ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แวว มยุรา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Paibenz (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กล่องข้อมูล นักแสดง | bgcolour = yellow | name = แวว มยุรา | image = | imagesize = | caption = | birthname = ส...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:50, 28 มีนาคม 2557

แวว มยุรา หรือ แวว อาภัสรา (พ.ศ. 2505 - 24 มกราคม พ.ศ. 2532) มีชื่อจริงว่า สมหมาย เรียงษา เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่ง มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี เธอมีน้ำเสียงที่ เศร้าสร้อย หวานกังวาล ใสแจ๋ว ขึ้นอยู่กับเพลงที่ร้องแต่ละเพลง

แวว มยุรา
เกิดพ.ศ. 2505
สมหมาย เวียงษา
เสียชีวิต24 มกราคม พ.ศ. 2532 (27 ปี)
คู่สมรสสกล อลงกรณ์
อาชีพนักร้อง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2518-พ.ศ. 2532
สังกัดวงดนตรีสายัณห์ สัญญา

ประวัติ[1]

ก่อนเข้าวงการ

แวว มยุรา หรือ แวว อาภัสรา เกิดเมื่อ พ.ศ.2505 ที่บ้านเลขที่ 63 หมู่ 2 อ.ห้วยคต จ.อุทัยธานี ครอบครัวมีอาชีพทำนา มีพี่น้อง 8 คน เธอเป็นคนที่ 4 เธอเข้าสู่วงการลูกทุ่งด้วยการประกวดร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก จนในที่สุดประมาณปี 2518 ได้เข้าประกวดร้องเพลงที่จัดโดยสถานีวิทยุ วศป. (ลพบุรี) ที่มี “ จันทร์จ๋า “ หัวหน้าวงดนตรีวงพรนารายณ์อันโด่งดังดำเนินงานอยู่ ด้วยเพลง " เสียงครวญจากสวนแตง " ของน้ำอ้อย พรวิเชียร จันทร์จ๋ามองเห็นความสามารถของเด็กหญิงอายุแค่ 10 ขวบจึงชวนมาร่วมวง ในที่สุดเธอก็มาเป็นบุตรบุญธรรมของ พร พรนารายณ์ เจ้าของวงดนตรีพรนารายณ์ และเริ่มต้นอาชีพนักร้องมาตั้งแต่เด็กในชื่อของ แวว อาภัสรา รุ่นไล่เรี่ยกันกับน้ำอ้อย พรวิเชียร โดยมีผลงานบันทึกเสียงเพลงแรกชื่อ “แม่ค้าแผงลอย“

ชีวิตการเป็นนักร้อง

ต่อมา เมื่อวงพรนารายณ์ยุบวงไป แววที่โตเป็นสาวแล้วก็ได้ย้ายไปอยู่กับวง สายัณห์ - ครรชิต (สายัณห์ จัทรวิบูลย์ กับ ครรชิต ขวัญประชา) จากนั้นก็มาอยู่กับวง สายัณห์ สัญญา และที่นี่ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า แวว มยุรา และมีชื่อเสียงจากการร้องเพลงแก้กับเพลงของสายัณห์ และต่อมาก็พบรักกับสกล อลงกรณ์ หนึ่งในเจ็ดทีมพลังหนุ่ม ที่มีส่วนสำคัญที่ผลักดันให้วงสายัณห์ สัญญา มีชื่อเสียงโด่งดังอย่างมาก

ต่อมา สกล ที่ลงทุนทำร้านอาหารได้เกิดขัดแย้งกับหุ้นส่วนจนถูกยิงตาย และเมื่อสายัณห์ยุบวง ด้วยการสนับสนุนของ อุทัย ศรีสุวรรณ และสายัณห์ สัญญา แววก็ได้ตั้งวงของตัวเองขึ้นมา แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนต้องขายบ้านของตัวเองออกไปเพื่อหาเงินมาใช้หนี้ และหาเลี้ยงชีพตัวเองและญาติพี่น้องโดยการร้องเพลงตามคาเฟ่

บั้นปลายชีวิต

ชะตาชีวิตของเธอต้องพลิกผัน เมื่อ “สกล อลงกรณ์” ผู้เป็นสามี ถูกมือปืนลอบยิงเสียชีวิต ที่ห้องอาหาร แอล.เอ.คาเฟ่ ปากซอยพาณิชยการธนบุรี เมื่อต้นปี 2531 เธอคนเดียวไม่อาจแบกภาระได้ จึงต้องล้มเลิกวงดนตรี หลังจากนั้นก็เริ่มประสบปัญหาเรื่องการเงิน จนต้องขายบ้านที่ร่วมกันสร้างไว้กับสามี เพื่อนำเงินมาเป็นค่าใช้จ่าย และมาเช่าห้องเป็นบ้านพักอยู่ที่ “นครหลวงคอนโดมิเนียม” ใกล้ ๆ กับสามแยกไฟฉาย และได้นำญาติพี่น้องมาอยู่ด้วยหลายคน โดยเธอเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด ต่อมาเธอไปสมัครเป็นนักร้องคาเฟ่ ที่ห้องอาหาร “นภาลัยคาเฟ่” ย่านศูนย์การค้านครหลวง การเงินช่วงนี้ยังพออยู่ได้ แต่มรสุมชีวิตก็ถาโถมเข้าหาเธออย่างหนัก เมื่อนาย “สายชล เรียงสา” ผู้เป็นน้องชาย ซึ่งทำงานเป็นพนักงานอยู่ที่ “นภาลัยคาเฟ่” ร่วมกับพวกรุมทำร้ายนักศึกษาธุรกิจการบิน ที่พาเพื่อนมาเที่ยวห้องอาหาร ถึงแก่ความตาย ต่อมาตำรวจจับกุมนายสายชลดำเนินคดี และไม่ประกันในชั้นศาล แวว มยุรา พยายามหาเงินมาประกันตัวน้องชายอย่างเต็มที่ แต่ยังขาดอยู่ 2 แสนบาท ไม่สามารถกู้ยืมจากใครได้ ทำให้เธอกลุ้มหนัก แม้กระทั่งไปขอความช่วยเหลือจากคนที่เธอให้ความนับถือที่สุด ก็ได้รับการปฏิเสธ ชีวิตเธอเหมือนหมดที่พึ่ง

กระทั่งเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2532 ก่อนเวลา 09.30 น. เธอตัดสินใจหนีปัญหาชีวิต ด้วยการผูกคอตายในห้องน้ำ ที่ห้องเช่าเลขที่ ๒๖๑/๓๒๙ แฟลตนครหลวงคอนโดมิเนียม ชั้น ๔ เธอเสียชีวิตด้วยวัยเพียง ๒๗ ปี เท่านั้นเอง แวว มยุรา ได้ออกเทปชุดสุดท้ายก่อนตาย ชื่อชุด “สาวเวียงพิงค์” โดย “อุทัย ศรีสุวรรณ” ที่เฝ้ามองดูความเป็นอยู่ของเธอด้วยความสงสาร จึงอยากช่วยเหลือให้เธอกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้ง ได้ลงทุนทำเพลงชุดนี้ให้ บันทึกเสียงเสร็จเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2532 แต่หลังจากนั้นไม่ถึง 2 อาทิตย์

การรำลึก

หลังการเสียชีวิต

ในช่วงที่อยู่กับวงดนตรีสายัณห์ สายัณห์ได้ให้บันทึกวีดีโอการแสดงสดของทางวงเก็บเอาไว้ และมีการนำวีดีโอชุดนี้ออกมาตัดเป็นวีซีดี 3 แผ่นเพื่อนำออกจำหน่าย ทำให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสเห็นแวว มยุรา ในช่วงที่กำลังโด่งดัง ขณะกำลังโลดแล่นอยู่บนเวทีเมื่อปี 2527

นักร้องที่นำบทเพลงของเธอมาร้องใหม่

ผลงานการร้องเพลง

  • ตัวไกลใจเหงา
  • แอบรักแอบคิดถึง
  • ห้องนอนคนจน
  • น้องไม่มีสิทธิ์
  • แฟนเดิม
  • ใครลืมใครก่อน
  • น้ำตาชาวนา
  • สัญญาสามข้อ
  • หมอนใจคนกลางคืน
  • รักหล่นเมื่อฝนซา
  • ฯลฯ

อ้างอิง