ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
== ประวัติ ==
[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|การรัฐประหาร พ.ศ. 2549]] คณะรัฐประหารได้มีคำสั่งยุบศาลรัฐธรรมนูญชุดเดิม และได้มีการตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญชุดใหม่ขึ้นมา โดยมีอำนาจตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540|รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540]] ต่อมามีการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550|รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550]] ซึ่งมาตรา 300 ได้กำหนดให้ ''คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ'' เป็น ''ศาลรัฐธรรมนูญ'' จนกว่าจะมีการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ภายหลังจาก[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550|การเลือกตั้ง พ.ศ. 2550]]
 
== ภาพลักษณ์ ==
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคณะนี้ มีภาพลักษณ์ต่อสาธารณชนว่าเลือกปฏิบัติ เนื่องจากตุลาการเกือบทั้งคณะ ล้วนเป็นบุคคลที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับพันตำรวจโท [[ทักษิณ ชินวัตร]] และคำวินิจฉัยต่างๆที่ออกมา หลายครั้งเป็นคำวินิจฉัยที่ส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อฝ่ายทักษิณ ไม่ว่าจะเป็น การยุบพรรคไทยรักไทย, ปลดนาย[[สมัคร สุนทรเวช]] นายกรัฐมนตรี, ยุบพรรคพลังประชาชน, ต้องมีสว.ที่มาจากการแต่งตั้ง ในขณะที่ไม่มีคำวินิจฉัยใดๆ ที่ส่งผลเสียต่อพรรคประชาธิปัตย์
 
นอกจากนี้ 3 กันยายน พ.ศ. 2551 พลอากาศเอก [[สิทธิ เศวตศิลา]] ได้ให้ข้อมูลกับเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ว่ากำลังเตรียมเสนอแผนการณ์ปลดนายสมัคร สุนทรเวช ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเย็นวันเดียวกัน โดยได้กล่าวว่า มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งร่วมด้วย
 
== อำนาจ ==