ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศซีเรีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
→‎การเมือง: ลบเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์
บรรทัด 74:
== การเมือง ==
รูปแบบการปกครอง แบบสาธารณรัฐภายใต้การปกครองโดยทหาร (นับแต่ปี ค.ศ.1963) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ เลือกตั้งคราวละ 7 ปี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
 
ประมุขของรัฐ Bashar al-ASAD (ตั้งแต่ 17 กรกฎาคม 2543)
 
หัวหน้าฝ่ายบริหาร นาย Mustafa Mohammed Miro (นายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ 13 มีนาคม 2543)
 
รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Walid Al-Mualem <br/><br/>
 
'''รู้จักประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด แห่งซีเรีย'''
 
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย เมื่อวันที่ 25 ส.ค. พาไปทำความรู้จักกับประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด แห่งซีเรีย ผู้นำประเทศเล็กๆบนคาบสมุทรอาหรับ ที่ทั่วโลกกล่าวถึงมากที่สุดตลอดกว่า 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชนที่ต้องการโค่นอำนาจเขา ซึ่งบานปลายกลายเป็นสงครามกลางเมือง ที่อัสซาดประกาศกร้าวมาตลอดว่า เป็น “เรื่องภายใน” ของซีเรีย “คนนอก” อย่าเข้ามายุ่ง ถ้าไม่อยาก “เจ็บตัว”
 
อัสซาดเกิดเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2508 ที่กรุงดามัสกัส เป็นบุตรคนที่ 3 จากทั้งหมด 5 คน ของนายพลฮาเฟซ อัล-อัสซาด ซึ่งปกครองซีเรียมานานเกือบ 30 ปี จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่งเมื่อปี 2543 เดิมทีอัสซาดไม่ได้รับการวางตัวจากบิดาให้เป็นผู้สืบทอดอำนาจ ทว่าเมื่อพี่ชายคือ บาสเซล เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ กอรปกับการที่บุตรคนแรกของครอบครัวเป็นบุตรสาว อัสซาดจึงลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ที่เป็นไปในแนวของ “การลงประชามติ” มากกว่า เนื่องจากไม่มีผู้สมัครคนอื่น และแน่นอนว่า อัสซาดได้รับคะแนน “ความเห็นชอบ” จากประชาชนอย่างท่วมท้นกว่า 97%
 
สำหรับชีวิตส่วนตัว อัสซาดสมรสกับนางสาวอัสมา อัล-อัคห์ราส ชาวอังกฤษเชื้อสายซีเรีย เมื่อปี 2543 และมีบุตรร่วมกัน 3 คน ทั้งนี้ นอกจากภาษาอาหรับที่เป็นภาษาแม่แล้ว อัสซาดยังสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว และสามารถสนทนาภาษาฝรั่งเศสระดับพื้นฐานได้ด้วย
 
แม้จะมีอำนาจล้นมือในทุกด้าน จนสามารถชี้เป็นชี้ตายใครก็ได้ แต่อัสซาดไม่ค่อยยุ่งเกี่ยวเรื่องการเมืองมากนัก เขามุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาสมาคมคอมพิวเตอร์ซีเรีย และการขยายการวางโครงข่ายอินเตอร์เน็ทในประเทศมากกว่า แต่ก็ยังไม่วายที่เขาจะสั่งปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ชื่อดังทั้ง “กูเกิ้ล” “ยูทูบ” “เฟซบุ๊ค” และ “วิกิพีเดีย”
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายแห่ง และสื่อต่างชาติอีกหลายสำนัก เริ่มเสนอรายงานตีแผ่การที่อัสซาดตั้งหน่วยตำรวจลับเพื่อจับกุมผู้ที่แสดงตนว่าต่อต้านรัฐบาลมาจำคุก ทรมานร่างกาย หรือสังหารอย่างเหี้ยมโหด หลายฝ่ายเริ่มจับจ้องมายังซีเรีย ซึ่งแน่นอนว่า อัสซาดออกมาปฏิเสธเรื่องราวทั้งหมด
 
เวลาล่วงเลยไปจนกระทั่งถึงวันที่ 15 มี.ค. 2554 ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นการเดินขบวนประท้วงของประชาชนจำนวนมาก เพื่อขับไล่อัสซาดออกจากตำแหน่ง และหยุดการยึดอำนาจในรัฐสภาของฝ่ายรัฐบาล นำโดยพรรคบาธ ( Ba’ath ) ของอัสซาด ที่ครองเสียงข้างมากมานานกว่า 4 ทศวรรษ อย่างไรก็ตาม การชุมนุมเริ่มยืดเยื้อ มีทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนและทหารที่แปรพักตร์ไปร่วมกับฝ่ายต่อต้านมากขึ้น กองทัพรัฐบาลกระจายกำลังลงพื้นที่หลายเมืองทั่วประเทศ เพื่อปราบปรามกลุ่มนักรบฝ่ายต่อต้าน เกิดเป็น “การขัดกันด้วยอาวุธ” ภายในประเทศ หรือสงครามกลางเมืองครั้งใหญ่ ทั่วโลกรุมประณาม ด้านสันนิบาตอาหรับประกาศระงับสมาชิกภาพของซีเรีย
 
ขณะที่อัสซาดเริ่มออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศ ในตอนหนึ่งของการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์เอบีซีของสหรัฐ เมื่อ 2 ปีก่อน ผู้นำซีเรียวัย 47 ปียืนยันว่า รัฐบาลไม่เข่นฆ่าประชาชนของตัวเอง เว้นเสียแต่ว่าจะมี “คนบ้า” เป็นผู้นำ เขายังประณามสหรัฐผ่านสื่อหลายแห่งโดยเฉพาะสื่อของยุโรป ว่ารวมหัวกับฝ่ายต่อต้านและประเทศพันธมิตรตั้ง “แก๊ง” เพื่อมารุกรานประเทศของเขา พร้อมกับประกาศว่า วอชิงตันจะต้อง “ชดใช้” หากใช้วิธีแทรกแซงทางทหาร หรือมอบความช่วยเหลือด้านอาวุธแก่ฝ่ายกบฏ เขาจะสร้าง “ผลกระทบแบบโดมิโน” ให้เดือดร้อนกันไปทั้งหมด
 
ผ่านมาแล้วกว่า 28 เดือน รายงานของสหประชาชาติ ( ยูเอ็น ) ระบุจำนวนผู้เสียชีวิตว่าอยู่ที่อย่างน้อย 100,000 ศพ และมีชาวซีเรียมาขึ้นทะเบียนเป็นผู้อพยพของยูเอ็นแล้วเกือบ 2 ล้านคน สะท้อนให้เห็นว่า วิกฤตสงครามกลางเมืองในซีเรียยังคงยืดเยื้อ และกลับเข้าสู่ภาวะตึงเครียดอย่างหนักอีกครั้ง หลังเกิดเหตุการณ์โจมตีด้วย “อาวุธเคมี” ที่ชานกรุงดามัสกัส เมื่อวันที่ 21 ส.ค. ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,300 ศพ โดยส่วนใหญ่เป็นเด็ก
 
ฝ่ายรัฐบาลและกบฏซีเรียต่างออกมากล่าวโทษซึ่งกันและกัน แต่ดูเหมือนประชาคมโลกจะพุ่งเป้าไปที่รัฐบาลของอัสซาดมากกว่า ซึ่งหากเป็นจริงก็สอดคล้องกับคำกล่าวของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐ ที่ว่าฝ่ายดามัสกัส “ล้ำเส้น” และเขาคงต้อง “จัดการ” แต่ยังระวังเลี่ยงการกล่าวเรื่องการแทรกแซงทางทหาร แม้จะมีข่าวว่า เรือพิฆาตของกองทัพเรือสหรัฐเตรียมเคลื่อนเข้าไปประชิดน่านน้ำซีเรีย รอเพียง “ไฟเขียว” จากโอบามาเท่านั้นก็ตาม
 
ทว่าการแสดงบทบาทของสหรัฐครั้งนี้อาจไม่สะดวกอย่างที่ผ่านมา “คำเตือน” ของอัสซาดที่ว่า หากสหรัฐหรือยุโรปเข้ามายุ่ง เพื่อนบ้านของซีเรียจะต้องได้รับแรงกระเพื่อม บวกกับการที่เขายืนกรานจะไม่ลาออก เพราะนั่นคือการ “หนี” โดยจะรอให้ชาวซีเรียเป็นผู้ตัดสินเอง ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ที่ตามกำหนดจะมีขึ้นในปีหน้า และการจะขอตายบนแผ่นดินซีเรียเท่านั้น บางทีอัสซาด ผู้ที่ภายนอกดูนิ่งเฉยมาตลอด แต่ภายในอาจเต็มไปด้วยความคิดที่ “เหนือความคาดหมาย” ก็เป็นได้ <ref>http://www.dailynews.co.th/world/228497</ref>
 
<br/>
 
'''ด้านการเมืองสำหรับประเทศไทย'''<br/>
 
ไทยกับซีเรียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2499 (ค.ศ. 1956) แต่การติดต่อสัมพันธ์ การค้าและการลงทุนระหว่างกันมีน้อย อดีตรองนายกรัฐมนตรี วันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้เดินทางเยือนซีเรีย เมื่อมิถุนายน 2547 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านต่างๆ ซึ่งซีเรียแสดงความสนใจที่จะร่วมมือในด้านการท่องเที่ยว การส่งออกยาและเวชภัณฑ์ เสื้อผ้า และอาหาร แปรรูป <ref>http://www.apecthai.org/apec/th/profile1.php?continentid=2&country=a6</ref>
 
{{โครงส่วน}}
 
== การแบ่งเขตการปกครอง ==