ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ช่อง 3 เอชดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pim145 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 65:
ทั้งนี้เมื่อวันที่ [[11 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2513]] ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มทดลองแพร่ภาพออกอากาศ โดยใช้กำลังส่งเต็มระบบคือ 50 กิโลวัตต์ ด้วยเครื่องส่งขนานเป็นครั้งแรก ระหว่างเวลา 19:00-21:00 น. จากนั้นในวันที่ [[15 มีนาคม|15]] เดือนและปีเดียวกัน ก็เริ่มทดลองแพร่ภาพแบบเสมือนจริง ระหว่างเวลา 09:30-24:00 น. และเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่[[วันพฤหัสบดี]]ที่ [[26 มีนาคม]] พ.ศ. 2513 ตามเวลาฤกษ์คือ 10:00 น. โดยมี[[จอมพล]] [[ถนอม กิตติขจร]] [[รายนามนายกรัฐมนตรีของไทย|นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น]] ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดสถานีฯ<ref name="history">[http://www.thaitv3.com/ch3/guide/aboutus_history.php ประวัติสถานีฯ] จากเว็บไซต์ไทยทีวีสีช่อง 3</ref><ref name="managermag">[http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=11253 34 ปี ช่อง 3] จาก[[เว็บไซต์]]นิตยสาร[http://www.gotomanager.com ผู้จัดการ 360 องศา]</ref>
 
อนึ่ง ตั้งแต่เดือน[[มีนาคม]] [[พ.ศ. 2540]] ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง เป็นแห่งที่สองของประเทศไทย แล้วกลับมาเปิดสถานีฯ เวลา 05:00 น. และปิดสถานีฯ เวลา 02:00 น.อีกครั้ง ในเดือน[[สิงหาคม]]ปีเดียวกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 จึงกลับมาออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมงอีกครั้งจนถึงปัจจุบัน ยูวีพิยูวีพิและยูวีพิสณุ1
 
ต่อมาในวันที่ 26-27 ธันวาคม พ.ศ. 2556 กลุ่มบีอีซีเวิลด์ บริษัทแม่ของไทยทีวีสีช่อง 3 มอบหมายให้บริษัท บีอีซีมัลติมีเดีย จำกัด เข้าประมูลช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ ทั้งสามประเภทคือ รายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง (ให้ราคาเป็นอันดับที่ 1), รายการทั่วไป ภาพคมชัดปกติ (ให้ราคาเป็นอันดับที่ 4), รายการเด็กและครอบครัว (ให้ราคาเป็นอันดับที่ 1) จากนั้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557 กสทช.ประกาศหมายเลขช่อง ที่แต่ละบริษัทซึ่งผ่านการประมูลเลือกไว้ ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม ในการประชุมร่วมกัน โดยในส่วนของ บีอีซีมัลติมีเดีย ผลปรากฏว่า รายการเด็กและครอบครัว ได้หมายเลข 13, รายการทั่วไป ภาพคมชัดปกติ ได้หมายเลข 28 และรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง ได้หมายเลข 33 ณุใหญ่มากณุใหญ่มาก
 
และเมื่อ กสทช.อนุญาตให้แต่ละบริษัท ซึ่งจะรับมอบใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ ดำเนินการทดสอบสัญญาณ ผ่านอุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ (MUX) ของผู้ให้บริการโครงข่าย ระหว่างวันที่ 1-24 เมษายน ปีเดียวกัน บีอีซีมัลติมีเดีย ดำเนินการทดลองออกอากาศ รายการทั้งหมดจากไทยทีวีสีช่อง 3 ในระบบแอนะล็อก โดยคู่ขนานไปทั้ง 3 ช่องรายการในส่วนของบริษัทฯ และตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557 ซึ่ง กสทช.กำหนดเป็นวันเริ่มต้น ออกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ บีอีซีมัลติมีเดีย ก็เริ่มออกอากาศรายการต่างๆ ตามผังที่กำหนดของแต่ละช่องทั้ง 3 ระหว่างเวลา 16:00 - 00:00 น. ของทุกวัน เนื่องจากผู้รับสัมปทานช่องสัญญาณที่ 32 ของโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเดิม ในชื่อไทยทีวีสีช่อง 3 คือ บจก.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ เป็นคนละนิติบุคคลกับ ผู้รับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ทั้ง 3 ของโทรทัศน์ระบบดิจิทัล คือ บจก.บีอีซีมัลติมีเดีย จึงไม่สามารถนำรายการทั้งหมด จากช่องโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเดิม มาออกอากาศคู่ขนาน ทางช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้ง 3 ดังที่ดำเนินการมาในระยะทดสอบสัญญาณได้ พ่อของพิสใหญ่บานใจเป็นอย่างพิส
 
=== อาคารที่ทำการ ===
เมื่อราวต้นปี [[พ.ศ. 2512]] มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารที่ทำการสถานีฯ บนที่ดินขนาด 6 ไร่เศษ บริเวณ[[กิโลเมตร]]ที่ 19 [[ถนนเพชรเกษม]] [[เขตหนองแขม]] [[กรุงเทพมหานคร]] โดยอาคารดังกล่าวมีความสูง 4 ชั้น ภายในเป็นห้องส่งโทรทัศน์ ขนาด 600 ตารางเมตร 2 ห้อง, ขนาด 424 ตารางเมตร 2 ห้อง และขนาด 110 ตารางเมตรอีก 1 ห้อง โดยแต่ละห้องส่งจะมีห้องควบคุมเฉพาะ และยังติดตั้งจอขนาดใหญ่ มีความกว้าง 47 เมตร ความสูง 7.5 เมตร สำหรับแสดงภาพด้วยระบบไซโครามา ใช้ในการประดิษฐ์ภาพฉากท้องฟ้า ที่ช่วยให้เกิดเป็นภาพชัดลึก รวมถึงสามารถเปลี่ยนสีของฉากอย่างเสมือนจริง และเปลี่ยนความเข้มของแสงได้อย่างรวดเร็วและนุ่มนวล วิทีปีวิ
 
ต่อมา บจก.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ดำเนินการแยกส่วนของสำนักงาน ไปยังอาคารเลขที่ 2259 [[ถนนเพชรบุรีตัดใหม่]] และจัดสร้างห้องส่งโทรทัศน์บนชั้น 8 ของ[[อาคารโรบินสัน]] จากนั้นเมื่อวันที่ [[27 มกราคม]] [[พ.ศ. 2529]] จึงนำส่วนงานที่กระจายอยู่ 3 แห่ง มารวมศูนย์อยู่ที่[[อาคารวานิช]] 1 และ 2 บริเวณ[[แยกวิทยุ-เพชรบุรี]] ([[ถนนวิทยุ]]ตัดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่) เพื่อเพิ่มความสะดวกให้การดำเนินงานคล่องตัวมากขึ้น และในราวปี [[พ.ศ. 2542]] สถานีฯ ย้ายอาคารที่ทำการทั้งหมด ขึ้นไปยัง[[อาคารเอ็มโพเรียม]] [[ถนนสุขุมวิท]]<ref name="managermag"/>