ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศสยาม เมษายน พ.ศ. 2476"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
และยกพวกไปล้อมบ้านพักของนายปรีดี เป็นเหตุให้ต้องใช้พระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ซึ่งถือได้ว่าเป็นการ '''รัฐประหารเงียบ''' พร้อมบีบบังคับนายปรีดีไปที่[[ประเทศฝรั่งเศส]] และได้ออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 ออกมาใช้ด้วย มีการกวาดล้างจับกุมชาว[[เวียดนาม]]ที่สงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันคณะกรรมการ[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย|พรรคคอมมิวนิสต์สยาม]]ก็ถูกจับและถูกจำคุก ทั้งนี้มีบันทึกที่ไม่เป็นทางการว่า พระยามโนปกรณ์นิติธาดา และ พระยาทรงสุรเดช ร่วมมือกันในการขจัดบทบาททางการเมืองของคนสำคัญในคณะราษฏรเอง เช่น นายปรีดี พนมยงค์ และ[[หลวงพิบูลสงคราม]] เป็นต้น
 
เหตุความขัดแย้งขึ้นยังคงดำเนินต่อมา นำไปสู่การปิด[[หนังสือพิมพ์]]บางฉบับที่ให้การสนับสนุนคณะราษฎร จนทำให้เกิดเหตุ[[รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476|รัฐประหารอีกครั้งด้วยกำลังทหารในอีก 69 วันต่อมา]] ซึ่งตรงกับวันที่ 20 มิถุนายน ปีเดียวกัน<ref>''12 เมษายน'', คอลัมน์ ส่วนร่วมสังคมไทย โดย นรนิติ เศรษฐบุตร รศ. หน้า 8 บทความ-การ์ตูน. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,192: ศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556 ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเส็ง</ref> ซึ่งคณะนายทหารคณะราษฎรได้รัฐประหารรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เรียกตัวนายปรีดีกลับมา และเนรเทศพระยามโนปกรณ์นิติธาดาไป[[ปีนัง]]แทนด้วย[[รถไฟ]] และถึงแก่กรรมที่นั่นในที่สุด สำหรับพระยาทรงสุรเดช นี่เป็นจุดเริ่มต้นความขัดแย้งที่นำไปสู่การกล่าวหาในเหตุการณ์[[กบฏพระยาทรงสุรเดช]]ต่อไป<ref>[http://www.moomkafae.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=186209&Ntype=6 การเมืองไทยหลังปี ๒๔๗๕]</ref>
{{วิกิซอร์ส|พระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร 1 เมษายน พ.ศ. 2476}}
==ดูเพิ่ม==