ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามดอกกุหลาบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sodacan (คุย | ส่วนร่วม)
'Tudor rose.svg' -> 'Tudor Rose.svg' using GlobalReplace v0.2a - Fastily's PowerToys
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: ลิงก์บทความคัดสรร ar:حرب الوردتين; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
บรรทัด 76:
[[ไฟล์:HenryVIofEngland.JPG|upright|thumb|200px|พระเจ้าเฮนรีที่ 6]]
[[ไฟล์:Margaret_of_Anjou.jpg|upright|thumb|200px|พระนางมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู]]
เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 5 เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันในปี [[ค.ศ. 1422]] [[ พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ]]พระราชโอรสผู้ขึ้นครองราชย์ต่อมายังคงมีพระชนมายุได้เพียง 9 เดือน หลังจากการเสียชีวิตของ[[จอห์นแห่งแลงแคสเตอร์ ดยุกที่ 1 แห่งเบดฟอร์ด]] พระปิตุลา ในปี ค.ศ. 1435 แล้วพระองค์ก็ทรงมีแต่ผู้สำเร็จราชการและที่ปรึกษาประจำพระองค์ที่ไม่เป็นที่นิยม นอกจากพระปิตุลาทางพระราชบิดา[[ฮัมฟรีย์ ดยุกแห่งกลอสเตอร์]] (Humphrey, Duke of Gloucester) แล้วบุคคลอื่นที่มีชื่อเสียงก็ได้แก่[[เอ็ดมันด์ โบฟอร์ต ดยุกที่ 1 แห่งซัมเมอร์เซ็ท]] และ[[วิลเลียม เดอ ลา โพล ดยุกที่ 1 แห่งซัฟโฟล์ก]] ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าไม่มีสมรรถภาพในการบริหารรัฐบาล และในการบริหารการทำ[[สงครามร้อยปี]]กับฝรั่งเศส ภายใต้การปกครองของพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ดินแดนเกือบทั้งหมดของอังกฤษในฝรั่งเศสรวมทั้งดินแดนที่ได้มาจากการได้รับชัยชนะในการสงครามของพระราชบิดาก็สูญเสียกลับไปให้กับ[[ฝรั่งเศส]]
 
ในที่สุดดยุกแห่งซัฟโฟล์กก็สามารถกำจัดฮัมฟรีย์ ดยุกแห่งกลอสเตอร์สำเร็จโดยการจับในข้อหากบฏ ฮัมฟรีย์เสียชีวิตในปี [[ค.ศ. 1447]] ขณะที่รอการพิจารณาคดีในศาล แต่เมื่อสถานะการณ์ในฝรั่งเศสผันผวนไปดยุกแห่งซัฟโฟล์คก็ถูกปลดจากตำแหน่งและถูกฆาตกรรมระหว่างที่พยายามหนีไปหลบภัย ดยุกแห่งซัมเมอร์เซตขึ้นมามีอำนาจแทนในฐานะผู้นำผู้พยายามหาความสันติกับฝรั่งเศส แต่ดยุกแห่งยอร์กผู้ได้รับหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชาทหารแห่งฝรั่งเศส (Lieutenant in France) ต่อจากดยุกแห่งเบดฟอร์ดผู้เป็นผู้นำฝ่ายที่ต้องการทำสงครามกับฝรั่งเศสต่อไปวิพากษ์วิจารณ์ราชสำนักและโดยเฉพาะดยุกแห่งซัมเมอร์เซ็ทว่าจำกัดเงินทุนและกำลังคนระหว่างที่พยายามต่อสู้อยู่ในฝรั่งเศส
บรรทัด 157:
ความอับอายที่ได้รับทำให้วอริกเคียดแค้นโดยเฉพาะเมื่อตระกูลวูดวิลล์เรืองอำนาจกลายเป็นคนโปรดของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเหนือกว่าตระกูลเนวิลล์ของวอริค พระญาติของเอลิซาเบธต่างก็ได้สมรสกับครอบครัวขุนนางต่างๆ หรือไม่ก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางหรือตำแหน่งหน้าที่ทางราชการ ปัจจัยต่างๆ หลายอย่างเหล่านี้ทำให้วอริคยิ่งเพิ่มความไม่พอใจหนักขึ้นที่รวมทั้ง การที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมีพระราชประสงค์ที่จะมีความสัมพันธ์กับ[[ดัชชีเบอร์กันดี|เบอร์กันดี]]แทนที่จะเป็น[[ฝรั่งเศส]] และความไม่ทรงเต็มพระทัยที่จะให้พระอนุชาสองพระองค์ คือ [[จอร์จ แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 1 แห่งแคลเรนซ์|ดยุกแห่งแคลเรนซ์]]และ[[พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ|ดยุกแห่งกลอสเตอร์]]--ไปสมรสกับลูกสาวสองคนของวอริก คือ [[อิสซาเบล เนวิลล์|อิสซาเบล]] และ [[แอนน์ เนวิลล์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ|แอนน์]] นอกจากนั้นความเป็นที่นิยมโดยประชาชนของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็เริ่มลดลงเมื่อมีการเรียกเก็บ[[ภาษี]]เพิ่มขึ้นและการขาดกฎและระเบียบที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้น
 
เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1469 วอริคก็หันไปเป็นพันธมิตรกับ[[จอร์จ แพลนทาเจเน็ท ดยุกแห่งแคลเรนซ์ที่ 1|ดยุกแห่งแคลเรนซ์]]พระอนุชาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้ไปแต่งงานกับ[[อิซาเบล เนวิลล์ ดัชเชสแห่งแคลเรนซ์|อิซาเบล เนวิลล์ ดัชเชสแห่งแคลเรนซ์]]แม้ว่าจะไม่เป็นที่ต้องพระทัยของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ตาม วอริกและดยุกแห่งแคลเรนซ์รวบรวมพลเข้าต่อสู้กับฝ่ายแลงแคสเตอร์และได้รับชัยชนะใน[[ยุทธการที่เอ็ดจ์โคตมัวร์]] พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดถูกจับตัวได้ที่[[โอลนีย์]]ใน[[บักกิงแฮมเชอร์]]และถูกนำไปขังไว้ที่[[ปราสาทมิดเดิลแลม]] (Middleham Castle) ใน[[ยอร์กเชอร์]] (ซึ่งทำให้วอริกมีพระเจ้าแผ่นดินอยู่ในมือสององค์) หลังจากนั้นวอริกก็จับและสังหารพระราชบิดาของพระราชินี[[ริชาร์ด วูดวิลล์ เอิร์ลริเวอร์สที่ 1]]และพระอนุชา[[จอห์น วูดวิลล์|จอห์น]] แต่วอริกก็มิได้ทำการประกาศว่าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเป็นพระมหากษัตริย์ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือประกาศให้ดยุกแห่งแคลเรนซ์เป็นพระมหากษัตริย์<ref>Rowse, p.162</ref> บ้านเมืองในขณะนั้นก็เต็มไปด้วยความระส่ำระสาย ขุนนางต่างก็ลุกขึ้นมาก่อตั้งกองทัพส่วนตัวเข่นฆ่าแก้แค้นกันจากสาเหตุต่าง ๆ ที่บาดหมางกันมาก่อนหน้านั้น ฝ่ายแลงแคสเตอร์ที่หมดอำนาจไปก่อนหน้านั้นก็ลุกขึ้นมาก่อความไม่สงบอีก<ref>Baldwin, p.43</ref> แต่จะอย่างไรก็ตามก็มีขุนนางเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่สนับสนุนการยึดอำนาจของวอริค พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดถูกนำตัวกลับมาลอนดอนโดยน้องของวอริค[[อาร์ชบิชอปจอร์จ เนวิลล์|จอร์จ]][[อาร์ชบิชอปแห่งยอร์ก]]เพื่อมาทำความปรองดองกันกับวอริกอย่างน้อยก็เท่าที่เห็นกันภายนอก
 
เมื่อการก่อความไม่สงบเกิดขึ้นใน[[ลิงคอล์นเชอร์]]พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงสามารถปราบปรามได้อย่างง่ายดายใน[[ยุทธการที่ลูสโคตฟิล์ด]] จากคำให้การของผู้นำการปฏิวัติกล่าวหาว่าผู้ยุยงให้เกิดการก่อการคือวอริกและดยุกแห่งแคลเรนซ์ ทั้งสองคนจึงถูกประกาศว่าเป็นผู้[[ทรยศต่อแผ่นดิน]]จนจำเป็นต้องหนีไปฝรั่งเศสที่พระนางมาร์กาเรตประทับลี้ภัยอยู่ [[พระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศส]]ผู้ทรงต้องการที่จะหยุดยั้งความเป็นพันธมิตรระหว่างพระอนุชาเขย[[ชาร์ลผู้อาจหาญ]] [[ดยุกแห่งเบอร์กันดี]]กับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงทรงแนะนำให้วอริกกับพระนางมาร์กาเรตหันมาร่วมมือกัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายผู้เป็นศัตรูกันมาก่อนก็แสดงความไม่เต็มใจในระยะแรก แต่เมื่อมาพิจารณาแล้วก็เริ่มมองเห็นผลประโยชน์ที่อาจจะได้จากการเป็นพันธมิตรกัน แต่ผลประโยชน์ที่ต่างฝ่ายต่างคาดนั้นก็แตกต่างกันมาก วอริกต้องการพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้เป็นหุ่นเช่นพระเจ้าเฮนรีหรือพระราชโอรส ส่วนพระนางมาร์กาเรตมีพระราชประสงค์ในการกู้ราชบัลลังก์ของพระองค์คืน แต่จะอย่างไรก็ตามผลของการตกลงคือการจัดการแต่งงานระหว่างแอนน์ลูกสาวของวอริกกับพระราชโอรสของพระองค์[[เอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์|เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด]] หลังจากนั้นวอริกก็ยกทัพไปรุกรานอังกฤษในฤดูใบไม้ร่วงของปี [[ค.ศ. 1470]]
บรรทัด 309:
{{ประวัติศาสตร์อังกฤษ-สงครามดอกกุหลาบ}}
{{ประวัติศาสตร์ยุโรป-ยุคกลาง}}
{{Link FA|es}}
{{Link FA|he}}
{{Link FA|hr}}
{{Link FA|no}}
{{Link FA|sv}}
{{Link GA|sv}}
{{Link GA|ja}}
 
[[หมวดหมู่:สงครามดอกกุหลาบ|*]]
เส้น 327 ⟶ 320:
[[หมวดหมู่:สงครามในคริสต์ทศวรรษ 1470]]
[[หมวดหมู่:สงครามในคริสต์ทศวรรษ 1480]]
 
{{Link FA|ar}}
{{Link FA|es}}
{{Link FA|he}}
{{Link FA|hr}}
{{Link FA|no}}
{{Link FA|sv}}
{{Link GA|ja}}
{{Link GA|sv}}