ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Hellokorat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
 
[[ไฟล์:อาคาร10.JPG|thumb|อาคาร 10 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปัจจุบัน]]
 
[[ไฟล์:ตราสัญลักษณ์-สำนักศิลปะและวัฒนธรรมโคราช.jpg|thumb|ตราสัญลักษณ์ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เริ่มใช้ในเดือนกันยายน 2556]]
 
[[ไฟล์:พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา1.jpg|thumb|ห้องสมัยอยุธยา พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา เริ่มเปิดให้บริการอย่างไม่เป็นทางการในเดือนมีนาคม 2557]]
เส้น 54 ⟶ 52:
 
[[พ.ศ. 2556]] นางวิลาวัลย์ วัชระเกียรติศักดิ์ ผู้อำนวยการฯ ในขณะนั้น ได้รับอนุมัติงบประมาณจำนวน 4.3 ล้านบาท ให้ดำเนินการก่อสร้าง [[พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา]] บริเวณชั้น 2 อาคาร 10 แล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2557
 
== ตราสัญลักษณ์ ==
[[ไฟล์:ตราสัญลักษณ์-สำนักศิลปะและวัฒนธรรมโคราช.jpg|thumbcenter|300px|ตราสัญลักษณ์ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เริ่มใช้ในเดือนกันยายน 2556]]
แนวคิดการออกแบบตราสัญลักษณ์สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ออกแบบโดยคำนึงถึงภารกิจในการเป็นหน่วยงานหลักของจังหวัดนครราชสีมาที่ทำหน้าที่อนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา จึงได้พิจารณานำเอาจุดเด่นของจังหวัดมาใช้เป็นสัญลักษณ์และคำนึงถึงความสะดวกต่อการใช้งาน โดยเลือกใช้ลายที่สร้างสรรค์จาก “ปรางค์ประธานปราสาทหินพิมาย” เนื่องจากปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายานและเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามและมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นหลักฐานการพัฒนาการของสังคมมนุษย์ ในด้านการก่อสร้าง ศิลปะ ความเชื่อและศาสนา ศาสนสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ ณ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ดินแดนอุดมสมบูรณ์ และมีอดีตอันรุ่งเรืองของชาวอีสานตอนล่าง
 
ส่วนการใช้สี ”สีแดงเลือดหมู” เนื่องจากเป็นสีของดินเทศที่มักปรากฏบนภาชนะดินเผา หรือภาพเขียนสีในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่ได้มาจากแร่เฮมาไทด์ (Hematite) เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงศิลปะ ความเชื่อ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของผู้คนบนดินแดนนครราชสีมาได้ดีที่สุด สืบเนื่องจากจังหวัดนครราชสมาสีมาเป็นคลังความรู้ด้านโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ซึ่งมีการค้นพบแหล่งโบราณดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์หลากหลายแหล่ง ซึ่งฉายภาพให้เห็นความเจริญของอารยธรรมที่ต่อเนื่องยาวนานว่า 4,500 ปี ซึ่งในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ของสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้น มักใช้สีแดงเป็นองค์ประกอบอย่างแพร่หลาย นัยหนึ่งหมายถึงเลือด สัญลักษณ์ของชีวิตและพลัง อีกนัยหนึ่งเพื่อต้องการสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อการเกิดใหม่หรือการยึดเหนี่ยวทางสายเลือด มักวาดลงบนผนังถ้ำเพิงผา หรือบนภาชนะดินเผา
 
== รายนามผู้บริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ==