ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ลืมแก้ของเก่าแฮะ
บรรทัด 50:
เมื่อ[[พระเจ้าลูนาลิโลแห่งฮาวาย]] เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน โดนไม่ทรงมีรัชทายาท ทำให้เกิดปัญหาเรื่องผู้ที่จะสืบราชบัลลังก์ระหว่างพระองค์กับ[[สมเด็จพระราชินีเอ็มมาแห่งฮาวาย|สมเด็จพระราชินีเอ็มมา นาเอ รูก]] แต่ในที่สุดพระองค์ก็ได้รับเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อไป ปัญหาการไม่มีรัชทายาทสืบราชบัลลังก์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตทำให้[[สถาบันพระมหากษัตริย์]]และพระราชวงศ์ไม่มั่นคง พระองค์จึงได้แต่งตั้ง[[เจ้าชายเลเลอีโอโฮกูที่ 2]]พระอนุชาของพระองค์ให้ทรงเป็นรัชทายาท เพื่อสร้างความมั่นคงให้สถาบันพระมหากษัตริย์
 
ในระยะแรกของการครองราชย์ของพระเจ้าคาลาคาอัว พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนเกาะต่องต่าง ๆ ของราชอาณาจักรฮาวาย ซึ่งในท้ายที่สุดช่วยสร้างความนิยมของพระองค์ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1874 พระองค์ส่งผู้แทนทางการทูตไป[[สหราฐอเมริกา]] เพื่อเจรจาสนธิสัญญาที่จะช่วยกันลดความตึงเครียดลงในฮาวาย ในเดือนพฤศจิกายน พระเจ้าคาลาคาอัวเสด็จพระราชดำเนินเยือน[[วอชิงตัน ดี.ซี]]เพื่อเข้าพบประธานาธิบดี[[ยูลิสซิส เอส. แกรนท์]] ซึ่งนำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1875 โดยเนื้อหาในสนธิสัญญาจะอนุญาตให้ฮาวายสามารถส่งน้ำตาลและข้าวเข้าสหรัฐอเมริกาได้โดยไม่มีภาษี
 
ในช่วงแรกของรัชสมัย พระองค์ได้ใช้อำนาจสูงสุดเท่าที่พระองค์มีในการแต่งตั้งและถอดถอนคณะรัฐมนตรีบ่อยครั้ง โดยพระเจ้าคาลาคาอัวเชื่อว่าชนชั้นสูงมีสิทธิอันชอบธรรมในการปกครอง การกระทำเช่นนี้ของพระองค์ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มมิชชันนารีซึ่งต้องการเห็นการปฏิรูปการปกครองของฮาวาย โดยใช้พื้นฐาย[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]]ของสหราชอาณาจักรซึ่งลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ กลุ่มคณะมิชชันนารีกลุ่มนี้ยังเชื่อว่าผู้ที่จะควบคุมคณะรัฐบาลควรเป็นรัฐสภาไม่ใช่พระมหากษัตริย์ การถอดถอนและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการต่อไปตลอดรัชสมัยของพระองค์