ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรือประจัญบานมูซาชิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: ลิงก์บทความคัดสรร en:Japanese battleship Musashi
บรรทัด 97:
เรือประจัญบานมุซาชิ ได้เข้าร่วมในยุทธการ "อะ" ใน[[การยุทธ์นอกหมู่เกาะมาเรียนา]] ที่ฝ่ายสหรัฐ ฯ เรียกว่า "[[การยุทธ์ที่ทะเลฟิลิปปินส์]]" เมื่อ 19 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2487 และในยุทธการ "โช" ใน[[การยุทธ์ที่อ่าวเลเต]] แต่ถูกโจมตีทางอากาศจมใน[[ทะเลซิบูยัน]] เมื่อ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487
 
เมื่อกำลังรบส่วนกลาง อันประกอบด้วยเรือประจัญบาน [[เรือประจัญบานยามาโตะ|ยามาโตะ]] มุซาชิ นางาโต้ กงโงคองโง และ [[เรือประจัญบานฮารุนะ|ฮะรุนะ]] เรือลาดตระเวนหนัก โจไก เมียวโกะ ฮะงุโระ คุมาโนะ ซึทสึยา จิคุมะ และโทเนะ เรือลาดตระเวนเบา โนชิโระ และ ยะฮะงิ พร้อมด้วยเรือพิฆาตอีก 15 ลำ เดินทางผ่านทะเลซิบูยันเพื่อออกสู่[[มหาสมุทรแปซิฟิก]] ทางช่องแคบซานเบอร์นาร์ดิโน มุ่งไปยังอ่าวเลย์เตนั้น เมื่อเวลา 1026 ของ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ก็ถูกกำลังทางอากาศจากกำลังรบเฉพาะกิจที่ 38 เข้าโจมตี โดยระลอกแรก เป็นเครื่องบินขับไล่ F6F 21 เครื่อง เครื่องบินดำทิ้งระ เบิด SB2C 12 เครื่อง และเครื่องบินทิ้งตอร์ปิโด TBM 12 เครื่อง จากเรือบรรทุกเครื่องบิน อินเทรปิด (CV-11) และเรือบรรทุกเครื่องบินเบา คาบอต (CVL-27) ระลอกที่สองด้วยจำนวนเกือบเท่ากัน เมื่อ 1045 ระลอกที่สาม เป็นเครื่องบินขับไล่ 16 เครื่อง เครื่องบินดำทิ้งระเบิด 12 เครื่อง และเครื่องบินทิ้งตอร์ปิโด 3 เครื่อง เข้าโจมตีเมื่อ 1550 นอกจากนี้เมื่อเวลา 1330 มีเครื่องบินขับไล่ 8 เครื่อง เครื่องบินดำทิ้งระเบิด 5 เครื่อง และเครื่องบินทิ้งตอร์ปิโด 11 เครื่อง จากเรือบรรทุกเครื่องบินเล็กซิงตัน (ลำที่ 2) (CV-16) และบางส่วนจากเรือเอ็สเซ็ก (CV-9) เข้าร่วมโจมตี และเมื่อ 1415 มีกำลังทางอากาศของหมวดเฉพาะกิจที่ 38.4 เรือบรรทุกเครื่องบิน แฟรงกลิน (CV-13) เอ็นเทอร์ไพรส์ (CV-6) เรือบรรทุกเครื่องบินเบา ซานฮาซินโต้ (CVL-30) เบลลิววู๊ด (CVL-24)] ซึ่งประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ 26 เครื่อง เครื่องบินดำทิ้งระเบิด 21 เครื่อง และเครื่องบินทิ้งตอร์ปิโด 18 เครื่อง ก็เข้าร่วมโจมตีด้วย รวมแล้วในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487 สหรัฐ ฯ ได้ส่งเครื่องบินเข้าโจมตีกำลังรบส่วนกลาง ของญี่ปุ่น ในทะเลซิบูยัน เป็นจำนวน 259 เที่ยวบิน
 
=== ปฏิบัติการสุดท้าย ===
บรรทัด 108:
 
เมื่อเรือประจัญบานมุซาชิถูกโจมตีได้รับความเสียหาย ความเร็วลดลงจนไม่สามารถตามกระบวนได้ทัน พลเรือเอก คุริตะ ผู้บัญชาการทัพเรือ ก็ได้สั่งการให้เรือ ลาดตระเวนหนัก โทเนะ เรือพิฆาตฮามะคาเซะ และ คิโยชิโมะ อยู่ให้ความคุ้มกัน ต่อมาเรือพิฆาตชิมะคาเซะ ก็เข้ามารับหน้าที่แทนเรือ ฮามะคาเซะ ซึ่งได้รับความเสียหายจากการโจมตีระลอกที่ 5 จาก นั้น เมื่อเห็นว่าเรือมุซาชิต้องลอยลำรอเวลาจมเท่านั้น เรือลาดตระเวนหนักโทเนะ ได้ขออนุมัติแยกตัวใช้ความเร็วตามกระบวนเรือใหญ่ไปปฏิบัติภารกิจหลัก จึงเหลือเรือพิฆาต 2 ลำ ที่อยู่ จนวาระสุดท้ายของเรือ มุซาชิ เพื่อช่วยเหลือพลประจำเรือที่สละเรือใหญ่ คือ เรือพิฆาต ชิมะคาเซะ และเรือพิฆาตคิโยชิโมะ
 
 
== ตำบลที่ที่เรือประจัญบานมุซาชิจม ==