ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชนกรรมาชีพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 10:
ความมั่งคั่งที่ผลิตขึ้นส่วนหนึ่งถูกนำมาจ่ายเป็นค่าจ้างคนงาน (ต้นทุนแปรผัน) อีกส่วนหนึ่งใช้ทำปัจจัยการผลิตใหม่ (ต้นทุนคงที่) ขณะที่ส่วนที่สาม [[มูลค่าส่วนเกิน]] ถูกแบ่งระหว่างการหยิบฉวยส่วนตัวของนายทุน (กำไร) และเงินที่ใช้จ่ายค่าเช่า ภาษี ดอกเบี้ย ฯลฯ มูลค่าส่วนเกินแตกต่างกันระหว่างความมั่งคั่งที่ชนกรรมาชีพผลิตขึ้นผ่านงานของชน และความมั่งคั่งที่ชนกรรมาชีพบริโภคเพื่อยังชีพและให้แรงงานต่อบริษัทนายทุน มูลค่าส่วนเกินส่วนหนึ่งใช้เพื่อทำใหม่หรือเพิ่มปัจจัยการผลิต อาจเป็นในเชิงปริมาณหรือคุณภาพ (คือ มูลค่าส่วนเกินเปลี่ยนเป็นทุน) และเรียก มูลค่าส่วนเกินที่กลายเป็นทุน (capitalised surplus value) ชนชั้นนายทุนบริโภคสิ่งที่เหลือ
 
โภคภัณฑ์ที่ชนกรรมาชีพผลิตและนายทุนขายถูกคำนวณเป็นมูลค่าตามปริมาณแรงงานซึ่งรวบรวมอยู่ในนั้น สิ่งเดียวกันเกิดขึ้นสำหรับกำลังแรงงานของคนงานเอง คือ มันถูกคำนวณเป็นมูลค่า ไม่ใช่สำหรับปริมาณความมั่งคั่งที่ผลิต แต่เป็นปริมาณแรงงานที่จำเป็นเพื่อผลิตและผลิตซ้ำ ฉะนั้น นายทุนจึงได้ความมั่งคั่งจากแรงงานของลูกจ้างตัว หาใช่การทำหน้าที่การเข้ามีส่วนร่วมของบุคคลในกระบวนการผลิต ซึ่งอาจไม่มีเลย หากเป็นการทำหน้าที่ของความสัมพันธ์เกี่ยวกับกฎหมายของทรัพย์สินต่อปัจจัยการผลิต นักลัทธิมากซ์แย้งว่า ความมั่งคั่งใหม่ถูกสร้างขึ้นผ่านแรงงานที่ใช้ต่อกับทรัพยากรธรรมชาติ
 
มากซ์แย้งว่าชนกรรมาชีพมีเป้าหมายเพื่อแทนที่ระบบทุนนิยมด้วย[[ลัทธิเผด็จการโดยชนกรรมาชีพ]] ยุบความสัมพันธ์ทางสังคมที่รองรับระบบชนชั้น แล้วพัฒนาสู่สังคม[[คอมมิวนิสต์]]ซึ่ง "การพัฒนาแต่ละบุคคลอย่างอิสระเป็นเงื่อนไขของการพัฒนาทุกคนอย่างอิสระ"
 
[[หมวดหมู่:ชนชั้นทางสังคม]]