ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การล้อมอยุธยา (พ.ศ. 2309–2310)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 133:
ส่วนเรื่องเชลยนั้นพม่าจับเชลยคนไทยได้มากเกินกว่าจะมีเครื่องพันธนาการเพียงพอ จึงเจาะบริเวณเอ็นเหนือส้นเท้าแล้วร้อยด้วยหวายติดกันเป็นพวง เพื่อกวาดต้อนเชลยไทยให้เดินทางไปยังกรุงอังวะ ประเทศพม่า นับแต่นั้นมาคนไทยเรียกบริเวณเอ็นเหนือส้นเท้าว่า “เอ็นร้อยหวาย ” ในปัจจุบัน<ref>แปลโดย ส.ศิวรักษ์. '''History of the Kingdom of Siam''', สังคมศาสตร์ปริทัศน์. ปีที่ 4 ฉบับที่ 4, 2510 หน้า 58-65</ref> เชลยศึกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนไปครั้งนั้น ได้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณปองเลไต๊ (ตึกปองเล) ใกล้คลองชะเวตาชอง หรือคลองทองคำ แถบระแหงโม่งตีส หรือตลาดระแหง ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ ประมาณ 13 กิโลเมตร มีวัดระไห่ เป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน มีตลาดโยเดีย และมีการรำโยเดียที่มีท่ารำชั้นสูง เช่น พรหมสี่หน้าของไทย ในเมืองพม่าปัจจุบันด้วย<ref>ชนสวัสดิ์ ชมพูนุท, ม.ร.ว.. '''พระราชประวัติ ๙ มหาราช'''. พระนคร : พิทยาคาร ๒๕๑๔, หน้า ๒๖๖.</ref>
 
พระเจ้าอุทุมพรถูกพระเจ้ามังระบังคับให้ลาผนวช แล้วให้ตั้งตำหนักอยู่ที่เมืองจักกาย (สแคง) ตรงหน้าเมืองอังวะ พร้อมด้วยเจ้านายและข้าราชการอยุธยาก็รวบรวมอยู่ที่นั่นเป็นส่วนมาก พม่าได้ซักถามเรื่องพงศาวดารและแบบแผนราชประเพณีกรุงศรีอยุธยาจดลงในจดหมายเหตุ คือ เอกสารที่ฝ่ายไทยได้ฉบับมาแปลพิมพ์เรียกว่า "คำให้การขุนหลวงหาวัด" หรือ "คำให้การชาวกรุงเก่า" แต่ส่วนพวกราษฎรที่ถูกกวาดต้อนไปจำนวนมากนั้น พม่าแจกจ่ายไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ ภายหลังหนีคืนมาบ้านเมืองได้บ้างก็มี แต่ก็สาบสูญไปในพม่าเสียเป็นส่วนมาก พระเจ้าอุทุมพรไม่เสด็จกลับมาอยุธยาอีก และสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2329 หลักฐานสุดท้ายของเจ้านายพระองค์นี้ที่เหลืออยู่ก็คือ เจดีย์ที่เมืองจักกายเท่านั้น<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน, พลตรี. '''การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พ.ศ. 2310'''. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาฯ, 2536 หน้า 185 - 186 ISBN 974-584-663-5</ref><ref>สุเนตร ชุตินธรานนท์. '''สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง (พ.ศ 2310) : ศึกษาจากพงศาวดารพม่าฉบับราชวงศ์คองบอง'''. กรุงเทพฯ : ศยาม, 2544 หน้า 112 ISBN 974-315-313-6</ref>
 
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งนี้ เป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย ทหารพม่าไล่ฆ่าฟันผู้คนล้มตายเป็นอันมาก ทรัพย์สินสมบัติสูญเสียถูกทำลาย ถูกขุดค้นไปทั่วทุกแห่งหน โดยตั้งใจจะไม่ให้อยุธยามีทรัพย์สมบัติอะไรเหลืออยู่ แม้แต่วัดวาอารามอันวิจิตรงดงาม พม่าก็เอาไฟเผาและเอาไฟสุม[[พระพุทธรูปพระศรีสรรเพ็ชรดาญาณ]]<ref>พระพุทธรูปยืน ทองหล่อหนัก 53,000 ชั่ง (44,166.66 กิโลกรัม) ในสมัยนั้นพระพุทธรูปองค์นี้ ประดิษฐานในพระวิหารหลังกลาง วัดพระศรีสรรเพชญ์) </ref> เพื่อให้ทองคำหุ้มองค์ละลาย เก็บเอาทองคำที่หุ้มองค์พระพุทธรูปหนัก 286 ชั่ง (238.33 กิโลกรัม) ไปใช้ประโยชน์ที่เมืองพม่า อีกทั้งได้กวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยและทาสยังเมืองพม่า พม่าเอาไฟเผาบ้านเรือนทำลายข้าวของต่าง ๆ อยู่ 15 วัน<ref>ทวน บุญยนิยม , 2513 : 48-50</ref>