกับครอบครัวกริมม์มาตั้งแต่เด็ก ที่ซึ่งพี่น้องกริมม์ได้ฟังนิทานเรื่อง [[หนูน้อยหมวกแดง]] เป็นครั้งแรก วิลเฮล์มมีบุตร 4 คนโดยเสียชีวิตตั้งแต่เด็กไป 1 คน แต่พี่น้องทั้งสองก็ยังสนิทกันมากแม้หลังจากที่วิลเฮล์มแต่งงานแล้วก็ตาม
 
วิลเฮล์มเสียชีวิตในกรุงเบอร์ลินเมื่อวันที่ [[16 ธันวาคม]] [[ค.ศ. 1859]] เจค็อบยังคงทำงานรวบรวมพจนานุกรมและโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปจนกระทั่งเสียชีวิตในเบอร์ลินเช่นกัน เมื่อวันที่ [[20 กันยายน]] [[ค.ศ. 1863]] ร่างของทั้งสองฝังไว้ที่สุสาน St. Matthäus Kirchhof ใน Schöneberg ในเบอร์ลิน พี่น้องตระกูลกริมม์ได้เผยแพร่แนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยให้แพร่หลายกว้างขวางในเยอรมนี และได้รับความเคารพยกย่องเป็นหนึ่งในผู้มีอิทธิพลในการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในเยอรมนี ซึ่งต่อมาราชอาณาจักรปรัสเซียได้ก่อการปฏิวัติในช่วงปี 1848-1849 และเริ่มต้นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญขึ้น.
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[เทพนิยายกริมม์]]
* [[กฎของกริมม์]]
 
== อ้างอิง ==