ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 54:
ในช่วงแรกของรัชสมัย พระองค์ได้ใช้อำนาจสูงสุดเท่าที่พระองค์มีในการแต่งตั้งและถอดถอนคณะรัฐมนตรีบ่อยครั้ง โดยพระเจ้าคาลาคาอัวเชื่อว่าชนชั้นสูงมีสิทธิอันชอบธรรมในการปกครอง การกระทำเช่นนี้ของพระองค์ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มมิชชันนารีซึ่งต้องการเห็นการปฏิรูปการปกครองของฮาวาย โดยใช้พื้นฐาย[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]]ของสหราชอาณาจักรซึ่งลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ กลุ่มคณะมิชชันนารีกลุ่มนี้ยังเชื่อว่าผู้ที่จะควบคุมคณะรัฐบาลควรเป็นรัฐสภาไม่ใช่พระมหากษัตริย์ การถอดถอนและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการต่อไปตลอดรัชสมัยของพระองค์
ในปี ค.ศ. 1881 พระองค์ก็ได้เสด็จเยือนประเทศต่าง ๆ เพื่อนำแนวทางมาพัฒนาฮาวาย พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเรียนรู้วิธีการปกครองของแต่ละประเทศ เมื่อพระเจ้าคาลาคาอัวได้เสด็จออกจากฮาวาย พระองค์ได้มอบหมายให้[[สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย|เจ้าฟ้าหญิงลีลีโอกาลานี]]เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (แทนเจ้าชายเลเลอีโอโฮกูที่ 2 ที่สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1877) พระองค์เริ่มการเสด็จเยือนต่างประเทศของพระองค์ที่[[ซานฟรานซิสโก]]ซึ่งพระองค์ได้รับการต้อนรับที่ดี จากนั้นพระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยือน[[จักรวรรดิญี่ปุ่น]]และเข้าพบ[[จักรพรรดิเมจิ]] หลังจากนั้นพระองค์ได้เสด็จเยือน[[จักรวรรดิชิง]] [[สยาม]]ในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[พม่า]] [[บริติชราช]] [[อียิปต์]] [[อิตาลี]] [[เบลเยียม]] [[จักรวรรดิเยอรมัน]] [[จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี]] [[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3]] [[สเปน]] [[โปรตุเกส]] [[สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์]] และเดินทางไปต่อที่[[สหรัฐอเมริกา]]เพื่อจะเดินทางกลับฮาวาย ในการเดินทางครั้งนี้ทำให้พระองค์มีโอกาสพบผู้นำประเทศหลายพระองค์และคน เช่น [[สมเด็จพระสันตะปาปาเลโอที่ 13]] [[พระเจ้าอุมแบร์โตที่ 1 แห่งอิตาลี]] [[เตาฟิก ปาชา]] อุปราชแห่งอียิปต์ [[จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี]] [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[เชสเตอร์ เอ. อาเทอร์]] ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและ[[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย]] การเดินทางในครั้งนี้ส่งผลให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เดินทางรอบโลก<ref>[http://www.huapala.org/Ka_Momi.html Ka Momi]. Huapala.org. Retrieved on 2011-07-28.</ref> <ref>{{cite web|url=http://www.kalakauamiddle.org/about/david_kalakaua.jsp|title=KING KALAKAUA|publisher=Kalakaua Middle School|date=10 December 2013}}</ref>วิลเลียม อาร์มสตรองได้เขียนบันทึกการเดินทางในครั้งนี้ไว้ในหนังสือ ''Around the World With a King''<ref>{{cite news|journal=Editorial Reviews|title=About the Author: William N. Armstrong (Hardcover edition)|publisher=Amazon.com|date=May 1995|isbn=1-56647-017-X|edition=Mass Market Paperback|author=William N. Armstrong}}</ref><ref>{{cite book|authors=Armstrong, William N. and [[Glen Grant (historian)|Grant, Glen]] |title=Around the World With a King|publisher=Mutual Pub Co|date=May 1995|isbn=1-56647-017-X}}</ref>
[[ไฟล์:Kamehameha I full 5110.png|150px|thumbnail|พระบรมราชานุเสาวรีย์พระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 1 มหาราช]]
พระเจ้าคาลาคาอัวได้สร้าง[[พระราชวังอีโอลานี]] ซึ่งเป็นพระราชวังเพียงแห่งเดียวที่มีอยู่ใน[[สหรัฐอเมริกา]]ปัจจุบัน โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 300,000 ดอลลาร์ สิ่งของตบแต่งในพระราชวังมาจากการสั่งซื้อของพระเจ้าคาลาคาอัวระหว่างเดินทางใน[[ทวีปยุโรป]] นอกจากนี้พระเจ้าคาลาคาอัวได้ตัดสินพระทัยที่จะสร้างพระบรมราชานุเสาวรีย์ของ[[พระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 1 แห่งฮาวาย]]พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของราชอาณาจักร โดยพระบรมราชานุเสาวรีย์แรกเริ่มนั้นจมลงไปพร้อมกับเรือที่บรรทุกมาบริเวณ[[หมู่เกาะฟอล์กแลนด์]] ดังนั้นพระองค์จึงมีพระราชโองการสร้างทดแทนในปี ค.ศ. 1883 ในปี ค.ศ. 1912 ได้มีการส่งพระบรมราชานุเสาวรีย์เดิมที่จมลงไปและซ่อมแซมแล้วสู่ฮาวาย ในปี ค.ศ. 1969 ได้มีการสั่งสร้างพระบรมราชานุเสาวรีย์เพิ่มเติม ซึ่งพระบรมราชานุเสาวรีย์เหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่ระลึกถึงเอกราชของฮาวาย