ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฮดีส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
'''เฮดีส''' ({{lang-en|Hades}}, {{IPA|/ˈheɪdiz/}}; {{lang-grc|Ἅιδης/ᾍδης, Hāidēs}}) เป็นพระเจ้าแห่งโลกบาดาลของกรีกโบราณ สุดท้าย พระนามเฮดีสได้กลายมาเป็นชื่อเรียกถิ่นของผู้ตาย ในเทพปกรณัมกรีก เฮดีสเป็นพระโอรสองค์โตของ[[โครนัส]]และ[[เรีย]] หากพิจารณาจากลำดับที่ประสูติจากพระชนนี หรือองค์เล็กหากพิจารณาเมื่อพระชนกขย้อนออกมา มุมมองอย่างหลังนี้มีรับรองในสุนทรพจน์ของ[[โพไซดอน]]ใน''[[อีเลียด]]'' ตามตำนาน พระองค์กับพระอนุชา [[ซูส]]และโพไซดอน พิชิต[[เทพไททัน]]และอ้างการปกครองจักรวาล แบ่งกันปกครองโลกบาดาล อากาศและทะเลตามลำดับ ปฐพีซึ่งเป็นอาณาเขตแห่ง[[ไกอา]]มาแต่ช้านาน เป็นของทั้งสามพร้อมกัน
 
ต่อมา ชาวกรีกเริ่มเรียกเฮดีสว่า พลูตอน ซึ่งชาวโรมันแผลงเป็นละตินว่า '''[[พลูโต (เทพปกรณัม)|พลูโต]]'''<ref>[http://www.theoi.com/Khthonios/Haides.html Theoi Project: Haides]</ref> ชาวโรมันโยงเฮดีส/พลูโตเข้ากับพระเจ้าคะเธาะนิคของพวกตน ดิสปาเตอร์ (Dis Pater) และออร์คัส พระเจ้าอีทรัสคันที่สอดคล้อง คือ ไอตา (Aita) มักวาดภาพพระองค์กับหมาสามหัว [[ซีเบอรัส]] ในประเพณีปรัมปราวิทยาสมัยหลัง แม้ไม่ใช่สมัยโบราณ พระองค์สัมผัสกับหมวกเกราะแห่งความมืดและสองง่าม คำว่า เฮดีส ในเทววิทยาคริสต์ (และ[[พันธสัญญาใหม่]]ภาษากรีก) เปรียบได้กับชีโอ (sheol, שאול) ใน[[ภาษาฮีบรู]] ซึ่งหมายถึง ถิ่นพำนักของผู้ตาย มโนทัศน์นรกของศาสนาคริสต์คล้ายและได้รับมาจากมโนทัศน์[[ทาร์ทารัส]]ของกรีก ซึ่งเป็นส่วนที่ลึกและมืดมิดซึ่งเฮดิสใช้เป็นคุกลงทัณฑ์และทรมาน
 
== ในวัฒนธรรมสมัยนิยม ==
[[ไฟล์:Hades in seiya.jpg|thumb|250px|เฮดีสในเซนต์เซย่า ภาคเจ้านรกเฮดีส]]
เฮดีส ใน[[วัฒนธรรมสมัยนิยม]]มักถูกสร้างให้เป็นตัวละครฝ่ายร้าย เช่น [[การ์ตูนญี่ปุ่น]]เรื่อง [[เซนต์เซย่า]] เฮดีสเป็นเทพเจ้าที่หวังยึดครองโลกมาแต่ครั้งเทพนิยาย ภาคสุดท้ายของการ์ตูนชุดนี้เป็นเรื่องของเหล่าเซนต์ต่อสู้กับเหล่าสเป็คเตอร์ของเฮดีส เฮดีสมีรูปร่างที่งดงามและหลงใหลรูปตัวเองมาก จึงซ่อนร่างที่แท้จริงไว้ในปราสาทที่เอเริเซี่ยน จึงอาศัย[[อันโดรเมด้า ชุน]]เป็นร่างสิงสถิตย์แทน
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/เฮดีส"