ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:National Museum KL 2008 (36).JPG|thumb|right|250px|''ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง'' ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกัวลาลัมเปอร์]]
 
'''ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง'''<ref>[[ราชบัณฑิตยสถาน]], ''[[พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554]] เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว'', กรุงเทพพฯกรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 453</ref> หรือ '''ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง''' ({{lang-ms|bunga mas dan perak}} "ดอกไม้ทองและเงิน") หรือ'''บุหงามาศ''' ({{lang-ms|bunga mas}} "ดอกไม้ทอง") เป็น[[บรรณาการ]]ที่[[ประเทศราช]]ของ[[สยาม]] เช่นรัฐต่าง ๆ ใน[[คาบสมุทรมลายู]] อันได้แก่ [[ไทรบุรี]] [[ปัตตานี]] [[กลันตัน]] และ[[ตรังกานู]] ต้องส่งมาถวายแด่[[พระมหากษัตริย์ไทย|กษัตริย์สยาม]]เป็นประจำทุก ๆ สามปี โดยประกอบด้วยต้นไม้เล็ก ๆ สูงประมาณหนึ่งเมตรสองต้น ทำจาก[[เงิน (โลหะ)|เงิน]]และ[[ทองคำ]] และมีของบรรณาการอื่น ๆ เช่น อาวุธ ผ้า รวมถึง[[ทาส]]ประกอบด้วยตามความเหมาะสม มูลค่าของดอกไม้เงินดอกไม้ทองในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาจจะสูงถึงราว ๆ หนึ่งพัน[[ดอลลาร์สเปน]]เลยทีเดียว<ref name=andaya>อันดายา, บาร์บารา วัดสัน และ อันดายา, ลีโอนาโด วาย. ''ประวัติศาสตร์มาเลเซีย''. มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, 2549, ISBN 9749377672, หน้า 111 - 112</ref>
 
ที่มาของการใช้ดอกไม้เงินดอกไม้ทองเป็นเครื่องบรรณาการยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่มีเรื่องราวอยู่ในฮีกายัต พงศาวดารมะโรง มหาวงศ์ (Hikayat Merong Mahawangsa) ซึ่งเป็นหนังสือของราชสำนัก[[ไทรบุรี]] กล่าวไว้ว่า ดอกไม้เงินดอกไม้ทองเป็นสัญลักษณ์เป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพ โดยตั้งใจจะถวายถวายดอกไม้เงินดอกไม้ทองแด่เจ้าชายแห่งสยามเพื่อเป็นของเล่น แต่จากมุมมองของกษัตริย์ไทยก็ยังมองว่าดอกไม้เงินดอกไม้ทองเป็นสัญลักษณ์ของการยอมสวามิภักดิ์มากกว่า<ref name=andaya/>
 
การส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1909 เมื่อ[[จักรวรรดิอังกฤษ]]เข้ามาปกครองหัวเมืองมลายูที่เป็นรัฐทางเหนือของ[[ประเทศมาเลเซีย]]ในปัจจุบัน<ref name=andaya/>