ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศสยาม เมษายน พ.ศ. 2476"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 7:
{{คำพูด|...ในคณะรัฐมนตรี ณ บัดนี้ เกิดการแตกแยกเป็น ๒ พวก มีความเห็นแตกต่างกัน ความเห็นข้างน้อยนั้นปรารถนาที่จะวางนโยบายเศรษฐกิจไปในทางอันมีลักษณะเป็นคอมมิวนิสต์ ความเห็นข้างมากนั้นเห็นว่านโยบายเช่นนั้นเป็นการตรงกันข้ามแก่ขนบประเพณีชาวสยาม และ เป็นที่เห็นได้โดยแน่นอนทีเดียวว่านโยบายเช่นนั้น จักนำมาซึ่งความหายนะแก่ประชาราษฎร และเป็นมหันตภัยแก่ความมั่นคงของประเทศ...สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเวลานี้เล่า ก็ประกอบขึ้นด้วยสมาชิกที่แต่งตั้งขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญ สภานี้มีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ จนกว่าจะมีสภาใหม่โดยราษฎรเลือกตั้งสมาชิกขึ้นมา สภาประกอบด้วยสมาชิกที่แต่งตั้งขึ้นมาชั่วคราวเช่นนี้ หาควรที่ไม่จะเพียรวางนโยบายทางเศรษฐกิจใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงของเก่าอันมีใช้อยู่ประดุจการพลิกแผ่นดิน ส่วนสภาในเวลานี้จะอ้างว่าไม่ได้ทำ หรือยังไม่ได้ทำกฎหมายอันมีลักษณะไปในทางนั้นก็จริงอยู่ แต่เป็นที่เห็นได้โดยชัดเจนแจ่มแจ้งว่าสมาชิกเป็นจำนวนมากคน มีความปรารถนาที่จะทำเช่นนั้น และมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อรัฐมนตรีอันมีจำนวนข้างน้อยในคณะรัฐมนตรี...}}
 
สำหรับตัวพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเองนั้น ไม่เห็นด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ คณะนายทหารที่สนับสนุนพระยามโนปกรณ์ฯ โดย พระยาทรงสุรเดชจึงขู่ฝ่ายที่สนับสนุนนายปรีดีโดยการใช้กำลัีงกำลังทหารพร้อมอาวุธปืนและลูกระเบิดตรวจค้นสมาชิกสภาฯ ก่อนจะเข้าที่ประชุม ดังที่[[วิเทศกรณีย์]]บันทึกไว้ว่า
 
{{คำพูด|ก่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อเวลา 09.35 น. นั้น พระยาทรงสุรเดชได้นำเอาทหาร 1 กองร้อยพร้อมสรรพด้วยอาวุธและนัยว่าได้เอาลูกระเบิดมือติดตัวมาด้วย ทหาร 1 กองร้อยดังกล่าวนี้ได้ยืนอยู่ที่เชิงบันไดสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำการตรวจค้นอาวุธที่บรรดาสมาชิกพกติดตัวมา ถ้าใครพกปืนติดตัวมาก็เก็บเอาไว้เสียทันที การกระทำเช่นนี้ไม่เป็นที่พอใจของสมาชิกเป็นส่วนมาก|}}<ref>''พระยาทรงสุรเดช (2)'', คอลัมน์ ส่วนร่วมสังคมไทย โดย นรนิติ เศรษฐบุตร รศ. หน้า 8 บทความ-การ์ตูน. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,255: ศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็ง</ref>