ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชุมนุมเจ้าพระฝาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ภาพวัดโสธร ไม่ใช่วัดพระฝาง
บรรทัด 14:
ครั้น[[กรุงศรีอยุธยา]]เสียแก่[[พม่า]] ในปี [[พ.ศ. 2310]] เจ้าพระฝางก็ซ่องสุมผู้คนได้หลายเมือง ตั้งตัวเป็นเจ้า แต่ไม่ยอมสึกจากพระ เปลี่ยนสี[[จีวร]]จากสีเหลืองเป็นสีแดง นับเป็นชุมนุมใหญ่ฝ่ายเหนือ ประชาชนเรียกกันว่า “เจ้าพระฝาง”
 
ปีชวด ([[พ.ศ. 2311]]) [[เจ้าเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล)|เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง)]] ผู้นำชุมนุมสำคัญถึงแก่พิราลัย [[พระอินทรอากร]]ผู้น้องขึ้นครองเมือง เจ้าพระฝางยกกองทัพไปตี[[พิษณุโลก]] สู้รบกันสามเดือน ชาวเมืองไม่ชอบเจ้า[[พิษณุโลก]]องค์ใหม่ แอบเปิดประตูรับกองทัพเจ้าพระฝางเข้าเมือง เมื่อชนะพิษณุโลก ประหารพระอินทรอากรแล้ว เจ้าพระฝางก็สั่งให้ขนทรัพย์สินจากเมืองพิษณุโลก และอพยพผู้คนไปปักหลักอยู่ที่เมืองสวางคบุรี ชื่อ เสียงของชุมนุมเจ้าพระฝางก็ยิ่งเลื่องลือระบือไกล
 
สองปีต่อมา กรมการเมือง[[อุทัยธานี]] และเมือง[[ชัยนาท]] กราบทูลพระเจ้า[[กรุงธนบุรี]]ว่า เจ้าพระฝางประพฤติเป็นพาลและทุศีลมากขึ้น ตัวยังห่มผ้าเหมือนพระ แต่ ประกอบกรรมปาราชิก พวกพระที่เป็นแม่ทัพนายกองก็ออกปล้นข้าวปลาอาหารจากราษฎร เดือดร้อนกันไปทั่ว