ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยูโรปา (ดาวบริวาร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เพิ่มการค้นพบและการตั้งชื่อ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 47:
 
== การค้นพบและตั้งชื่อ ==
ยูโรปาและดวงบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดีอีกสามดวงได้แก่ [[ไอโอ]] [[แกนีมีด]] และ [[คาลลิสโต]] ถูกค้นพบในวันที่ [[8 มกราคม]] ค.ศ. 1610 โดยกาลิเลโอ กาลิเลอี<ref name=IAUMoonDiscoveries>{{cite web |url=http://planetarynames.wr.usgs.gov/append7.html |title=Planet and Satellite Names and Discoverers |work= |publisher=USGS |accessdate= }}</ref> และไซมอน มาริอุส ยูโรปาถูกตั้งชื่อตามสตรีชนชั้นสูงชาว[[ฟินิเชีย]]ใน[[เทพปกรณัมกรีก]]ชื่อ ยูโรปา ผู้เป็นราชินีของ[[ครีต]]และถูก[[ซูส]]เกี้ยวพาราสี
 
กาลิเลโอค้นพบยูโรปาและดวงจันทร์กาลิเลี่ยนดวงอื่นครั้งแรกโดยใช้[[กล้องโทรทรรศน์หักเหแสง]]กำลังขยาย 20 เท่าที่มหาวิทยาลัย[[ปาโดวา]]ในวันที่ [[7 มกราคม]] อย่างไรก็ตามกาลิเลโอยังไม่สามารถแยกไอโอกับยูโรปาได้เนื่องจากประสิทธิภาพของกล้องต่ำเกินไป ดาวบริวารทั้งสองจึงถูกบันทึกเป็นจุดแสงจุดหนึ่งเท่านั้น ไอโอกับยูโรปาถูกค้นพบว่าเป็นคนละดวงได้ในวันต่อมา<ref name="IAUMoonDiscoveries" />
 
ยูโรปาถูกตั้งชื่อตามคนรักของ[[ซูส]]เหมือนกับดวงจันทร์แกลิเลี่ยนดวงอื่น ซึ่งในที่นี้คนรักนั้นคือ ยูโรปา ลูกสาวของกษัตริย์แห่ง[[ไทร์_(ประเทศเลบานอน)|ไทร์]] โดยผู้ที่เสนอหลักการตั้งชื่อนี้คือ ไซมอน มาริอุส ที่เชื่อว่าน่าจะค้นพบดาวบริวารกาลิเลี่ยนทั้งสี่ด้วยเช่นกัน (แม้ว่ากาลิเลโอจะกล่าวหาว่าไซมอนเลียนแบบเขา) มาริอุสได้เสนอหลักการตั้งชื่อนี้ให้กับ [[โยฮันเนส เคปเลอร์]]<ref name="SEDS">{{cite web |url=http://web.archive.org/web/20060821060833/http://seds.lpl.arizona.edu/messier/xtra/Bios/marius.html |title=Simon Marius (January 20, 1573 – December 26, 1624) |accessdate=9 August 2007 |publisher=[[University of Arizona]] |work=Students for the Exploration and Development of Space }}</ref><ref name="Marius1614">[[Simon Marius|Marius, S.]]; (1614) ''[[Mundus Iovialis]] anno M.DC.IX Detectus Ope Perspicilli Belgici'' [http://galileo.rice.edu/sci/marius.html], where he [http://galileo.rice.edu/sci/observations/jupiter_satellites.html attributes the suggestion] to [[Johannes Kepler]]</ref>
 
ในบทเรียน[[ดาราศาสตร์]]ยุคแรกๆ ยูโรปาถูกเรียกว่าดาวบริวารดวงที่สองของดาวพฤหัสบดี หรือ Jupiter II ส่วนชื่อยูโรปาไม่ได้ถูกพูดถึงโดยทั่วไปจนกระทั่งกลางคริสตศตวรรษที่ 20<ref name="marazzini">{{cite journal |last=Marazzini |first=Claudio |year=2005 |title=I nomi dei satelliti di Giove: da Galileo a Simon Marius (The names of the satellites of Jupiter: from Galileo to Simon Marius) |journal=Lettere Italiane |volume=57 |issue=3 |pages=391–407 }}</ref>
 
== การโคจรและการหมุนรอบตัวเอง ==
ยูโรปา[[วงโคจร|โคจร]]รอบดาวพฤหัสบดีโดยใช้เวลาเพียงสามวันครึ่งด้วยรัศมีวงโคจรประมาณ 670,000 [[กิโลเมตร]] และมี[[ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร]] เพียง 0.009 ซึ่งค่อนข้างกลม มี[[ความเอียงของวงโคจร]]อ้างอิงจากระนาบ[[เส้นศูนย์สูตรฟ้า]]เล็กน้อย คือประมาณ 0.470 องศาเท่านั้น<ref name="datasheet">{{cite web | url=http://www2.jpl.nasa.gov/galileo/europa/#overview |title=Europa, a Continuing Story of Discovery|accessdate=9 August 2007 |work=Project Galileo|publisher=[[NASA]], Jet Propulsion Laboratory}} {{dead link|date=July 2013}}</ref>
 
== ดูเพิ่ม ==