ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แผ่นดินไหวในลิสบอน ค.ศ. 1755"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
Vop (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10:
}}
 
'''แผ่นดินไหวที่ลิสบอน พ.ศ. 2298''' หรือรู้จักกันในชื่อ '''แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ลิสบอน''' ({{lang-pt|Terramoto de Lisboa}}) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755) เวลา 9.40 น. ตามเวลาท้องถิ่น<ref>[http://www.brown.edu/Departments/Portuguese_Brazilian_Studies/ejph/html/issue4/html/belo_main.html Between History and Periodicity: Printed and Hand-Written News in 18th-Century Portugal]</ref> หลังจากเกิดแผ่นดินไหว ได้เกิดอัคคีภัยและ[[คลื่นสึนามิ]]ตามมา ซึ่งทำลายกรุง[[ลิสบอน]]และบริเวณใกล้เคียงใน[[ราชอาณาจักรโปรตุเกส]]ลงเกือบสิ้นเชิง นัก[[วิทยาแผ่นดินไหว]]ปัจจุบันประเมินว่าแผ่นดินไหวลิสบอนคราวนี้มีขนาดประมาณ 8.5-9.0 ริกเตอร์ตาม[[มาตราขนาดโมเมนต์]]<ref name="Gutscher">{{cite journal|last=Gutscher|first=M.-A.|coauthors=Baptista M.A. & Miranda J.M.|year=2006|title=The Gibraltar Arc seismogenic zone (part 2): Constraints on a shallow east dipping fault plane source for the 1755 Lisbon earthquake provided by tsunami modeling and seismic intensity|journal=Tectonophysics|volume=426|pages=153–166|doi=10.1016/j.tecto.2006.02.025|url=http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleURL&_udi=B6V72-4KBX4F6-1&_user=10&_coverDate=10%2F30%2F2006&_rdoc=1&_fmt=high&_orig=gateway&_origin=gateway&_sort=d&_docanchor=&view=c&_searchStrId=1686129586&_rerunOrigin=scholar.google&_acct=C000050221&_version=1&_urlVersion=0&_userid=10&md5=03712ebb4ba96cc63271c6c93369c1e0&searchtype=a|accessdate=20 March 2011}}</ref> โดยมี[[ศูนย์กลางแผ่นดินไหว]]อยู่ใน[[มหาสมุทรแอตแลนติก]]ห่างจาก[[แหลมเซนต์วินเซนต์]]ไปทางตะวันตก-ตะวันตกเฉียงใต้ราว 200 กิโลเมตร ตัวเลขประเมินผู้เสียชีวิตเฉพาะในกรุงลิสบอนอยู่ระหว่าง 10,000 ถึง 100,000 คน<ref>Pereira (2006), page 5.</ref> จึงนับเป็นหนึ่งในแผ่นดินไหวครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์
 
แผ่นดินไหวดังกล่าวเน้นความตึงเครียดทางการเมืองในราชอาณาจักรโปรตุเกส และรบกวนความทะเยอทะยานด้านอาณานิคมในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ของประเทศลงอย่างลึกซึ้ง เหตุการณ์ดังกล่าวถูกอภิปรายและพูดเขียนอธิบายอย่างกว้างขวางโดยนักปรัชญายุโรป[[ยุคเรืองปัญญา]] และเป็นแรงบันดาลใจให้แก่พัฒนาการสำคัญในเทวยุติธรรม (theodicy) และในปรัชญาแห่งสุนทรียปรัชญา (sublime) เนื่องจากเป็นแผ่นดินไหวครั้งแรกที่มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ถึงผลกระทบต่อพื้นที่อันกว้างใหญ่ จึงได้นำไปสู่การกำเนิดของวิทยาแผ่นดินไหวสมัยใหม่ และ[[วิศวกรรมแผ่นดินไหว]]