ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาตะเพียนขาว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29:
'''ปลาตะเพียนขาว''' หรือ '''ปลาตะเพียนเงิน''' หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า '''ปลาตะเพียน''' ({{lang-en|Java barb, Silver barb}}; {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Barbonymus gonionotus}}) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ใน[[วงศ์ปลาตะเพียน]] (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์ปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินแวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน [[ภาคอีสาน]]เรียกว่า "ปลาปาก"
 
ปลาตะเพียนชนิดนี้นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลา[[ปลาตะเพียนสาน|ตะเพียนใบลาน]] มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น [[มาเลเซีย]], [[บอร์เนียว]], [[อินโดนีเซีย]] แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36 [[เซนติเมตร]] (พบใหญ่ที่สุด 90 เซนติเมตร น้ำหนัก 13 กิโลกรัม ที่มาเลเซีย<ref>[http://www.fishing-worldrecords.com/scientificname/Barbonymus%20gonionotus/show Fishing World Records]</ref>) พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้น[[แม่น้ำสาละวิน]] อยู่กันเป็นฝูง ชอบที่น้ำไหลเป็นพิเศษ เป็นปลากินพืช, แมลง และสัตว์หน้าดิน นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะตัวที่เป็น[[ภาวะผิวเผือก|ปลาเผือก]] ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาตะเพียนอินโด" นิยมเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้ หรือแม้กระทั้งเลี้ยงเป็นปลาลูกไล่ของปลาใหญ่กว่า หรือเลี้ยงเพื่อทดสอบ[[พีเอช (เคมี)|ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ]] (pH) หรือความเข้มข้นของ[[คลอรีน]] ก่อนที่จะปล่อยปลาที่จะเลี้ยงจริงลงไป เนื่องจากเป็นปลาที่มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และมีความไวต่อคุณภาพน้ำ<ref>{{อ้างหนังสือ
|ผู้แต่ง=Nanconnection
|ชื่อหนังสือ=(แอบ) คุยเรื่องปลาตู้โครงการ 2. ตอน ปลาอโรตัวเป็นวาน่าเลี้ยง