ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยะไข่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
Picpik (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 35:
[[หมวดหมู่:รัฐยะไข่]]
{{โครงมนุษย์}}
พวกเขาเรียกตัวเองว่า “อะระกัน” แต่พม่าเรียกพวกเขาว่า“ระไคน์”
 
ส่วนไทยเรียกพวกเขาว่า “ยะไข่”
มรัคอู เมืองโบราณของรัฐยะไข่/ ภาพและเรื่องโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
คนไทยคุ้นเคยชื่อ “ยะไข่” ในรัฐอารากัน มากกว่า “รักขีน” [Rakhine] ซึ่งเป็นชื่อรัฐที่ติดชายแดนบังคลาเทศในอ่าวเบงกอลทางทิศตะวันตกของพม่าในปัจจุบัน เนื่องจากพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาก็กล่าวถึงชาวยะไข่ที่อยู่เป็นเอกเทศอีกรัฐหนึ่งแยกออกจากพม่าอย่างชัดเจน และรบกับพม่าหลายครั้ง บางคราวก็รบชนะ จนถึงครั้งสุดท้ายก็แพ้และตกเป็นเมืองหนึ่งของอาณาจักรพม่าเรื่อยมา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการแยกจากกันโดยสภาพแวดล้อมเพราะมีเทือกเขารักขีน-โยมาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาอารากันโยมาขวางกั้น เป็นพรมแดนธรรมชาติที่ทำให้ชาวยะไข่มีอัตลักษณ์ทั้งทางภาษาพูด ภาษาเขียน และการแต่งกายเป็นของตนเอง แตกต่างจากชาวพม่าอย่างเด่นชัด
การเดินทางไปสู่ยะไข่นั้นไม่ง่ายเลย ทั้งจากภายในประเทศพม่าเองและจากเมืองไทย แต่การติดต่อกับชายฝั่งทะเลทำให้อารากันเป็นเขตเมืองท่าและมีบทบาททางการค้ามาแต่โบราณ รวมทั้งผู้คนชาวมุสลิมโรฮิงยาจากบังคลาเทศที่กลายเป็นชนกลุ่มน้อยในพม่าปัจจุบันและถูกกดดันทางด้านสิทธิมนุษยชนจนทำให้แอบลักลอบไปค้าแรงงานหรือเป็นผู้อพยพทางเรือที่สร้างปัญหาให้กับประเทศในเขตคาบสมุทรมลายูและไทยไม่น้อย
เมืองสิธทเวหรือสิธทวย [Sittwe]เป็นเมืองท่าปากน้ำอยู่ริมฝั่งทะเลที่กลายเป็นเมืองหลวงสมัยใหม่ของรัฐรักขีน เราจะพบผู้คนหลากชาติพันธุ์ทั้งชาวยะไข่ดั้งเดิม ชาวพม่า ชาวโรฮิงยา ทั้งพุทธศาสนาที่มีมหาเจดีย์เป็นสัญลักษณ์และมัสยิดที่มีอยู่มากมายตลอดจนโบสถ์ของชาวคริสต์โรมันคาธอลิค
การเดินทางสู่เมืองหลวงโบราณของชาวรักขีนที่ มรัคอู [Mrauk U]ซึ่งอยู่ห่างจากปากน้ำกาลาดัน [Kaladan river] และยังไม่มีถนนเข้าถึงจากสิธทวย ดังนั้นการเดินทางจึงต้องใช้เรือล่องทวนลำน้ำขึ้นมาราว ๗๐ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเรือโดยปกติราว ๒ ชั่วโมงครึ่ง และมีเส้นทางเชื่อมต่อกับทางน้ำมากมายจนกลายเป็นที่ยังต้องติดต่อกันทางเรือเป็นหลัก อารากัน หรือยะไข่แห่งนี้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวที่ได้ผลผลิตเป็นอันดับสองรองจากสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี ทุ่งนาสุดลูกหูลูกตาริมฝั่งน้ำ คือภาพภูมิทัศน์ที่แสนจะจำลองสภาพบ้านเมืองแบบโบราณที่เงียบสงบ
ชื่อ “มรัคอู” นั้นมีตำนานที่สืบเนื่องจากชาดกทางพุทธศาสนาว่า มาจากเรื่องลิงถวายไข่แด่พระพุทธเจ้าเพื่อเป็นพุทธบูชา จึงได้ชื่อว่า มรัคอู หรือ ไข่จากลิง ตำนานบางเรื่องที่แย้งกันกล่าวว่า ครั้งหนึ่งมีลิงเพศเมียที่อยู่ตัวเดียว เมื่อพบนกยูงก็อยู่กินด้วยกันจนไข่ออกมาเป็นมนุษย์ผู้ชายเติบโตจนกลายเป็นเจ้าชายรูปงาม ต่อมาเจ้าชายสร้างเมืองใกล้ๆ ชายป่านั้นและเพื่อระลึกถึงกำเนิดของตนจึงตั้งชื่อเมืองนี้ว่า “มรัคอู” ซึ่งหมายถึงไข่ของลิง
จากตำนานที่อิงทางพุทธศาสนาก็พบว่ามีเมืองโบราณที่รับฮินดูและพุทธศาสนาแบบมหายานในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ แล้ว ที่เมืองซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองมรัคอูในปัจจุบันนัก คือ เมืองธัญญวดี โดยมีตำนานว่าพระเจ้าจันทะสุริยะ ทรงสร้างพระมหามัยมุณี และเมืองเวสาลีอีกแห่งหนึ่ง
หลังจากนั้นในราว พ.ศ.๑๙๗๖ กษัติย์ มินซอมอน[Min Saw Mon] สร้างมรัคอูให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรอารากัน ความรุ่งเรืองของเมืองโบราณที่อารากันหรือมรัคอูนี้ เกิดขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ อันเป็นช่วงที่ภูมิภาคนี้การค้าทางทะเลกับโลกตะวันตกกำลังรุ่งเรือง มีประชากรถึงแสนหกหมื่นคนเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ทำให้มรัคอูกลายเป็นเมืองท่าการค้าที่สำคัญกับทั้งชาวตะวันออกกลาง จีน ดัชท์ สเปน ฯลฯ เป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเมืองอื่นๆ ของชาวพม่า และกษัตริย์สืบราชวงศ์ต่อเนื่อง ๔๙ พระองค์ มากกว่า ๓๐๐ ปี จนกระทั่งถูกพิชิตโดยราชวงศ์คองบองจากพม่าเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๗
ในช่วงที่รุ่งเรืองที่สูง มรัคอูกลายเป็นเมืองท่าค้าขายและส่งผ่านที่สำคัญของอ่าวเบงกอล เพราะส่งออกสินค้าพวก ข้าว งาช้าง ช้าง ไม้หอม หนังกวาง จากอังวะ นำเข้าพวกฝ้าย ทาส ม้า หอยเบี้ย เครื่องเทศ สิ่งทอจากอินเดีย เปอร์เซีย และอาหรับ จนกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญเทียบเท่ากับที่เมืองสิเรียมหรือที่พะโคในพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ โดยมีโปรตุเกสและดัชท์เข้ามาตั้งสถานีการค้า เมืองมรัคอูกลายเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรที่ขยายไปถึงฝั่งแม่น้ำคงคาจนถึงอิระวดี โดยมีเมืองที่ลุ่มน้ำคงคา ๑๒ เมือง รวมถึง ดักกาและจิตตากอง กินอาณาเขตครึ่งหนึ่งของประเทศบังคลาเทศในปัจจุบัน ดังนั้นความสัมพันธ์กับชาวพื้นเมืองที่เป็นมุสลิมจึงถ่ายเทและพบเห็นในวัฒนธรรมของชาวอารากันอยู่ทั่วไป
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ยะไข่"