ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
→‎ประวัติ: ละเมิดเนื้อหา http://buca.bu.ac.th/about.html
บรรทัด 17:
}}
'''คณะนิเทศศาสตร์''' [[มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]] เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่เปิดสอนในสาขาวิชานิเทศศาสตร์
 
== ประวัติ ==
[[File:School of Communication Arts Bangkok University.JPG|thumb|คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]]
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ถือเป็นคณะนิเทศศาสตร์แห่งแรกที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยเอกชน แสดง เปิดทำการสอน มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2514 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวิทยาลัยเอกชนแห่งแรก ที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีในสาขานี้ สำหรับในระยะแรกก่อตั้งได้ชื่อว่า “ แผนกวิชาสื่อสารมวลชน ” มีอาจารย์ประจำรับผิดชอบ 1 คน นอกจากนั้น เป็นผู้สอนที่ได้รับเชิญ มาจากมหาวิทยาลัยของรัฐ และเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพนิเทศศาสตร์ จากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในรัฐ และเอกชน
 
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2500 จึงเปลี่ยนชื่อ จากแผนกวิชาสื่อสารมวลชนมาเป็น "คณะสื่อสารมวลชน" มีอาจารย์เพิ่มขึ้นเป็น 3 คน หลักสูตรในขณะนั้น เน้นเฉพาะสาขาการประชาสัมพันธ์เท่านั้น (หลักสูตรได้รับการอนุมัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 ให้เปิดได้ 2 สาขาวิชา คือ การประชาสัมพันธ์ และวารสารศาสตร์) จนถึงปี พ.ศ. 2523 จึงได้ทำการสอน ในสาขาวิชาวารสารศาสตร์ เพิ่มขึ้นอีกสาขาหนึ่ง ปี พ.ศ. 2522 วิทยาลัย ได้มีการพิจารณาปรับปรุงหลักสูตร ของคณะขึ้นใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้ทันกับสภาพสังคม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ในขณะเดียวกัน ก็ได้พิจารณา ที่จะขยายสาขาวิชาของคณะสื่อสารมวลชน (ชื่อที่ใช้อยู่ในขณะนั้น) เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งสาขาคือ สาขาการโฆษณา และเมื่อเป็นเช่นนี้ จึงหันมาพิจารณาความหมายคำว่า "คณะสื่อสารมวลชน" หรือ "School of Mass Communication" ควบคู่ไปกับ การปรับปรุงหลักสูตรไปด้วย ซึ่งถ้าพิจารณากันจริง ๆ แล้วคำ ๆ นี้มีความหมายถึง กระบวนการสื่อสาร ไปยังมวลชน โดยผ่านสื่อมวลชน เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ซึ่งสื่อมวลชนนั้นได้แก่ วิทยุกระจายเสียง หนังสือพิมพ์ นิตยสารและภาพยนตร์ ซึ่งในคำจำกัดความนั้น จำกัดอยู่แต่เฉพาะประเภทของการสื่อสาร กับมวลชนเท่านั้น แต่คณะยังเปิดสอน ในวิชาการสื่อสารที่มีรูปแบบ นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาแล้วเช่น สาขาการประชาสัมพันธ์ สาขาการโฆษณาและอาจจะเปิดสาขาอื่น ๆ อีกในอนาคต
 
ในที่สุด ที่ประชุมจึงได้หยิบคำว่า "นิเทศศาสตร์" ขึ้นมาพิจารณาว่า จะเป็นคำที่มีความหมาย ครอบคลุมในสาขาอาชีพ ทางการสื่อสารได้กว้างขวางกว่า หากในอนาคต ก็ย่อมสามารถทำได้ โดยไม่ต้องพิจารณาถึงชื่อคณะใหม่กับอีกว่าจะมีความหมายเหมาะสมหรือครอบคลุมสาขาวิชานั้นหรือไม่ รวมทั้งคำว่า "นิเทศศาสตร์" หรือในภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Communication Arts" นั้นเป็นคำพูดที่ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ทรงคิดขึ้น โดยทรงใช้ความหมายว่า "เป็นวิชาที่สื่อสารไปยังมวลชนโดยทางใดก็ตาม" ไม่จำเพาะแต่ทางหนังสือพิมพ์ เช่น การสื่อสารทางละครก็เข้าอยู่ในนิเทศศาสตร์การสื่อสารมวลชนทางอื่น นอกจากหนังสือพิมพ์ เช่น วิทยุโทรทัศน์ก็เป็นนิเทศศาสตร์ ในปีการศึกษา 2523 ทบวงมหาวิทยาลัย ได้อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อจากคณะสื่อสารมวลชนเป็น "คณะนิเทศศาสตร์" หรือ "School of Communication Arts"และเปิดสาขาวิชาการโฆษณาเพิ่มขึ้นอีกสาขาหนึ่ง
 
ปัจจุบันคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดสอนในสาขาวารสารศาสตร์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา ศิลปะการแสดง ภาพยนตร์ และการสื่อสารแบรนด์<ref>เว็บไซค์คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ http://buca.bu.ac.th/about.html</ref>
 
== หน่วยงานและหลักสูตร<ref>เว็บไซค์คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ http://buca.bu.ac.th/undergrad.html#</ref> ==